COP27: EU ประกาศ Forest Partnership กับ 5 ประเทศหุ้นส่วน

8 พ.ย. 2565 - Ursula von der Leyen ประธานคณะกรรมการธิการยุโรป ลงนามบันทึกความเข้าใจ Forest Partnership กับประเทศกายอานา, มองโกเลีย, สาธารณรัฐคองโก, ยูกานดา และแซมเบีย โดยมี Mohamed Irfaan Ali ประธานาธิบดีประเทศกายอาน่า, Ukhnaagiin Khürelsükh ประธานาธิบดีมองโกเลีย, Hakainde Hichilema ประธานาธิบดีแซมเบีย, Yoweri Museveni ประธานาธิบดีประเทศยูกานดา และตัวแทนของประธานาธิบดีสาธารณรัฐคองโก Denis-Christel Sassou Nguesso ร่วมการลงนาม

การลงนามนี้เกิดขึ้นพร้อมกับการประชุม COP27 UN Climate Change Conference โดย Forest Partnership เป็นความร่วมมือของสหภาพยุโรป (EU) กับประเทศหุ้นส่วนภายใต้นโยบาย EU Green Deal

Forest Partnership เป็นกรอบความร่วมมือของ EU รูปแบบบูรณาการ ซึ่งจะนำไปสู่การทำงานร่วมกับประเทศหุ้นส่วนในด้านป่าไม้ เพื่อสนับสนุนประเทศหุ้นส่วนในการฟื้นฟูป่า เพื่อนำไปสู่การปกป้องสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวพันธุ์ เพราะป่าไม้เป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอน และเป็นปัจจัยสำคัญในการปรับตัวและบรรเทาสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง

“ป่าไม้มีความสำคัญหลายด้าน ทั้งในด้านการต่อสู้กับสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ปกป้องความหลากหลายทางชีวพันธุ์ และสร้างรายได้ยังชีพให้กับประชากรหลายล้านคนทั่วโลก  80% ของพืช สัตว์ และจุลินทรีย์อยู่อาศัยในป่าไม้ ในขณะเดียวกันคนอีก 1.6 พันล้านคนพึ่งพิงป่าไม้ในการหาทรัพยากรดำรงชีพ เช่น อาหารและเชื้อเพลิง ด้วยผลเสียมากมายที่จะตามมาหากป่าไม้หายไป การดำเนินการเพื่อหยุดการทำลายป่าจึงเป็นสิ่งสำคัญ พวกเราจึงต้องเข้าทำ Forest Partnership กับประเทศหุ้นส่วนให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อรักษาป่าให้มีสภาพสมบูรณ์ เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน ด้วยการทำ Forest Partnership พวกเราจะสนับสนุนประเทศหุ้นส่วนในการบริหารจัดการป่าไม้ และรักษาป่าไม้อย่างยั่งยืน เพราะป่าไม้นั้นเป็นทรัพยากรธรรมชาติของโลกที่เต็มไปด้วยสรรพคุณมากมายในการต่อกรกับสภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวพันธุ์ และสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน” Ursula von der Leyen กล่าว

Forest Partnership

ผ่านการทำ Forest Partnership ประเทศหุ้นส่วนยืนยันเจตนารมย์ทางการเมืองในระยะยาว เพื่อการดำเนินงานร่วมอย่างใกล้ชิดในด้านต่างๆ ต่อไปนี้

  • สร้างการบริหารจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน โดยการพัฒนาธรรมาภิบาลป่าไม้ และสร้างบรรยากาศทางการค้าที่เอื้ออำนวย
  • เร่งการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจป่าไม้หมุนเวียน เกิดห่วงโซ่คุณค่าป่าไม้ที่ยั่งยืนรวมถึงการเข้าถึงตลาด ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างงาน และการยกระดับสังคมและเศรษฐกิจ
  • ลดการสูญเสียป่าและป่าเสื่อมโทรม
  • หาหนทางในการสนับสนุนการผลิตและค้าผลิตภัณฑ์ป่าไม้ที่ถูกกฎหมายและยั่งยืน

Forest Partnership จะมีลักษณะเฉพาะมุ่งขับเคลื่อนด้านอุปสงค์ และสอดคล้องกับบริบท ความต้องการ และเป้าหมายของประเทศหุ้นส่วน

ความเป็นมา

ในการประชุม UN Climate Change Conference COP26 เมืองกลาสโกลว์ EU ประกาศ Forest Partnership และให้ปฏิญญาสนับสนุนเงินจำนวน 1 พันล้านยูโรกับ Global Forests Finance Pledge

1 ปีผ่านไปเวลาเดียวกับ COP27 จึงเกิดการเซ็น Forest Partnership กับ 5 ประเทศ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความตั้งมั่นของ EU ในการดำเนินการต่อปฏิญญาจาก COP26 อย่างเป็นรูปธรรม เพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู และบริหารจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน

มากไปกว่านี้ EU ยังได้จัดสรรงบประมาณสำหรับการดำเนินงานภายนอกสหภาพ โดย 35% ของงบประมาณอยู่ภายใต้เป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม และอีก 7.5% ภายใต้เป้าหมายความหลากหลายทางชีวพันธุ์

 

Source: COP27: EU launches Forest Partnerships with five partner countries (2022) European Commission – European Commission. European Commission. Available at: https://ec.europa.eu/commission/presscorner/detail/en/ip_22_6653  (Accessed: November 11, 2022).

Comments are closed.

X