-
อุตสาหกรรมหนังและอาหารกับการจัดการห่วงโซ่อุปทานยั่งยืน
ในปัจจุบันที่ EU กำลังเตรียมประกาศใช้กฎระเบียบ Deforestation-free products ซึ่งจะกำหนดให้สินค้าไม้ โกโก้ กาแฟ ปาล์มน้ำมัน ข้าวโพด ถั่วเหลือง รวมถึงยางพารา ที่ผลิตในและนอก EU ต้องผ่าน Due Diligence ว่าปลอดจากการทำลายป่าและถูกกฎหมาย ก่อนวางขายในตลาด EU /*! elementor - v3.6.2 - 04-04-2022 */ .elementor-widget-text-editor.elementor-drop-cap-view-stacked .elementor-drop-cap{background-color:#818a91;color:#fff}.elementor-widget-text-editor.elementor-drop-cap-view-framed .elementor-drop-cap{color:#818a91;border:3px solid;background-color:transparent}.elementor-widget-text-editor:not(.elementor-drop-cap-view-default) .elementor-drop-cap{margin-top:8px}.elementor-widget-text-editor:not(.elementor-drop-cap-view-default) .elementor-drop-cap-letter{width:1em;height:1em}.elementor-widget-text-editor .elementor-drop-cap{float:left;text-align:center;line-height:1;font-size:50px}.elementor-widget-text-editor .elementor-drop-cap-letter{display:inline-block} ในฐานะประเทศการเกษตร ทุกภาคส่วนในไทยทั้งเอกชนและรัฐต่างตื่นตัวกับกฎระเบียบนี้ โดยล่าสุดในวันที่ 14 ธ.ค. ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดบทความนี้ TEFSO พาผู้อ่านมาพบกับผู้แทนอุตสาหกรรมหนังและอาหาร เพื่อรับฟังมุมมองต่อกฎระเบียบ EU และการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่มีในปัจจุบันสัดส่วนการส่งออกของเครื่องหนังไปยัง EU สูง และไม่มีความกังวลกับกฎระเบียบใหม่ เพราะมีการยืนยันแหล่งผลิต และควบคุมห่วงโซ่อุปทานอยู่แล้วผลิตภัณฑ์หนังส่งออกแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ หนังสำหรับรองเท้า สำหรับรถ และเฟอร์นิเจอร์‘โรงฟอกหนังของผมส่งหนังให้กับแบรนด์ใหญ่ๆ อย่าง Nike Adidas ส่วนสมาชิกของกลุ่มก็มีส่งไปที่ Mercedes Toyota Honda’ ตัวแทนกลุ่มอุตสาหกรรมหนังและผลิตภัณฑ์หนัง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวการส่งออกกลุ่มอาหาร เช่น โกโก้ กาแฟ ข้าวโพด ไปยัง EU มีสัดส่วนน้อยหรือแทบไม่มีเลย แต่กลุ่มมีความกังวลหากมีการขยายขอบเขตผลิตภัณฑ์ออกไป‘กฎระเบียบใหม่ EU คงยังไม่กระทบตอนนี้มากเพราะเนื้อวัว สุกร ไม่มีส่งออกไป EU กาแฟ ก็ส่งออกไปน้อยมากไม่มีนัยยะสำคัญ โกโก้ก็เช่นกันที่ยังไม่เป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศถึงแม้จะมีการผลักดัน แต่ก็ยังกังวลหากในอนาคต EU ขยายขอบเขตผลิตภัณฑ์ออกไป’ – ตัวแทนกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานยั่งยืนไม่ใช่เรื่องใหม่ของทั้งอุตสาหกรรมหนังหรืออาหารกลุ่มอุตสาหกรรมหนัง และกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร ยืนยันว่า คุ้นเคยดีกับการตรวจสอบ ควบคุม รับรองการผลิตที่ยั่งยืนในส่วนอุตสาหกรรมหนัง เพราะมีคู่ค้าเป็นแบรนด์ใหญ่จากประเทศอเมริกา และ EU อุตสาหกรรมโดยรวมจึงมีความพร้อมกับกฎระเบียบ Deforestation-free products เพราะทำระบบควบคุมห่วงโซ่อุปทานมานาน‘ในปี 2550 คู่ค้าของเรา Nike Timberland และ Adidas ได้ร่วมกันตั้ง นโยบายรับเฉพาะหนังที่ตรวจสอบย้อนกลับได้ และผ่านการรับรองจาก Third Party Audit ที่ได้รับการยอมรับ แบรนด์ใหญ่ๆ จะให้โรงฟอกใช้หนังจากฟาร์มที่ได้รับการรับรองเท่านั้น มีระบบรับรองอย่าง Leather Working Group ถ้าให้ประเมินคร่าวๆ คิดว่า 30% ของผู้ผลิตหนังในไทยอยู่ในระบบรับรองแล้ว’‘ในภาคอาหาร คงเป็น Good Agricultural Practices (GAP) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ใช้รับรองการผลิตสินค้าเกษตรที่ถูกกฎหมายและยั่งยืน แต่ส่วนใหญ่เป็นภาคสมัครใจ มีเพียง 5 ผลิตภัณฑ์เท่านั้นที่บังคับให้ทำ GAP’กลุ่มอุตสาหกรรมอาหารมีความกังวลต่อเกษตรกรรายย่อยที่ส่วนหนึ่งยังขาดความสามารถในการเข้าถึงระบบรับรอง‘ห่วงโซ่อุปทานของอาหารมีเกษตรกรขนาดเล็กอยู่มากที่ไม่ได้ผ่านการรับรอง ทำให้ติดปัญหาเวลาต้องยืนยันการผลิตที่ยั่งยืน ตรงนี้บริษัทใหญ่ๆ อย่าง CPF และ Betagro ก็เข้ามาช่วยเกษตรกรในเครือข่ายให้ผ่านการรับรองได้ แต่ยังขาดการสนับสนุนจากภาครัฐเท่าที่ควร’‘GAP มีมานานกว่า 10 ปีแล้ว ถ้ารัฐบาลมาสนับสนุนเกษตรกรให้เข้าระบบแต่ตอนนั้น ตอนนี้พวกเขาคงพร้อมรับกฎระเบียบของ EU ไปแล้ว และไม่ต้องรอการช่วยเหลือจากบริษัทใหญ่’
Continue reading -
ความก้าวหน้า THA-TLAS และศึกษาการควบคุมการนำเข้าท่าเรือแหลมฉบัง
จากการทำงานร่วมกันอย่างเข้มแข็งของคณะทำงาน FLEGT VPA ที่มีสมาชิกจากภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม ทำให้เกิดร่างแผนการพัฒนาระบบรับประกันความถูกต้องตามกฎหมายของไม้ (THA-TLAS) ซึ่งจะยกระดับประสิทธิภาพ และความโปร่งใสของการควบคุมห่วงโซ่อุปทานและรับรองไม้ของไทย (เพิ่มเติม…)
Continue reading -
ผลสะท้อนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อ VPA และแนวการดำเนินงานต่อไปของการค้าไม้ถูกกฎหมายไทย
กระบวนการ FLEGT VPA ดำเนินมาแล้วเป็นเวลา 9 ปี และเข้าพัฒนาภาคป่าไม้ของไทยในด้านต่างๆ โดยเฉพาะการวางระบบจัดการห่วงโซ่อุปทานและรับรองไม้ ช่วยยกระดับความน่าเชื่อถือของสินค้าไม้ไทยในตลาดนานาชาติ และสร้างกระบวนการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอันเข้มแข็งที่เปิดให้ภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม เข้าทำงานร่วมกันเพื่อปรับปรุงกฎหมาย และพัฒนาธรรมาภิบาลของภาคป่าไม้ไทย เพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินงานต่อไป เดือน ต.ย. – ธ.ค. 2565 TEFSO เปิดแบบสอบถามเพื่อรับฟังเสียงสะท้อนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อ และนำข้อมูลเหล่านั้นไปหารือกับหน่วยงานสำคัญของ FLEGT VPA กรมป่าไม้ สมาคมธุรกิจไม้โตเร็ว และ RECOFTCรับชมวิดีโอสรุปผลสะท้อน และมุมองข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
Continue reading -
COP27: EU ประกาศ Forest Partnership กับ 5 ประเทศหุ้นส่วน
8 พ.ย. 2565 - Ursula von der Leyen ประธานคณะกรรมการธิการยุโรป ลงนามบันทึกความเข้าใจ Forest Partnership กับประเทศกายอานา, มองโกเลีย, สาธารณรัฐคองโก, ยูกานดา และแซมเบีย โดยมี Mohamed Irfaan Ali ประธานาธิบดีประเทศกายอาน่า, Ukhnaagiin Khürelsükh ประธานาธิบดีมองโกเลีย, Hakainde Hichilema ประธานาธิบดีแซมเบีย, Yoweri Museveni ประธานาธิบดีประเทศยูกานดา และตัวแทนของประธานาธิบดีสาธารณรัฐคองโก Denis-Christel Sassou Nguesso ร่วมการลงนาม การลงนามนี้เกิดขึ้นพร้อมกับการประชุม COP27 UN Climate Change Conference โดย Forest Partnership เป็นความร่วมมือของสหภาพยุโรป (EU) กับประเทศหุ้นส่วนภายใต้นโยบาย EU Green DealForest Partnership เป็นกรอบความร่วมมือของ EU รูปแบบบูรณาการ ซึ่งจะนำไปสู่การทำงานร่วมกับประเทศหุ้นส่วนในด้านป่าไม้ เพื่อสนับสนุนประเทศหุ้นส่วนในการฟื้นฟูป่า เพื่อนำไปสู่การปกป้องสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวพันธุ์ เพราะป่าไม้เป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอน และเป็นปัจจัยสำคัญในการปรับตัวและบรรเทาสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง“ป่าไม้มีความสำคัญหลายด้าน ทั้งในด้านการต่อสู้กับสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ปกป้องความหลากหลายทางชีวพันธุ์ และสร้างรายได้ยังชีพให้กับประชากรหลายล้านคนทั่วโลก 80% ของพืช สัตว์ และจุลินทรีย์อยู่อาศัยในป่าไม้ ในขณะเดียวกันคนอีก 1.6 พันล้านคนพึ่งพิงป่าไม้ในการหาทรัพยากรดำรงชีพ เช่น อาหารและเชื้อเพลิง ด้วยผลเสียมากมายที่จะตามมาหากป่าไม้หายไป การดำเนินการเพื่อหยุดการทำลายป่าจึงเป็นสิ่งสำคัญ พวกเราจึงต้องเข้าทำ Forest Partnership กับประเทศหุ้นส่วนให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อรักษาป่าให้มีสภาพสมบูรณ์ เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน ด้วยการทำ Forest Partnership พวกเราจะสนับสนุนประเทศหุ้นส่วนในการบริหารจัดการป่าไม้ และรักษาป่าไม้อย่างยั่งยืน เพราะป่าไม้นั้นเป็นทรัพยากรธรรมชาติของโลกที่เต็มไปด้วยสรรพคุณมากมายในการต่อกรกับสภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวพันธุ์ และสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน” Ursula von der Leyen กล่าวForest Partnershipผ่านการทำ Forest Partnership ประเทศหุ้นส่วนยืนยันเจตนารมย์ทางการเมืองในระยะยาว เพื่อการดำเนินงานร่วมอย่างใกล้ชิดในด้านต่างๆ ต่อไปนี้สร้างการบริหารจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน โดยการพัฒนาธรรมาภิบาลป่าไม้ และสร้างบรรยากาศทางการค้าที่เอื้ออำนวยเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจป่าไม้หมุนเวียน เกิดห่วงโซ่คุณค่าป่าไม้ที่ยั่งยืนรวมถึงการเข้าถึงตลาด ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างงาน และการยกระดับสังคมและเศรษฐกิจลดการสูญเสียป่าและป่าเสื่อมโทรมหาหนทางในการสนับสนุนการผลิตและค้าผลิตภัณฑ์ป่าไม้ที่ถูกกฎหมายและยั่งยืนForest Partnership จะมีลักษณะเฉพาะมุ่งขับเคลื่อนด้านอุปสงค์ และสอดคล้องกับบริบท ความต้องการ และเป้าหมายของประเทศหุ้นส่วนความเป็นมาในการประชุม UN Climate Change Conference COP26 เมืองกลาสโกลว์ EU ประกาศ Forest Partnership และให้ปฏิญญาสนับสนุนเงินจำนวน 1 พันล้านยูโรกับ Global Forests Finance Pledge1 ปีผ่านไปเวลาเดียวกับ COP27 จึงเกิดการเซ็น Forest Partnership กับ 5 ประเทศ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความตั้งมั่นของ EU ในการดำเนินการต่อปฏิญญาจาก COP26 อย่างเป็นรูปธรรม เพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู และบริหารจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนมากไปกว่านี้ EU ยังได้จัดสรรงบประมาณสำหรับการดำเนินงานภายนอกสหภาพ โดย 35% ของงบประมาณอยู่ภายใต้เป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม และอีก 7.5% ภายใต้เป้าหมายความหลากหลายทางชีวพันธุ์ Source: COP27: EU launches Forest Partnerships with five partner countries (2022) European Commission – European Commission. European Commission. Available at: https://ec.europa.eu/commission/presscorner/detail/en/ip_22_6653 (Accessed: November 11, 2022).
Continue reading -
European Parliament ลงมติให้นโยบายต่อต้านการลดลงของป่าเข้มงวดขึ้น
European Parliament ต้องการให้มาตรการต่อต้านการลดลงของป่าเข้มงวดขึ้น วันที่ 13 ก.ย. ณ เมือง Strasbourg เสียงส่วนใหญ่ใน European Parliament มีมติให้กฎระเบียบใหม่ของ EU ซึ่งกำหนดให้บริษัทตรวจทานข้อมูลสินค้าว่าไม่ได้มาจากการผลิตที่ทำลายป่า ขยายกลุ่มสินค้าที่ครอบคลุม WWF ระบุว่าการบริโภคของ EU ในกลุ่มผลิตภัณฑ์นำเข้ามีส่วนในการลดลงของป่าทั่วโลกถึง 16% ส่งผลให้ EU เป็นกลุ่มที่ทำลายป่าเขตร้อนมากที่สุดรองจากประเทศจีน เพื่อแก้ปัญหานี้ European Commission จึงเสนอร่างกฎระเบียบให้บริษัทต้องทำ duty of care หรือ due diligence เพื่อยืนยันว่าผลิตภัณฑ์ที่นำมาขายในตลาด EU ไม่ได้มาจากการผลิตที่ทำให้เกิดการลดลงของป่า หรือ ทำให้ที่ดินป่าเสื่อมโทรมผลิตภัณฑ์ที่ครอบคลุมภายใต้ร่างกฎระเบียบในร่างกฎระเบียบเสนอโดย European Commission กำหนดขอบเขตสินค้าที่ควบคุมไว้คือ ปศุสัตว์ โกโก้ กาแฟ น้ำมันปาล์ม ถั่วเหลือง และไม้ และผลิตภัณฑ์แปรรูป เช่น หนังสัตว์ ช็อกโกแลต เฟอร์นิเจอร์ และอื่นๆตอนนี้ European Parliament เรียกร้องให้ขยายกลุ่มสินค้าไปยัง สุกร แกะ แพะ สัตว์ปีก ข้าวโพด ยางพารา ถ่าน และผลิตภัณฑ์กระดาษพิมพ์ และต้องการให้ขยายประเภทที่ดินป่าที่ควบคุมไปยังป่าประเภทอื่นเพิ่มจากที่ร่างกฎระเบียบระบุไว้ Saskia Bricmont จากพรรค Ecolo อธิบายว่าการขยายประเภทที่ดินไปยังที่ป่าอื่น จะช่วยปกป้องพื้นที่ป่าที่ไม่ได้มีต้นไม้ชุกชุม ทั้งนี้ พรรค Green ก็ยังคงเสียดายที่กฎระเบียบไม่ได้ปกป้องระบบนิเวศอื่น นอกจากป่าด้วยมากกว่านี้ยังมีการเรียกร้องจากสมาชิก European Parliament ให้มีกฎข้อบังคับต่อสถาบันการเงินด้วย เพื่อให้มั่นใจว่ากิจกรรมของสถาบันการเงินไม่เกี่ยวข้องกับการทำลายป่า Sara Matthieu จากพรรค Groen กล่าวว่า “พวกเราเห็นว่ากฎระเบียบไม่ควรมุ่งไปที่ผู้ผลิตเท่านั้น แต่ควรมุ่งไปที่สถาบันการเงินที่ทำให้การสูญเสียความหลากหลายทางชีวพันธุ์เกิดขึ้นได้ด้วย ถ้าพวกเราไม่เริ่มบังคับสถาบันการเงิน เท่ากับว่าพวกเราก็ไม่ได้เริ่มแตะต้องต้นตอใหญ่หนึ่งของปัญหา”สมาชิก European Parliament ส่วนใหญ่มีมติให้กฎระเบียบเข้มงวดขึ้น โดยนับจำนวนเสียงได้ 453 ต่อ 57 อีก 127 งดออกเสียง อย่างไรก็ตามก็ไม่ได้หมายความว่าการเจรจาต่อไประหว่าง European Commission และกลุ่มประเทศสมาชิก EU จะเป็นไปอย่างราบรื่น เพราะฝ่ายประเทศสมาชิก EU ก็ตั้งจุดยืนของกลุ่มไว้แล้วเช่นกัน ซึ่งจุดยืนดังกล่าวได้รับเสียงวิจารณ์อย่างหนักจากกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่าง Greenpeace และ WWF ที่ประณามว่าจะทำให้ป่าจำนวนมากใน EU ไม่ได้รับการปกป้อง และทำให้การปฏิบัติที่ไม่เป็นมิตรต่อป่าดำเนินต่อไปได้ด้าน European Commission ก็แสดงความกังวลต่อการขยายขอบเขตการควบคุม โดย Virginijus Sinkevicius จาก European Commission กล่าวว่า “การพัฒนาควรเป็นไปทีละขั้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์กว่าการใส่ทุกอย่างลงไปจนเกินความสามารถของระบบ ทำให้เสี่ยงต่อการล้มเหลวของระบบทั้งหมด” ตอนนี้ Virginijus กำลังรอผลการวิเคราะห์ที่จะแสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่เสนอให้เพิ่มเข้ามา เป็นผลิตภัณฑ์ที่การบริโภคใน EU ส่งผลต่อการทำลายป่าเป็นจำนวนมากจริงEuropean Commission ยังเน้นย้ำเรื่องภาระที่จะเกิดต่อผู้ประกอบการด้วย โดย Christophe Hansen จากพรรค Luxembourg Christian Democrat ได้ยื่นเรื่องต่อ European Parliament เสนอให้มีการสนับสนุนด้านเศรษฐกิจและเทคนิคกับเกษตรรายย่อยสมาชิกสภา European Parliament ชาวเบลเยี่ยม Tom Vandenkdelaere (CD&V) เห็นว่าหนึ่งในประโยชน์ของกฎระเบียบใหม่นี้คือจะช่วยลดความเสียเปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการที่มีหนังสือรับรองอยู่แล้ว เช่น หนังสือรับรองการเพาะปลูกถั่วเหลืองที่มีความรับผิดชอบMarie Arena จากพรรค Socialist Party ประเทศเบลเยี่ยม สนับสนุนให้กฎระเบียบปกป้องสิทธิของชนพื้นเมืองและนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วย โดย Marie ชี้ว่าในรอบศตวรรษที่ผ่านมา มีรายงานการฆาตกรรมนักอนุรักษ์เกิดขึ้นกว่า 1,540 กรณี ส่วนมากเกิดในทวีปป่าอะแมซอนและประเทศอินโดนีเซียSource: (2022) European Parliament wants stricter policy against deforestation. The Brussels Times. Available at: https://www.brusselstimes.com/288890/european-parliament-votes-for-stricter-policy-against-deforestation (Accessed: October 28, 2022).
Continue reading -
EU และโกตดิวัวร์สรุปการเจรจาข้อตกลงเพื่อต่อต้านการทำไม้ผิดกฎหมาย
วันที่ 19 ต.ค. 2565 EU และสาธารณรัฐโกตดิวัวร์ (ไอวอรีโคสต์) สรุปการเจรจาข้อตกลง FLEGT ซึ่งจะช่วยพัฒนาธรรมาภิบาลป่าไม้ ต่อต้านการทำไม้ผิดกฎหมาย และสนับสนุนโกตดิวัวร์ในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ การเจรจา VPA ของทั้งสองได้จบลงในวันที่ 19 ต.ค. ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมลงนามย่อต่อร่างข้อตกลง ในขั้นต่อไปร่างข้อตกลงจะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายยืนยันการปฏิบัติตามเนื้อหาในร่าง ซึ่งจะตามต่อด้วยการลงนามข้อตกลงและการลงสัตยาบัน เพื่อให้ข้อตกลงมีผลผูกพันทางกฎหมายเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2556 การเจรจา VPA ของโกตดิวัวร์ทำผ่านการมีส่วนร่วมที่เข้มแข็งจากตัวแทนภาคประชาสังคม ภาคเอกชน กระทรวง หน่วยงานรัฐ และผู้นำชุมชนจนปัจจุบัน การเจรจาได้ช่วยให้โกตดิวัวร์ในการปฏิรูปกฎหมายและนโยบายป่าไม้ ซึ่งรวมถึงสิทธิของเกษตรกร และสิทธิในที่ดินของเกษตรกรและเจ้าของที่ดิน และสร้างความเข็มแข็งต่อกฎระเบียบด้านการวางแผนป่าไม้ การจัดการป่าไม้ และการตรวจสอบย้อนกลับ นอกจากนี้ VPA ยังช่วยสนับสนุนบทบาทของผู้หญิงในการจัดการป่าไม้ด้วยปัจจุบันที่การลงนามอย่างเป็นทางการใกล้มาถึง สิ่งที่ต้องทำปัจจุบันคือการเตรียมการเพื่อนำข้อตกลงไปปฏิบัติ โดย VPA จะให้มีการเริ่มใช้ระบบตรวจสอบย้อนกลับ เพื่อให้แน่ใจว่าการค้าไม้ทั้งหมดของโกตดิวัวร์ ทั้งตลาดในประเทศและนานาชาติถูกกฎหมาย โดยตลาดในประเทศไม่จำกัดเพียงการค้ากับ EU เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการค้าไม้ในระดับภูมิภาคด้วยนอกจากธรรมาภิบาลป่าไม้และความถูกต้องตามกฎหมายของไม้แล้ว VPA ยังส่งเสริมการจัดการป่าไม้ ความโปร่งใส และความรับผิดชอบภายในภาคส่วนป่าไม้ ทั้งหมดนี้จะช่วยในการต่อสู้กับสภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง และเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมไม้ของประเทศ ซึ่งจะเพิ่มรายได้ให้กับประเทศมากขึ้นSource: EU and Côte d’Ivoire conclude negotiations on an agreement to combat illegal logging (2022) The VPA Africa – Latin America Facility . Available at: https://flegtvpafacility.org/eu-cote-divoire-conclude-negotiations-agreement-combat-illegal-logging/ (Accessed: October 28, 2022).
Continue reading -
ความพร้อมของอุตสาหกรรมไม้ไทยต่อกฎระเบียบ EU Deforestation-free products
ปัจจุบันที่ EU อยู่ระหว่างเตรียมประกาศใช้กฎระเบียบ Deforestation-free products บทความฉบับนี้เราได้ร่วมพูดคุยกับผู้แทนจากสมาคมธุรกิจไม้ และสมาคมโรงเลื่อยจักร เพื่อหารือมุมมองต่อผลกระทบ และความท้าทายที่จะเกิดกับอุตสาหกรรมไม้ เมื่อพูดถึงการผลิตที่มีความเสี่ยงต่อการทำลายป่า แน่นอนว่าสินค้าไม้เป็นสิ่งแรกๆ ที่คนนึกถึง ทำให้เป็นสินค้าถูกจับตามอง และควบคุมมาโดยตลอด แต่ในปัจจุบันการศึกษาต่างๆ ได้ชี้ให้เห็นว่านอกจากสินค้าไม้แล้ว ยังมีสินค้าเกษตร ที่มีความเสี่ยงการผลิตที่ส่งผลกระทบต่อป่า ด้วยแนวคิดใหม่นี้ EU จึงเตรียมออกกฎระเบียบ Deforestation-free products ซึ่งจะครอบคลุมสินค้าไม้และเกษตรที่มีความเสี่ยงการทำลายป่า กำหนดให้ต้องผ่านการตรวจทานข้อมูล (Due Diligence) ก่อนวางขายหรือส่งออกจาก EU เมื่อรับทราบแผนการประกาศกฎระเบียบใหม่นี้ หลายฝ่ายทั่วโลกได้ออกมาแสดงความเห็น บ้างมองว่ากฎระเบียบเข้มงวดเกินไป และกังวลผลกระทบที่จะเกิดขึ้น บ้างมองว่ากฎระเบียบยังไม่ครอบคลุมเพียงพอ บทความฉบับนี้เรามาพูดคุยกับผู้แทนจาก สมาคมธุรกิจไม้ และสมาคมโรงเลื่อยจักร ในฐานะผู้ที่คุ้นเคยกับกฎระเบียบควบคุมไม้ของ EU ในปัจจุบัน European Timber Regulation เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองเรื่องความพร้อมของอุตสาหกรรมไม้ต่อ Deforestation-free products รวมถึงความเห็นต่อผลกระทบที่จะเกิดกับสินค้าส่งออกอื่นๆอุตสาหกรรมไม้พร้อมรับกฎระเบียบ Deforestation-free products แน่นอนผู้ประกอบมั่นใจว่าไม้มีความพร้อมมากกว่าสินค้าอื่น เนื่องจาก การบำรุงรักษาป่า การควบคุมความถูกต้องตามกฎหมาย และการตรวจสอบห่วงโซ่อุปทาน เป็นมาตรฐานที่อุตสาหกรรมไม้ทำมาโดยตลอด และอุตสาหกรรมก็คุ้นเคยกับกฎระเบียบ อย่าง European Timber Regulation (EUTR) ของ EU และประเทศอื่นๆ อยู่แล้วคุณประเสริฐ เอี่ยมดีงามเลิศ กลุ่มอุตสาหกรรมโรงเลื่อยจักรและโรงอบไม้ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ‘ไม่คิดว่า Deforestation-free products ต่างกับ European Timber Regulation มากนัก เพราะอยู่บนพื้นฐานของการ Due Diligenceซึ่งอุตสาหกรรมไม้คุ้นเคยดีอยู่แล้ว’คุณเอกสิทธิ์ อเนกสิทธิสิน สมาคมธุรกิจไม้ ‘ไม่มีความกังวล เพียงแต่คงต้องทำเอกสารเพิ่มขึ้น’เอกสารแสดงสิทธิการใช้ที่ดินจะเป็นตัวตรวจพิสูจน์สำคัญเพื่อรองรับกฎระเบียบ Deforestation-free products โดยประเทศไทยควรเตรียมระบบเอกสารให้พร้อมเนื่องจากกฎระเบียบ Deforestation-free products มุ่งให้ยืนยันว่าสินค้านั้นไม่ได้ผลิตบนที่ดินที่มีการทำลายป่า ผู้ประกอบการเห็นว่าประเทศไทยจะต้องเตรียมพร้อมเอกสารแสดงสิทธิการใช้ที่ดินที่ชัดเจน เพื่อนำมายืนยันว่าสินค้ามาจากที่ดินที่ปลอดจากการทำลายป่า และแสดงวันที่ได้รับมอบที่ดินชัดเจน ให้สอดคล้องกับ cut-off date ที่ EU กำหนดไว้ความไม่สอดคล้องระหว่างนิยาม “ป่า” และ “การทำลายป่า” ของ EU และประเทศผู้ผลิตต่างๆ รวมถึงความท้าทายในการตรวจพิสูจน์ว่าผลิตภัณฑ์ส่งผลต่อการลดลงและเสื่อมโทรมของป่าหรือไม่ เป็นประเด็นที่ควรจับตามองคุณประเสริฐ ‘นิยามป่าที่มีความแตกต่างตามบริบทของประเทศ เป็นประเด็นที่สำคัญ นอกจากนี้มองว่าการตรวจพิสูจน์ว่ามีการทำลายป่าหรือไม่ก็ทำได้ยาก คาดว่าจะต้องมีการหารือเรื่องนี้กันต่อไป’ความกังวลต่อการปรับตัวของกลุ่มสินค้าอื่นๆ ที่ไม่ใช่ไม้ เพราะการทำ Due Diligence อาจเป็นเรื่องใหม่สำหรับสินค้าอื่นๆเนื่องจากการควบคุมสินค้าไม้ทั้งในประเทศและต่างประเทศมีมานานแล้ว ทำให้ผู้ประกอบการไม้รู้ดีว่าต้องปฏิบัติอย่างไร แต่มีความกังวลกับสินค้าอื่น เพราะอาจเป็นครั้งแรกที่ถูกควบคุม นอกจากนี้ยังมีผู้ประกอบการรายย่อยอยู่ในกลุ่มสินค้าเหล่านี้ซึ่งอาจเจออุปสรรคในการควบคุมห่วงโซ่อุปทาน และมองว่ายังมีการผลิตสินค้าเหล่านี้อยู่บนที่ดินที่สถานะไม่ชัดเจนว่าเป็นป่าหรือพื้นที่เกษตรอยู่คุณการุณ ‘Deforestation-free products จะมีผลกระทบกับสินค้าส่งออกนอกเหนือจากไม้ที่กฎระเบียบได้ระบุไว้ ต้องยอมรับว่าสินค้ากลุ่มนี้มีการผลิตบนที่ดินที่มีความเสี่ยงเป็นป่าอยู่ ที่สำคัญก็มีกลุ่มเกษตรกรที่เป็นผู้ประกอบการรายย่อยอยู่ด้วย’หน่วยงานรัฐไทยต้องเป็นผู้นำในการเตรียมรับกฎระเบียบ Deforestation-free products โดยภาคธุรกิจไม้พร้อมให้การสนับสนุนทั้งสามท่านมีความเห็นสอดคล้องกันว่า ภาครัฐจะต้องเป็นผู้นำในเรื่องนี้ และต้องมีการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องในการเจรจาและผลักดันเรื่องดังกล่าวกับผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง
Continue reading -
ไทยมุ่งสร้างระบบรับรองไม้อิเล็กทรอนิกส์ เริ่มทดสอบระบบเร็วๆนี้
22 ก.ย. 2565 - ณ การประชุมคณะทำงานจัดทำ FLEGT VPA ครั้งที่ 6 กรมป่าไม้นำเสนอสถานะปัจจุบันของการพัฒนาระบบรับรองไม้อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งระบบจะช่วยให้การรับรองไม้รวดเร็วขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการสามารถขอและรับหนังสือรับรองได้ผ่านช่องทางออนไลน์ เตรียมทดสอบระบบในเดือนพฤศจิกายนก่อนเริ่มใช้งานจริง ระบบอิเล็กทรอนิกส์นี้จะถูกนำมาใช้ดำเนินการระบบรับประกันความถูกต้องตามกฎหมายของไม้ไทย (THA-TLAS) ในอนาคต ปัจจุบันกรมป่าไม้เริ่มหารือกับหน่วยงานรัฐอื่นๆ ถึงโอกาสในการเชื่อมโยงข้อมูล เพื่อให้กรมสามารถเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นในการตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมายในการประชุมได้มีการรายงานสถานะการพัฒนากฎหมายในปัจจุบัน โดยมีร่างกฎระเบียบการนำเข้า-ส่งออกไม้ฉบับใหม่เตรียมออก ร่างได้ผ่านการทำประชาพิจารณ์แล้ว และจะถูกนำเข้า ครม. เพื่อขอความเห็นชอบก่อนประกาศใช้ โดยกฎระเบียบที่แก้ไขนี้จะช่วยเสริมสร้างการตรวจสอบย้อนกลับไม้ของไม้ในประเทศไทย โดยกำหนดให้ไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ต้องผ่านการรับรองก่อน จึงจะสามารถส่งออกหรือนำเข้าได้เพื่อสนับสนุนการค้าไม้ถูกกฎหมาย กรมป่าไม้จะเริ่มทบทวนกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อธุรกิจ คณะกรรมการเพื่อการทบทวนกฎหมายจะได้ถูกจัดตั้งขึ้นแล้ว และคาดว่าจะแล้วเสร็จในอีก 2 ปีข้างหน้า #gallery-1 { margin: auto; } #gallery-1 .gallery-item { float: left; margin-top: 10px; text-align: center; width: 33%; } #gallery-1 img { border: 2px solid #cfcfcf; } #gallery-1 .gallery-caption { margin-left: 0; } /* see gallery_shortcode() in wp-includes/media.php */
Continue reading -
ข่าวแปลจาก DW: สหภาพยุโรปและประเทศไทยสรุปข้อตกลงความร่วมมือปิดทศวรรษแห่งความสับสน
ข้อตกลงดังกล่าวตอบสนองความมุ่งมั่นของสหภาพยุโรปที่จะขยายฐานอำนาจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในขณะที่ประเทศไทยเองก็ต้องการเพิ่มความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างประเทศให้หลากหลายขึ้น ข้อตกลงนี้ล่าช้าไปเกือบทศวรรษหลังเกิดการรัฐประหาร ในที่สุดสหภาพยุโรปก็ได้สรุปข้อตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือรอบด้าน (Partnership and Cooperation Agreement: PCA) กับประเทศไทย ซึ่งเป็นข้อตกลงฉบับที่ 6 กับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้ง 2 ฝ่ายต้องการที่จะพัฒนาความสัมพันธ์ให้ดียิ่งขึ้นหลังจากการรัฐประหารเมื่อ 8 ปีก่อน ข้อตกลงนี้อาจเป็นแรงผลักดันที่ดีให้ทั้งสองฝ่ายเริ่มการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีอีกครั้งขณะนี้ข้อตกลง PCA อยู่ระหว่างรอการลงนามอย่างเป็นทางการ โดยข้อตกลงจะเพิ่มความสัมพันธ์ทวิภาคีอย่างรอบด้าน ตั้งแต่เรื่องสิทธิมนุษยชนไปจนถึงการต่อต้านการก่อการร้าย บรัสเซลส์มองว่าการทำข้กตลงเป็นก้าวสำคัญเพื่อเพิ่มความสัมพันธ์ของ EU กับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภูมิภาคที่ความสำคัญต่อสหภาพยุโรปทั้งในด้านภูมิรัฐศาสตร์ และ เศรษฐกิจ เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องการเจรจาความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรป (ETFTA) เริ่มขึ้นในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2556 แต่ถูกระงับไว้หลังการรัฐประหารของประเทศไทยในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2557 ซึ่งทำให้ความสัมพันธ์ของทั้งสองฝ่ายห่างเหินไปเป็นเวลาหลายปี การรัฐประหารยังกดเบรกแผนข้อตกลง PCA ที่ตกลงในปี 2556 โดยตัดเรื่องข้อตกลงการค้าเสรีอย่างเต็มรูปแบบออกข้อตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วน (PCA) กลับสู่โต๊ะการเจรจาอีกครั้งในปลายปี 2562 คณะมนตรียุโรป (European Council) ซึ่งเป็นหน่วยงานตัดสินใจหลักของสหภาพยุโรปอนุญาตเริ่มการหารือ PCA อย่างเป็นทางการกับไทยอีกครั้ง หลังจากประเทศไทยจัดการเลือกตั้งที่ถูกดีเลย์มานาน ซึ่งผู้ชนะการเลือกตั้งเป็นผู้นำทหารคนเดียวกับผู้ที่ทำการยึดอำนาจในช่วงรัฐประหารการประชุมเตรียมความพร้อมรอบแรกเพื่อพิจารณาปรับแก้ร่างข้อตกลง PCA ได้เริ่มขึ้นในเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว และได้ข้อสรุปไปในการประชุมครั้งที่ 7 เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยทั้งสองฝ่ายยังได้ตกลงถึงความเป็นไปได้ในการกลับมาเจรจา ETFTA ด้วยผู้แทนจาก European External Action Service (EEAS) ผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศและการป้องกันของสหภาพยุโรปกล่าวในแถลงการณ์ว่า “ข้อตกลง PCA จะช่วยยกระดับการประชุมหารือทางการเมืองในประเด็นที่ทั่วโลกเป็นห่วงและจะช่วยสร้างขอบเขตสำหรับความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ร่วมกันในอีกหลายนโยบาย”และกล่าวเพิ่มว่า “ข้อตกลง PCA จะเป็นโรดแมปกรอบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย – EU ในปีข้างหน้าที่กำลังมาถึง”Ms. Paola Pampaloni, Deputy Managing Director, EEAS และนางจุฬามณี ชาติสุวรรณ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศของไทย ได้สรุปกระบวนการเจรจาความตกลง PCA ไปในวันศุกร์ที่ผ่านมาMr. David Daly เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย กล่าวกับ DW ว่า “การลงนามอย่างเป็นทางการจะตามมา หลังจากการดำเนินการภายในของ EU และไทย”ความตกลงที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน Mr. Guillaume Rebiere, ผู้อำนวยการ European Association for Business and Commerce (EABC) กล่าวว่า “ความตกลง PCA จะเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญต่อการเจรจาแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและการค้า”ข้อมูลของสหภาพยุโรประบุว่า ในปี 2564 การค้าสินค้าระหว่างสหภาพยุโรปกับไทยเพิ่มขึ้นเป็น 35.4 พันล้านยูโร (35.16 พันล้านดอลลาร์) ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 29.3 พันล้านยูโรในปีก่อน สหภาพยุโรปเป็นนักลงทุนรายใหญ่อันดับ 2 ในประเทศไทยรองจากประเทศญี่ปุ่นMr. Guillaume Rebiere กล่าวเพิ่มว่า “ประเทศไทยเป็นหุ้นส่วนทางการค้าและการเมืองที่สำคัญ ดังนั้น ความตกลงนี้จึงมีความสำคัญ เพื่อเพิ่มบทบาทของสหภาพยุโรปในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ทั้งธุรกิจและนักลงทุนจะได้รับประโยชน์จากข้อตกลง PCAMs. Trinh Nguyen นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ผู้เชี่ยวชาญเรื่องประเทศที่กำลังเติบโตในทวีปเอเชีย จากบริษัทบริหารการลงทุน Natixis กล่าวว่า “ความตกลงดังกล่าวนั้นสมเหตุสมผลสำหรับทั้งสองฝ่าย” “มันจะเป็นการเพิ่มความสัมพันธ์ของทั้งสองฝ่าย เพราะทั้งคู่เต็มใจและกระตือรือร้นที่จะทำงานร่วมกันเพื่อเพิ่มความหลากหลายในแหล่งการลงทุน”หุ้นส่วนในการกระจายความเสี่ยงสำหรับประเทศไทยที่พึ่งพาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมากมาเป็นเวลานาน การลดลงของนักท่องเที่ยวจีนจากการแพร่ระบาดโควิด ทำให้ประเทศไทยต้องทบทวนใหม่ถึงการพึ่งพาตลาดปักกิ่ง และเริ่มหาแหล่งธุรกิจจากตลาดอื่น โดยไทยทราบดีว่าประเทศไทยจะต้องขยายแหล่งเติบโตออกไปนอกเหนือจากสองหุ้นส่วนหลักของประเทศเดิม อย่างอเมริกา และ จีนMs. Trinh Nguyen กล่าวว่า “การขยายการเข้าถึงทางการค้าและการลงทุนกับสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก ก็เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ดังกล่าว”Nguyen: “สหภาพยุโรปเองก็เริ่มส่งสัญญานความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศไทย เพราะสหภาพต้องการขยับตัวออกจากประเทศจีน ผลจากความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มขึ้น และบรัสเซลส์เองก็มองว่ากรุงปักกิ่งเป็นคู่แข่งทางการค้าด้วย”Nguyen กล่าวว่า “ความตั้งใจที่จะเจรจากับประเทศไทยผ่านการลงนามในกรอบความตกลงนั้น เป็นส่วนหนึ่งของการกระชับความสัมพันธ์ให้ใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น ไม่เพียงแต่ประเทศไทยแต่ยังรวมถึงประเทศทั้งหมดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอินเดียด้วย”ในเดือนธันวาคม สหภาพยุโรป และ ASEAN จะจัดการประชุมสุดยอดผู้นำระดับประเทศเป็นครั้งแรกในกรุงบรัสเซลส์ เพื่อเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ 45 ปีแบบกลุ่มต่อกลุ่มข้อตกลงเขตการค้าเสรีจะตามมาเป็นลำดับถัดไปหรือไม่การสรุปข้อตกลง PCA อาจเป็นสัญญาณว่าทั้งสองฝ่ายเข้าใกล้การทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) มากขึ้น หากเกิดขึ้น ประเทศไทยจะเป็นประเทศที่ 3 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ EU ทำ FTA ด้วยMr. David Daly เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย ย้ำว่า “ข้อตกลง PCA และกระบวนการ FTA ไม่มีความเกี่ยวข้องกันโดยตรง”อย่างไรก็ตาม Nguyen กล่าวว่า “หากดูจากแผนการดำเนินงาน FTA ของ EU กับประเทศอื่นในเอเชีย มีความเป็นไปได้ว่า PCA จะตามมาด้วยการทำ FTA กับประเทศไทย จากตัวอย่างของประเทศเวียดนาม ที่ลงนาม PCA กับสหภาพยุโรปในปี 2558 เช่น และตามมาด้วยการอนุมัติ FTA อีก 4 ปีต่อมา “เรายังมีอุปสรรคอื่นๆ ที่ต้องข้ามผ่าน แต่แน่นอนว่าความตกลง FTA นั้นใกล้เข้ามาแล้ว”Mr. Bryan Tse หัวหน้านักวิเคราะห์ประเทศไทยจาก Economist Intelligence มองว่า ความตกลง FTA จะได้รับการลงนามระหว่างปีพ.ศ. 2567 ถึง ปีพ.ศ. 2569 เว้นแต่จะมีสถานการณ์ทางการเมืองเกิดขึ้นในขณะนี้กรุงเทพฯ กำลังอยู่ในสถานการณ์ตึงเครียด หลังจากศาลรัฐธรรมนูญของประเทศติดสินเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีต้องออกจากตำแหน่งชั่วคราว เนื่องจากมีการพิจารณาว่า มีการการดำรงตำแหน่งเกินกำหนดระยะเวลา 8 ปี พล.อ.ประยุทธ์ เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดที่เข้ายึดอำนาจหลังการรัฐประหารในปี พ.ศ.2557Mr. Bryan Tse กล่าวว่า “สหภาพยุโรปและไทยไม่ได้มีความใกล้ชิดทางเศรษฐกิจเป็นพิเศษเมื่อเทียบกับประเทศจีน สหรัฐอเมริกา หรือสมาชิกอาเซียน ดังนั้นนี่จึงเป็นกลยุทธ์การกระจายความเสี่ยงสำหรับทั้งสองและยังสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการเติบโตของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในแง่ของการค้าทั่วโลกสำหรับประเทศอื่นๆ”Edited by: Alex BerryNews published on Deutsche Welle, authored by David Hutt, Thai translation by TEFSOSource: Hutt, D., 2022. EU and Thailand cap turbulent decade with a partnership agreement. Deutsche Welle, [online] Available at: <https://www.dw.com/en/eu-and-thailand-cap-turbulent-decade-with-a-partnership-agreement/a-63019958> [Accessed 8 September 2022].
Continue reading -
หน่วยงานรัฐหารือผลของกฎ EU Deforestation-free products ต่อสินค้าไม้และเกษตรส่งออก
3 สิงหาคม 2565 – หน่วยงานรัฐไทยด้านป่าไม้ เกษตร และความร่วมมือระหว่างประเทศ จัดประชุมเพื่อหารือการเตรียมการส่งออกของประเทศไทยเพื่อรองรับกฎระเบียบใหม่ของ EU Deforestation-free products ตัวแทน จาก คณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยเข้าร่วมในวาระนำเสนอเพื่อแนะนำข้อมูลเบื้องต้นของกฎระเบียบนี้ (เพิ่มเติม…)
Continue reading