• ผลสะท้อนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อ VPA และแนวการดำเนินงานต่อไปของการค้าไม้ถูกกฎหมายไทย

    กระบวนการ FLEGT VPA ดำเนินมาแล้วเป็นเวลา 9 ปี และเข้าพัฒนาภาคป่าไม้ของไทยในด้านต่างๆ โดยเฉพาะการวางระบบจัดการห่วงโซ่อุปทานและรับรองไม้ ช่วยยกระดับความน่าเชื่อถือของสินค้าไม้ไทยในตลาดนานาชาติ และสร้างกระบวนการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอันเข้มแข็งที่เปิดให้ภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม เข้าทำงานร่วมกันเพื่อปรับปรุงกฎหมาย และพัฒนาธรรมาภิบาลของภาคป่าไม้ไทย /*! elementor - v3.6.2 - 04-04-2022 */ .elementor-widget-text-editor.elementor-drop-cap-view-stacked .elementor-drop-cap{background-color:#818a91;color:#fff}.elementor-widget-text-editor.elementor-drop-cap-view-framed .elementor-drop-cap{color:#818a91;border:3px solid;background-color:transparent}.elementor-widget-text-editor:not(.elementor-drop-cap-view-default) .elementor-drop-cap{margin-top:8px}.elementor-widget-text-editor:not(.elementor-drop-cap-view-default) .elementor-drop-cap-letter{width:1em;height:1em}.elementor-widget-text-editor .elementor-drop-cap{float:left;text-align:center;line-height:1;font-size:50px}.elementor-widget-text-editor .elementor-drop-cap-letter{display:inline-block} เพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินงานต่อไป เดือน ต.ย. – ธ.ค. 2565 TEFSO เปิดแบบสอบถามเพื่อรับฟังเสียงสะท้อนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อ และนำข้อมูลเหล่านั้นไปหารือกับหน่วยงานสำคัญของ FLEGT VPA กรมป่าไม้ สมาคมธุรกิจไม้โตเร็ว และ RECOFTCรับชมวิดีโอสรุปผลสะท้อน และมุมองข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย


    Continue reading
  • EU และโกตดิวัวร์สรุปการเจรจาข้อตกลงเพื่อต่อต้านการทำไม้ผิดกฎหมาย

    วันที่ 19 ต.ค. 2565 EU และสาธารณรัฐโกตดิวัวร์ (ไอวอรีโคสต์) สรุปการเจรจาข้อตกลง FLEGT ซึ่งจะช่วยพัฒนาธรรมาภิบาลป่าไม้ ต่อต้านการทำไม้ผิดกฎหมาย และสนับสนุนโกตดิวัวร์ในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ การเจรจา VPA ของทั้งสองได้จบลงในวันที่ 19 ต.ค. ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมลงนามย่อต่อร่างข้อตกลง ในขั้นต่อไปร่างข้อตกลงจะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายยืนยันการปฏิบัติตามเนื้อหาในร่าง ซึ่งจะตามต่อด้วยการลงนามข้อตกลงและการลงสัตยาบัน เพื่อให้ข้อตกลงมีผลผูกพันทางกฎหมายเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2556 การเจรจา VPA ของโกตดิวัวร์ทำผ่านการมีส่วนร่วมที่เข้มแข็งจากตัวแทนภาคประชาสังคม ภาคเอกชน กระทรวง หน่วยงานรัฐ และผู้นำชุมชนจนปัจจุบัน การเจรจาได้ช่วยให้โกตดิวัวร์ในการปฏิรูปกฎหมายและนโยบายป่าไม้ ซึ่งรวมถึงสิทธิของเกษตรกร และสิทธิในที่ดินของเกษตรกรและเจ้าของที่ดิน และสร้างความเข็มแข็งต่อกฎระเบียบด้านการวางแผนป่าไม้ การจัดการป่าไม้ และการตรวจสอบย้อนกลับ นอกจากนี้ VPA ยังช่วยสนับสนุนบทบาทของผู้หญิงในการจัดการป่าไม้ด้วยปัจจุบันที่การลงนามอย่างเป็นทางการใกล้มาถึง สิ่งที่ต้องทำปัจจุบันคือการเตรียมการเพื่อนำข้อตกลงไปปฏิบัติ โดย VPA จะให้มีการเริ่มใช้ระบบตรวจสอบย้อนกลับ เพื่อให้แน่ใจว่าการค้าไม้ทั้งหมดของโกตดิวัวร์ ทั้งตลาดในประเทศและนานาชาติถูกกฎหมาย โดยตลาดในประเทศไม่จำกัดเพียงการค้ากับ EU เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการค้าไม้ในระดับภูมิภาคด้วยนอกจากธรรมาภิบาลป่าไม้และความถูกต้องตามกฎหมายของไม้แล้ว VPA ยังส่งเสริมการจัดการป่าไม้ ความโปร่งใส และความรับผิดชอบภายในภาคส่วนป่าไม้ ทั้งหมดนี้จะช่วยในการต่อสู้กับสภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง และเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมไม้ของประเทศ ซึ่งจะเพิ่มรายได้ให้กับประเทศมากขึ้นSource: EU and Côte d’Ivoire conclude negotiations on an agreement to combat illegal logging (2022) The VPA Africa – Latin America Facility . Available at: https://flegtvpafacility.org/eu-cote-divoire-conclude-negotiations-agreement-combat-illegal-logging/ (Accessed: October 28, 2022).


    Continue reading
  • แวดวงคนทำไม้: คุณประเสริฐ เอี่ยมดีงามเลิศ พูดคุยโรงเลื่อยจักรกับตลาดที่เปลี่ยนไป

    โรงเลื่อยจักรเป็นจุดแปรรูปไม้ขั้นต้นที่เปลี่ยนซุงไม้ให้กลายเป็นท่อนไม้สำหรับการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สุดท้าย โรงเลื่อยจักรจึงเป็นหัวใจสำคัญในห่วงโซ่อุปทานไม้ และเป็นแหล่งรายได้ของผู้ประกอบการไม้ของไทย แต่ด้วยกฎหมาย และความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนไป อุตสาหกรรมที่เคยเติบโตต้องยุบตัวลง คอลัมน์คนทำไม้ฉบับนี้พาทุกท่านมารู้จักกับ คุณประเสริฐ เอี่ยมดีงามเลิศ ประธานสมาคมโรงเลื่อยจักร ที่มาร่วมพูดคุยเกี่ยวกับธุรกิจโรงเลื่อยจักรในปัจจุบัน (เพิ่มเติม…)


    Continue reading
  • How to: 3 ทางเลือกยืนยันความถูกต้องตามกฎหมายของไม้ในที่ดินเอกชน

    ผลจากการแก้ไขมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ. ป่าไม้ ปี 2563 ไม้ที่ขึ้นในที่ดินเอกชนทุกชนิดไม่เป็นไม้หวงห้าม สามารถปลูก ตัดโค่น และนำเคลื่อนได้โดยไม่ต้องขออนุญาตเจ้าหน้าที่ ตามชมวิดีโอจัดทำโดย สำนักงานการรับรองไม้เศรษฐกิจไทย และ กรมป่าไม้ ด้วยงบสนับสนุนจาก EU-FAO FLEGT Programme ที่จะมาแนะนำ 3 ทางเลือกที่เจ้าของไม้สามารถเลือกใช้ในการเสริมสร้างความมั่นใจต่อความถูกต้องของไม้เพื่อนำเคลื่อนและขายต่อไป และเพื่อควบคุมห่วงโซ่อุปทานของไม้ไทย


    Continue reading
  • การประชุมคณะทำงาน FLEGT VPA ครั้งที่ 10/2564: เตรียมนำร่างภาคผนวกขอบเขตผลิตภัณฑ์เข้าเจรจากับอียู

    24 พ.ย. 2564 – คณะทำงาน FLEGT VPA ร่วมต้อนรับ นายสุรชัย อจลบุญ อธิบดีกรมป่าไม้คนใหม่ โดยนายสุรชัยเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของกรมป่าไม้ที่จะผลักดันให้ได้ลงนามข้อตกลงโดยเร็วที่สุด “ขอขอบคุณทุกฝ่ายที่ร่วมมือกันมาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันฝ่ายไทยควรมุ่งเน้นสรุปแนวคิดภาพใหญ่ให้สำเร็จ และเมื่อหลังลงนามข้อตกลงแล้ว จะต้องทำงานต่อเพื่อจัดเตรียมทางกฎระเบียบ และระบบ เพื่อรองรับการดำเนินการ FLEGT VPA”


    Continue reading
  • ทำความรู้จักกับ FLEGT VPA ผ่าน Infographic

    ซีรีย์อินโฟกราฟฟิกชิ้นนี้นำทุกคนมารู้จักกับ FLEGT VPA ระหว่างประเทศไทย-อียู และประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในภาคการป่าไม้ ไม่ว่าจะเป็น หน่วยงานรัฐ ผู้ประกอบการรายย่อย ผู้แปรรูปไม้ จนถึงองค์กรภาคประชาสังคม (เพิ่มเติม…)


    Continue reading
  • ทีม FAO-EU FLEGT Programme และ SFT-LMR เข้าพบอธิบดีกรมป่าไม้ ตอกย้ำความสำคัญของการทำงานร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า

    4 พ.ย. 2564 – โครงการ FAO-EU FLEGT Programme และ Sustainable Forest Trade in the Lower Mekong Region (SFT-LMR) เข้าพบอธิบดีกรมป่าไม้ สุรชัย อจลบุญ เพื่อแสดงความยินดีต่อการเข้ารับตำแหน่ง พร้อมหารือการทำงาน ความสำเร็จของโครงการที่ผ่านมา และแผนการทำงานต่อไป


    Continue reading
  • รายงานข่าวเสวนาออนไลน์ “สิทธิของประชาชนและหน้าที่ของรัฐในการเปิดเผยข้อมูล ต่อสาธารณะอย่างเป็นธรรม”

    การเปิดเผยและเข้าถึงข้อมูลสาธารณะเป็นกลไกสำคัญในการเสริมสร้างธรรมาภิบาลภาคการป่าไม้ นำมาซึ่งความโปร่งใส และส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชน (เพิ่มเติม…)


    Continue reading
  • การประชุมเชิงปฏิบัติการ การเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ หน่วยงานรัฐยืนยันเปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น พร้อมให้ข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาการเปิดเผยข้อมูลภาคการป่าไม้เชิงรุก

    ความสามารถในการเปิดเผย และเข้าถึงข้อมูลสาธารณะ เป็นกลไกสำคัญต่อความโปร่งใส และธรรมาภิบาล ของการบริหารจัดการภาคการป่าไม้ ทุกภาคส่วนจะได้ประโยชน์จากการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ ภาคเอกชนจะได้รับทราบ และสามารถนำกฎระเบียบไปประกอบธุรกิจได้อย่างถูกต้อง ภาคประชาสังคม และสาธารณะที่สนใจ จะมีข้อมูลในการติดตามตรวจสอบการบริหารจัดการป่าไม้ของประเทศ การเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะอย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นหนึ่งในพันธะสัญญาที่ประเทศไทยต้องดำเนินการภายใต้ข้อตกลงเป็นหุ้นส่วนด้วยความสมัครใจ การบังคับใช้กฎหมายป่าไม้ ธรรมาภิบาล และการค้า (FLEGT VPA) (เพิ่มเติม…)


    Continue reading
  • จดหมายข่าว TEFSO ฉบับที่ 25 (มิ.ย. – ส.ค. 2564)

    บทความของฉบับนี้พบกับ เปรียบเทียบการควบคุมการนำเข้าไม้ EU สหรัฐอเมริกา และแนวคิดของประเทศไทย แนะนำหนังสือสำแดงความถูกต้องตามกฎหมายของไม้ในที่ดินเอกชนด้วยตนเอง เจ๊จงไม้เก่า ธุรกิจ SME ของผู้ประกอบการหญิงเจ้าเก๋าของวงการ คุณวรางคณา รัตนรัตน์ ผู้อำนวยการ RECOFTC ประเทศไทย กับบทบาทของภาคประชาสังคมใน FLEGT VPA


    Continue reading
  • การศึกษาภายใต้ FLEGT VPA พบโรงงานแปรรูปของไทยมีระบบป้องการรับไม้ผิดกฎหมาย บางโรงงานขนาดจุลภาคอาจยังขาดทุนและข้อมูลทำให้ไม่สามารถควบคุมได้อย่างสมบูรณ์ แนวทางเพื่อช่วยโรงงานในการตรวจสอบความถูกต้องไม้จะถูกประกาศเร็วๆนี้

    20 ส.ค. 2564 – คณะทำงานจัดทำ FLEGT VPA ครั้งที่ 8 จัดขึ้นเพื่อพิจารณาข้อค้นพบโครงการศึกษากระบวนการยืนยันความถูกต้องของไม้ของผู้แปรรูปขั้นต้น หารือแผนประชาสัมพันธ์การยืนยันความถูกต้องของไม้ในที่ดินเอกชน และพิจารณาแนวทางการสำแดงความถูกต้องตามกฎหมายของไม้เก่าด้วยตนเอง (เพิ่มเติม…)


    Continue reading
  • คณะทำงาน FLEGT VPA เห็นชอบร่างภาคผนวกขอบเขตผลิตภัณฑ์ แนวทางการสำแดงไม้จากที่ดิน สปก. และการแก้ไขร่างแนวคิดการควบคุมการนำเข้าไม้

    17 มิ.ย. 2564 – คณะทำงานจัดทำ FLEGT VPA จัดการประชุมครั้งที่ 6 ของปี เพื่อพิจารณาร่างภาคผนวกที่ 1 ขอบเขตผลิตภัณฑ์ ร่างแนวทางการยืนยันความถูกต้องตามกฎหมายของไม้ในที่ดิน สปก. และร่างแนวคิดการควบคุมการนำเข้าไม้ (เพิ่มเติม…)


    Continue reading