• อุตสาหกรรมหนังและอาหารกับการจัดการห่วงโซ่อุปทานยั่งยืน

    ในปัจจุบันที่ EU กำลังเตรียมประกาศใช้กฎระเบียบ Deforestation-free products ซึ่งจะกำหนดให้สินค้าไม้ โกโก้ กาแฟ ปาล์มน้ำมัน ข้าวโพด ถั่วเหลือง รวมถึงยางพารา ที่ผลิตในและนอก EU ต้องผ่าน Due Diligence ว่าปลอดจากการทำลายป่าและถูกกฎหมาย ก่อนวางขายในตลาด EU /*! elementor - v3.6.2 - 04-04-2022 */ .elementor-widget-text-editor.elementor-drop-cap-view-stacked .elementor-drop-cap{background-color:#818a91;color:#fff}.elementor-widget-text-editor.elementor-drop-cap-view-framed .elementor-drop-cap{color:#818a91;border:3px solid;background-color:transparent}.elementor-widget-text-editor:not(.elementor-drop-cap-view-default) .elementor-drop-cap{margin-top:8px}.elementor-widget-text-editor:not(.elementor-drop-cap-view-default) .elementor-drop-cap-letter{width:1em;height:1em}.elementor-widget-text-editor .elementor-drop-cap{float:left;text-align:center;line-height:1;font-size:50px}.elementor-widget-text-editor .elementor-drop-cap-letter{display:inline-block} ในฐานะประเทศการเกษตร ทุกภาคส่วนในไทยทั้งเอกชนและรัฐต่างตื่นตัวกับกฎระเบียบนี้ โดยล่าสุดในวันที่ 14 ธ.ค. ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดบทความนี้ TEFSO พาผู้อ่านมาพบกับผู้แทนอุตสาหกรรมหนังและอาหาร เพื่อรับฟังมุมมองต่อกฎระเบียบ EU และการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่มีในปัจจุบันสัดส่วนการส่งออกของเครื่องหนังไปยัง EU สูง และไม่มีความกังวลกับกฎระเบียบใหม่ เพราะมีการยืนยันแหล่งผลิต และควบคุมห่วงโซ่อุปทานอยู่แล้วผลิตภัณฑ์หนังส่งออกแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ หนังสำหรับรองเท้า สำหรับรถ และเฟอร์นิเจอร์‘โรงฟอกหนังของผมส่งหนังให้กับแบรนด์ใหญ่ๆ อย่าง Nike Adidas ส่วนสมาชิกของกลุ่มก็มีส่งไปที่ Mercedes Toyota Honda’ ตัวแทนกลุ่มอุตสาหกรรมหนังและผลิตภัณฑ์หนัง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวการส่งออกกลุ่มอาหาร เช่น โกโก้ กาแฟ ข้าวโพด ไปยัง EU มีสัดส่วนน้อยหรือแทบไม่มีเลย แต่กลุ่มมีความกังวลหากมีการขยายขอบเขตผลิตภัณฑ์ออกไป‘กฎระเบียบใหม่ EU คงยังไม่กระทบตอนนี้มากเพราะเนื้อวัว สุกร ไม่มีส่งออกไป EU กาแฟ ก็ส่งออกไปน้อยมากไม่มีนัยยะสำคัญ โกโก้ก็เช่นกันที่ยังไม่เป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศถึงแม้จะมีการผลักดัน แต่ก็ยังกังวลหากในอนาคต EU ขยายขอบเขตผลิตภัณฑ์ออกไป’ – ตัวแทนกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานยั่งยืนไม่ใช่เรื่องใหม่ของทั้งอุตสาหกรรมหนังหรืออาหารกลุ่มอุตสาหกรรมหนัง และกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร ยืนยันว่า คุ้นเคยดีกับการตรวจสอบ ควบคุม รับรองการผลิตที่ยั่งยืนในส่วนอุตสาหกรรมหนัง เพราะมีคู่ค้าเป็นแบรนด์ใหญ่จากประเทศอเมริกา และ EU อุตสาหกรรมโดยรวมจึงมีความพร้อมกับกฎระเบียบ Deforestation-free products เพราะทำระบบควบคุมห่วงโซ่อุปทานมานาน‘ในปี 2550 คู่ค้าของเรา Nike Timberland และ Adidas ได้ร่วมกันตั้ง นโยบายรับเฉพาะหนังที่ตรวจสอบย้อนกลับได้ และผ่านการรับรองจาก Third Party Audit ที่ได้รับการยอมรับ แบรนด์ใหญ่ๆ จะให้โรงฟอกใช้หนังจากฟาร์มที่ได้รับการรับรองเท่านั้น มีระบบรับรองอย่าง Leather Working Group ถ้าให้ประเมินคร่าวๆ คิดว่า 30% ของผู้ผลิตหนังในไทยอยู่ในระบบรับรองแล้ว’‘ในภาคอาหาร คงเป็น Good Agricultural Practices (GAP) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ใช้รับรองการผลิตสินค้าเกษตรที่ถูกกฎหมายและยั่งยืน แต่ส่วนใหญ่เป็นภาคสมัครใจ มีเพียง 5 ผลิตภัณฑ์เท่านั้นที่บังคับให้ทำ GAP’กลุ่มอุตสาหกรรมอาหารมีความกังวลต่อเกษตรกรรายย่อยที่ส่วนหนึ่งยังขาดความสามารถในการเข้าถึงระบบรับรอง‘ห่วงโซ่อุปทานของอาหารมีเกษตรกรขนาดเล็กอยู่มากที่ไม่ได้ผ่านการรับรอง ทำให้ติดปัญหาเวลาต้องยืนยันการผลิตที่ยั่งยืน ตรงนี้บริษัทใหญ่ๆ อย่าง CPF และ Betagro ก็เข้ามาช่วยเกษตรกรในเครือข่ายให้ผ่านการรับรองได้ แต่ยังขาดการสนับสนุนจากภาครัฐเท่าที่ควร’‘GAP มีมานานกว่า 10 ปีแล้ว ถ้ารัฐบาลมาสนับสนุนเกษตรกรให้เข้าระบบแต่ตอนนั้น ตอนนี้พวกเขาคงพร้อมรับกฎระเบียบของ EU ไปแล้ว และไม่ต้องรอการช่วยเหลือจากบริษัทใหญ่’ 


    Continue reading
  • ความพร้อมของอุตสาหกรรมไม้ไทยต่อกฎระเบียบ EU Deforestation-free products

    ปัจจุบันที่ EU อยู่ระหว่างเตรียมประกาศใช้กฎระเบียบ Deforestation-free products บทความฉบับนี้เราได้ร่วมพูดคุยกับผู้แทนจากสมาคมธุรกิจไม้ และสมาคมโรงเลื่อยจักร เพื่อหารือมุมมองต่อผลกระทบ และความท้าทายที่จะเกิดกับอุตสาหกรรมไม้ เมื่อพูดถึงการผลิตที่มีความเสี่ยงต่อการทำลายป่า แน่นอนว่าสินค้าไม้เป็นสิ่งแรกๆ ที่คนนึกถึง ทำให้เป็นสินค้าถูกจับตามอง และควบคุมมาโดยตลอด แต่ในปัจจุบันการศึกษาต่างๆ ได้ชี้ให้เห็นว่านอกจากสินค้าไม้แล้ว ยังมีสินค้าเกษตร ที่มีความเสี่ยงการผลิตที่ส่งผลกระทบต่อป่า ด้วยแนวคิดใหม่นี้ EU จึงเตรียมออกกฎระเบียบ Deforestation-free products  ซึ่งจะครอบคลุมสินค้าไม้และเกษตรที่มีความเสี่ยงการทำลายป่า กำหนดให้ต้องผ่านการตรวจทานข้อมูล (Due Diligence) ก่อนวางขายหรือส่งออกจาก EU เมื่อรับทราบแผนการประกาศกฎระเบียบใหม่นี้ หลายฝ่ายทั่วโลกได้ออกมาแสดงความเห็น บ้างมองว่ากฎระเบียบเข้มงวดเกินไป และกังวลผลกระทบที่จะเกิดขึ้น บ้างมองว่ากฎระเบียบยังไม่ครอบคลุมเพียงพอ บทความฉบับนี้เรามาพูดคุยกับผู้แทนจาก สมาคมธุรกิจไม้ และสมาคมโรงเลื่อยจักร ในฐานะผู้ที่คุ้นเคยกับกฎระเบียบควบคุมไม้ของ EU ในปัจจุบัน European Timber Regulation เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองเรื่องความพร้อมของอุตสาหกรรมไม้ต่อ Deforestation-free products รวมถึงความเห็นต่อผลกระทบที่จะเกิดกับสินค้าส่งออกอื่นๆอุตสาหกรรมไม้พร้อมรับกฎระเบียบ Deforestation-free products แน่นอนผู้ประกอบมั่นใจว่าไม้มีความพร้อมมากกว่าสินค้าอื่น เนื่องจาก การบำรุงรักษาป่า การควบคุมความถูกต้องตามกฎหมาย และการตรวจสอบห่วงโซ่อุปทาน เป็นมาตรฐานที่อุตสาหกรรมไม้ทำมาโดยตลอด และอุตสาหกรรมก็คุ้นเคยกับกฎระเบียบ อย่าง European Timber Regulation (EUTR) ของ EU และประเทศอื่นๆ อยู่แล้วคุณประเสริฐ เอี่ยมดีงามเลิศ  กลุ่มอุตสาหกรรมโรงเลื่อยจักรและโรงอบไม้ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ‘ไม่คิดว่า Deforestation-free products ต่างกับ European Timber Regulation มากนัก เพราะอยู่บนพื้นฐานของการ Due Diligenceซึ่งอุตสาหกรรมไม้คุ้นเคยดีอยู่แล้ว’คุณเอกสิทธิ์ อเนกสิทธิสิน สมาคมธุรกิจไม้ ‘ไม่มีความกังวล เพียงแต่คงต้องทำเอกสารเพิ่มขึ้น’เอกสารแสดงสิทธิการใช้ที่ดินจะเป็นตัวตรวจพิสูจน์สำคัญเพื่อรองรับกฎระเบียบ Deforestation-free products โดยประเทศไทยควรเตรียมระบบเอกสารให้พร้อมเนื่องจากกฎระเบียบ Deforestation-free products มุ่งให้ยืนยันว่าสินค้านั้นไม่ได้ผลิตบนที่ดินที่มีการทำลายป่า ผู้ประกอบการเห็นว่าประเทศไทยจะต้องเตรียมพร้อมเอกสารแสดงสิทธิการใช้ที่ดินที่ชัดเจน เพื่อนำมายืนยันว่าสินค้ามาจากที่ดินที่ปลอดจากการทำลายป่า และแสดงวันที่ได้รับมอบที่ดินชัดเจน ให้สอดคล้องกับ cut-off date ที่ EU กำหนดไว้ความไม่สอดคล้องระหว่างนิยาม “ป่า” และ “การทำลายป่า” ของ EU และประเทศผู้ผลิตต่างๆ รวมถึงความท้าทายในการตรวจพิสูจน์ว่าผลิตภัณฑ์ส่งผลต่อการลดลงและเสื่อมโทรมของป่าหรือไม่ เป็นประเด็นที่ควรจับตามองคุณประเสริฐ ‘นิยามป่าที่มีความแตกต่างตามบริบทของประเทศ เป็นประเด็นที่สำคัญ นอกจากนี้มองว่าการตรวจพิสูจน์ว่ามีการทำลายป่าหรือไม่ก็ทำได้ยาก คาดว่าจะต้องมีการหารือเรื่องนี้กันต่อไป’ความกังวลต่อการปรับตัวของกลุ่มสินค้าอื่นๆ ที่ไม่ใช่ไม้ เพราะการทำ Due Diligence อาจเป็นเรื่องใหม่สำหรับสินค้าอื่นๆเนื่องจากการควบคุมสินค้าไม้ทั้งในประเทศและต่างประเทศมีมานานแล้ว ทำให้ผู้ประกอบการไม้รู้ดีว่าต้องปฏิบัติอย่างไร แต่มีความกังวลกับสินค้าอื่น เพราะอาจเป็นครั้งแรกที่ถูกควบคุม นอกจากนี้ยังมีผู้ประกอบการรายย่อยอยู่ในกลุ่มสินค้าเหล่านี้ซึ่งอาจเจออุปสรรคในการควบคุมห่วงโซ่อุปทาน และมองว่ายังมีการผลิตสินค้าเหล่านี้อยู่บนที่ดินที่สถานะไม่ชัดเจนว่าเป็นป่าหรือพื้นที่เกษตรอยู่คุณการุณ ‘Deforestation-free products จะมีผลกระทบกับสินค้าส่งออกนอกเหนือจากไม้ที่กฎระเบียบได้ระบุไว้ ต้องยอมรับว่าสินค้ากลุ่มนี้มีการผลิตบนที่ดินที่มีความเสี่ยงเป็นป่าอยู่ ที่สำคัญก็มีกลุ่มเกษตรกรที่เป็นผู้ประกอบการรายย่อยอยู่ด้วย’หน่วยงานรัฐไทยต้องเป็นผู้นำในการเตรียมรับกฎระเบียบ Deforestation-free products โดยภาคธุรกิจไม้พร้อมให้การสนับสนุนทั้งสามท่านมีความเห็นสอดคล้องกันว่า ภาครัฐจะต้องเป็นผู้นำในเรื่องนี้ และต้องมีการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องในการเจรจาและผลักดันเรื่องดังกล่าวกับผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง


    Continue reading