หน่วยงานรัฐหารือผลของกฎ EU Deforestation-free products ต่อสินค้าไม้และเกษตรส่งออก

3 สิงหาคม 2565 – หน่วยงานรัฐไทยด้านป่าไม้ เกษตร และความร่วมมือระหว่างประเทศ จัดประชุมเพื่อหารือการเตรียมการส่งออกของประเทศไทยเพื่อรองรับกฎระเบียบใหม่ของ EU Deforestation-free products ตัวแทน จาก คณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยเข้าร่วมในวาระนำเสนอเพื่อแนะนำข้อมูลเบื้องต้นของกฎระเบียบนี้

ผลที่จะเกิดกับประเทศผู้ผลิต

กฎระเบียบนี้จะห้ามการวางขาย หรือ ส่งออกจากตลาด EU ของผลิตภัณฑ์ที่ผิดกฎหมาย หรือ มีส่วนให้เกิดการลดลงหรือเสื่อมโทรมของป่า โดยจะมีผลกับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตใน EU เองหรือนำเข้ามา ก่อนวางขายหรือส่งออก ผู้ประกอบการจะต้องทำการตรวจทานห่วงโซ่อุปทาน ปัจจุบันมีอยู่ 6 ผลิตภัณฑ์ด้วยกันที่แน่นอนแล้วว่าจะถูกควบคุมโดยกฎระเบียบนี้ คือ น้ำมันปาล์ม วัวโคกระบือ ไม้ กาแฟ โคโค่ ถั่วเหลือง และมีความเป็นไปได้ว่ายางพาราอาจถูกรวมเข้ามาในอนาคต

กฎระเบียบนี้มีความสำคัญอย่างมากที่จะเพิ่มบทบาทของ EU ในการหยุดการบุกรุกทำลายป่า อย่างไรก็ตามก็จะมีผลต่อประเทศผู้ผลิตด้วยเช่นกัน เช่น ปัญหาเรื่องการปฏิรูปที่ดิน ซึ่งเป็นโครงการที่หลายประเทศทำขึ้นเพื่อกระตุ้นการผลิตทางเกษตร โดยอนุญาตให้สามารถแปลงพื้นที่ป่าเป็นพื้นที่ทำเกษตรได้ ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะไม่มีการให้สัมปทานป่าก็ตาม ก็อาจเจอปัญหาในเรื่องการใช้ที่ดินป่าเสื่อมโทรมเพื่อการเกษตร ความซับซ้อนของการใช้ที่ดินที่แตกต่างออกไปในแต่ละประเทศนี้เอง เป็นประเด็นที่จะต้องมีการหารือเพิ่มระหว่างสหภาพยุโรป และ ประเทศหุ้นส่วน

ความท้าทายอีกอย่างที่อาจเกิดขึ้น คือ ศักยภาพของผู้ประกอบการในประเทศผู้ผลิตในการพิสูจน์การปลอดจากการทำลายป่า ถึงแม้ปัจจุบันจะมีบริการการรับรองโดยหน่วยงานเอกชน แต่บริการเหล่านี้มีราคาสูง และผู้ประกอบการรายย่อยไม่สามารถเข้าถึงได้ เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการ สหภาพยุโรป และ ประเทศหุ้นส่วนอาจสามารถดูถึงความเป็นไปได้ในการพัฒนาระบบรับรองของชาติที่ผู้ประกอบการทุกขนาดสามารถเข้าถึงได้

ประเทศไทยยังคงเดินหน้าต่อเพื่อบรรลุเป้าการค้าไม้และสินค้าเกษตรที่ยั่งยืนและถูกกฎหมาย อย่างไรก็ตามจะต้องมีข้อมูลมากกว่านี้ก่อนที่จะดำเนินเรื่องการเป็นหุ้นส่วนระหว่างประเทศไทย กับ EU ได้

ที่ประชุมเห็นด้วยว่าการเข้าเป็นหุ้นส่วนในเรื่องป่าไม้กับ EU จะมีประโยชน์ในการเตรียมภาคการส่งออกของประเทศไทยเพื่อรองรับกฎระเบียบ Deforestation-free แต่ก่อนจะเดินหน้าต่อไปได้ ควรมีการประเมินผลกระทบก่อน โดยหน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบควรทำการประเมินผลจากกฎระเบียบที่จะเกิดกับการส่งออกในผลิตภัณฑ์ต่างๆ

กระบวนการ FLEGT VPA ซึ่งถือเป็นความร่วมมือต้นแบบในเรื่องการค้าภาคป่าไม้ระหว่างประเทศไทย และ EU เป็นประสบการณ์ที่ดีเยี่ยมของทั้งสองฝ่าย ความสำเร็จจากกระบวนการอย่างเช่น กระบวนการเข้าร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วน ระบบการควบคุมห่วงโซ่อุปทาน และตรวจสอบย้อนกลับ สามารถเป็นแบบอย่างให้กับความร่วมมือในกลุ่มผลิตภัณฑ์อื่นๆ ต่อไป

 

Comments are closed.

X