FAO-EU FLEGT Programme เข้าพบอธิบดีกรมป่าไม้เพื่อแนะนำและหารือกระบวนการ FLEGT VPA

ในวันที่ 29 ตุลาคม 2563 ทีมงาน FAO-EU FLEGT Programme และองค์กรหุ้นส่วนเข้าพบนายอดิศร นุชอนงค์ อธิบดีกรมป่าไม้ เพื่อแนะนำและสรุปความก้าวหน้ากระบวนการ FLEGT VPA และโครงการภายใต้ FAO-EU FLEGT Programme 

นายอดิศรแสดงความตั้งใจที่จะขับเคลื่อนกระบวนการ FLEGT VPA ต่อไป และแสดงความคาดหวังว่าประเทศไทยจะสามารถเซ็นข้อตกลงการเป็นหุ้นส่วนด้วยความสมัครใจ FLEGT กับอียูได้เร็วที่สุดเท่าที่เป็นได้

Mr. Bruno Cammaert, Forestry Officer, EU-FAO FLEGT Programme และ Ms. Erica Pohnan,  International Consultant, FAO-EU FLEGT Programme แนะนำกระบวนการ FLEGT VPA เน้นย้ำว่า FLEGT VPA เป็นกระบวนการการทำงานร่วมกันระหว่างประเทศไทยและอียูระยะยาวเพื่อพัฒนาธรรมาภิบาลป่าไม้ และเสริมสร้างภาคป่าไม้ที่ถูกกฎหมายและยั่งยืน

องค์กร RECOFTC สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) สมาคมไม้เก่า และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (FTI) ได้รับการสนับสนุนจาก FAO-EU FLEGT Programme เพื่อร่วมกระบวนการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของ FLEGT VPA โครงการที่องค์กรหุ้นส่วนได้เข้าร่วมช่วยพัฒนาการทำและค้าไม้ถูกกฎหมายและยั่งยืน เสริมสร้างการบังคับใช้กฎหมายป่าไม้ ของประเทศไทย และเสริมสร้างศักยภาพ SMEs และ MSMEs ให้สามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบการทำไม้ได้ถูกต้อง และสามารถเข้าร่วมกระบวนการ FLEGT VPA ในระดับชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้แทนจากหน่วยงานดังกล่าวแนะนำโครงการ

  • โครงการ การเสริมสร้างความสามารถเกษตรกรรายย่อยในการเรียนรู้เพื่อผลักดันในเชิงนโยบายของระบบควบคุมห่วงโซ่ไม้และการเข้าสู่ระบบการรับประกันความถูกกฎหมายของไม้ไทยบนที่ดินของรัฐ โดยองค์กร RECOFTC
  • โครงการ แนวทางแก้ปัญหาเชิงเทคโนโลยีสำหรับการประสานระบบที่มีอยู่เพื่อเพิ่มความสามารถในการสืบทวนแหล่งที่มาของไม้ในประเทศไทย โดย AIT เพื่อช่วยพัฒนาระบบ RFD Single Window และพัฒนาระบบเว็บไซท์หรือมือถือสำหรับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อการควบคุมห่วงโซ่อุปทานของไม้ไทยที่มีประสิทธิภาพ
  • โครงการ Promote Legality Verification and Enhanced Practice of New Reforms and Regulations Resulting from the FLEGT Process Among Upstream Operators โดย FTI เพื่อช่วยกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการเข้าร่วมกระบวนการร่าง FLEGT VPA ในปัจจุบันร่างแนวทางการควบคุมห่วงโซ่อุปทานของไม้ในที่ดินเอกชนซึ่งโครงการได้ร่วมทำใกล้สมบูรณ์แล้ว โครงการจะจัดกิจกรรมการประชุมปรึกษาหารือกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียวงกว้าง เพื่อเก็บความเห็น ซึ่งจะช่วยเหลือคณะทำงานจัดทำ FLEGT VPA ในการทบทวนร่างภาคผนวกขอบเขตผลิตภัณฑ์
  • โครงการพัฒนาระบบควบคุมห่วงโซ่อุปทานของผลิตภัณฑ์จากไม้เก่าของประเทศไทย โดยสมาคมไม้เก่า

ตัวแทนจากโครงการ Sustainable Forest Trade in the Lower Mekong Region (SFT-LMR) project ภายใต้ FAO-EU FLEGT Programme ได้นำเสนอกิจกรรมและเป้าหมายของโครงการที่สอดคล้องกับโครงการ FAO-EU FLEGT Programme โดยโครงการ SFT-LMR จะหาขอบเขตการทำงานที่สามารถสนับสนุนและทำงานร่วมกับ FAO-EU FLEGT Programme ได้ต่อไป เพื่อสนับสนุนการค้าผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ที่ถูกกฎหมายและยั่งยืน ส่งเสริมแผนการรับรองระดับชาติ และเสริมสร้างศักยภาพของผู้ประกอบการรายย่อยให้สามารถเข้าถึงการค้าไม้ที่ถูกกฎหมายและยั่งยืน

ทีม FAO-EU FLEGT Programme ร่วมหารือแนวทางการดำเนินกระบวนการ FLEGT VPA ขั้นต่อไปกับกรมป่าไม้ ทั้งสองฝ่ายเน้นย้ำความสำคัญของ FLEGT VPA ในการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันและสถานะของผลิตภัณ์ไม้ไทยในตลาดนานาชาติ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้กรมป่าไม้แสดงความมุ่งมั่นต่อกระบวนการ FLEGT VPA ในปีหน้ากรมป่าไม้ด้วยการสนับสนุนจาก FAO-EU FLEGT Programme จะขับเคลื่อนการทำงานด้านประชาสัมพันธ์เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากทุกภาคส่วน และเพิ่มความตระหนักรู้ของสาธารณะ และดำเนินการเรื่องคงค้างๆต่างๆให้เสร็จ

Comments are closed.

X