ประเทศไทยนำ 10 ประเทศอาเซียน จัดประชุมความคืบหน้าของแผนปฎิบัติการในการบังคับใช้กฎหมายป่าไม้ ธรรมาภิบาลและการค้า (FLEGT) ในกลุ่มสมาชิกอาเซียน

ตัวแทนสหภาพยุโรป สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และกลุ่มประเทศอาเซียนกว่า 10 ประเทศ ประกอบไปด้วย กัมพูชา อินโดนีเชีย ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม ซึ่งรวมถึงคณะผู้แทนจากประเทศจีน เพื่อแสดงความก้าวหน้าในการปราบปรามการทำไม้เถื่อน และการทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการทำไม้เถื่อนภายใต้แผนปฏิบัติการในประเทศของแต่ละประเทศ และแผนรวมของทั้งภูมิภาคอาเซียน ระหว่างวันที่ 3 – 5 กรกฎาคม 2561 ณ โรงแรมคุ้มพญา รีสอร์ท แอนด์ สปา เซ็นทารา บูติก คอลเลชั่น จ.เชียงใหม่

นายประลอง  ดำรงค์ไทย ผู้ตรวจราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวถึงการประชุมในครั้งนี้ว่า จะเน้นไปในด้านความพยายามของประเทศที่จะรับรองความถูกต้องของผลิตภัณฑ์ไม้ในประเทศที่ทำถูกต้องตามกฎหมาย ภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือในภาคสมัครใจกับสหภาพยุโรป ซึ่งอยู่ในแผนปฏิบัติการ ในการบังคับกฎหมายป่าไม้ ธรรมาภิบาลและการค้าของสหภาพยุโรป โดยมีตัวแทนจากภาคอุตสาหกรรมและภาคสังคมอื่นๆ ร่วมรายงานความคืบหน้าในแผนปฏิบัติการดังกล่าว รวมถึงแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ในแต่ละประเทศ

สำหรับประเทศไทยนั้น กระบวนการ ข้อตกลงความร่วมมือภายใต้ความสมัครใจกับสหภาพยุโรป เริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ  2556  และเมื่อเดือนที่แล้วได้มีการจัดการประชุมคณะผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคระหว่างประเทศไทย และกลุ่มสหภาพยุโรป และในเดือนนี้เป็นการจัดประชุมในระดับผู้เชี่ยวชาญร่วม ซึ่งประเทศอินโดนีเซียถือเป็นประเทศแรกในโลกที่ได้รับใบอนุญาตรับรองการทำไม้ที่ถูกต้อง ภายใต้เงื่อนไขของ FLEGT ส่วนประเทศอื่นๆ อีก 5 ประเทศในอาเซียน รวมทั้งประเทศไทย อยู่ในกระบวนการเจรจาเพื่อขอใบอนุญาตดังกล่าว

นอกจากนั้นจะอัพเดทความคืบหน้าในแผนปฏิบัติการ รวมถึงนโยบายอื่นๆ ของสหภาพยุโรป และแผนงานของกลุ่มประเทศอาเซียนในการบังคับใช้กฎหมาย และธรรมาภิบาลระหว่างปี 2559-2568 ซึ่งการประชุมรัฐมนตรีระดับอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ได้รับแผนดังกล่าวเมื่อปี พ.ศ 2559 รวมถึงแผนงานเริ่มต้นต่างๆ เช่น หลักการปฏิบัติโดยสมัครใจว่าด้วยการป่าไม้และการทำไม้ของบริษัทเอกชนในภูมิภาคอาเซียน เนื่องจากประเทศสมาชิกอาเซียนได้ให้คำมั่นสัญญา ในการต่อต้านการทำไม้และการค้าไม้ที่ผิดกฎหมาย รวมถึงการปรับปรุงการบังคับใช้กฎหมาย และธรรมาภิบาลที่ดี ซึ่งเรื่องหนึ่งที่จะต้องให้ความสำคัญอย่างมากคือ การนำเข้าไม้ทั้งในภูมิภาค และนอกภูมิภาค นายประลองกล่าว

“คำพูดของตัวแทนอียูประจำประเทศไทย” -ขอให้ทางกรมป่าไม้ใส่ชื่อตัวแทน” นาย….กล่าว “–“ประเทศสหภาพยุโรป ทำงานร่วมกับประเทศเศรษฐกิจทั้งประเทศในภูมิภาคอาเซียน เพื่อส่งเสริมการบังคับใช้กฎหมายป่าไม้ ธรรมาภิบาลและการค้า (FLEGT) เรายินดีกับบทบาทอาเซียนที่สำคัญในการส่งเสริมความร่วมมือกันในภูมิภาคที่ต่อต้านการทำไมเถื่อน หรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการทำไม้เถื่อน รวมทั้งการจัดทำแผน 10 ปี ที่จะมุ่งไปสู่ความก้าวหน้าในระดับโลกเพื่อจัดการกับปัญหาดังกล่าว เราขอแสดงความชื่นต่ออาเซียน ในการรับแผนฉบับใหม่ในการบังคับใช้กฎหมายปาไม้ และธรรมาภิบาล”

ประเด็นต่างๆที่จะพิจารณา ประกอบไปด้วย ความท้าทายของบริษัททำไม้ขนาดเล็กในลุ่มน้ำโขง การมีส่วนร่วมของภาคสังคมและภาคเอกชนในการจัดทำระบบเพื่อยืนยันความถูกต้องของการทำไม้ และความช่วยเหลือของสหภาพยุโรปในการดำเนินการของ FLEGT ในภูมิภาคอาเซียน

สมาชิกอาเซียนได้ให้การรับรองที่จะพัฒนาการทำไม้ที่ถูกต้องตามกฎหมาย และคณะทำงานด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากไม้ของอาเซียนเองก็มีหน้าที่โดยตรงในการดำเนินงานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในเรื่องดังกล่าว นอกจากนี้ยังมีกรอบการทำงานภายใต้ข้อตกลงต่างๆในเรื่องการปราบปรามการทำไม้ที่ผิดกฎหมาย หรือการค้าไม้ที่ไม่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็น ตัวชี้วัดและประเภทการทำไม้ที่ถูกกฎหมายในอาเซียน แนวทางปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามการออกใบรับรองไม้ และแนวทางสำหรับห่วงโซ่การคุ้มครองพยานหลักฐานในการทำไม้ที่ถูกต้องและยั่งยืน

นอกจากนี้ FLEGT ยังให้การสนับสนุนเพื่อที่จะลดผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ คุ้มครองสิทธ์และเพิ่มความโปร่งใส และในแผนปฏิบัติการดังกล่าว ยังกล่าวรวมถึงมาตรการด้านอุปสงค์ทางการตลาด เช่น กฎระเบียบการทำไม้ในสหภาพยุโรป ซึ่งห้ามผู้ผลิตในประเทศยุโรปสั่งซื้อไม้ที่ผิดกฎหมายมาจำหน่ายในประเทศยุโรป และรวมทั้ง ข้อตกลงความร่วมมือภายใต้ความสมัครใจกับประเทศนอกสหภาพยุโรป ที่แสดงเจตจำนงในการพัฒนาระบบที่เอื้อต่อการทำไม้ที่ถูกต้องตามกฎหมายและการส่งออก โดยผลิตภัณฑ์ไม้ที่จะส่งออกไปยังตลาดยุโรปจะต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีใบอนุญาตจาก FLEGT เท่านั้น

ด้านนายอรรถพล เจริญชันษา รองอธิบดีกรมป่าไม้ กล่าวว่า กรมป่าไม้มีนโยบายส่งเสริมให้เกษตรไทยปลูกไม้เศรษฐกิจจึงเป็นเรื่องยากและท้าทาย หากทำได้จะเป็นอีกหนทางช่วยขจัดความยากจนของประชาชนระดับรากหญ้าสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีของรัฐบาล ขณะนี้กรมป่าไม้ได้ปฏิรูปแนวทางการปลูกไม้เศรษฐกิจผ่านกลไกระบบ E-Tree (อี-ทรี) หรือแอพพลิเคชัน สามารถดาวน์โหลดและใช้งานได้ทุกระบบบนโทรศัพท์มือถือ ทั้งระบบแอนดรอยส์ ไอโอเอสและเว็บไซต์ ประเด็นสำคัญ คือ อี-ทรี จะช่วยคำนวณการเจริญเติบโตของต้นไม้ โดยเฉพาะปริมาตรเนื้อไม้ที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี เพียงแค่ประชาชนที่สนใจปลูกไม้เศรษฐกิจมาลงทะเบียนใช้งาน แสดงตัวตน ปักหมุดขอบเขต แปลงปลูกและปักหมุดตำแหน่งต้นไม้ผ่านแอพฯ​ จากนั้น จะมีระบบแจ้งเตือนให้ประชาชนช่วยกรอกถึงการเติบโตของต้นไม้เป็นประจำทุกปี อาทิ ความสูง เส้นรอบวง เป็นต้น

 

Comments are closed.

X