การประชุมคณะทำงานกลุ่มย่อย วันที่ 5 มีนาคม 2561

วันที่ 5 มีนาคม 2561 สำนักงานเลขานุการไทย-อียู เฟล็กที จัดประชุมคณะทำงานกลุ่มย่อยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาข้อตกลงร่วมกันในประเด็นไม้นอกมาตรา 7 และประเด็นการสืบทานเอกสารโดยระบบ Due Diligence (DDS) ซึ่งในประเด็นดังกล่าวจะนำเข้าหารือใน JEM3 เป็นลำดับต่อไป สำหรับรายละเอียดในประเด็นต่างๆที่สำคัญ มีดังต่อไปนี้

เรื่องไม้นอกมาตรา 7

มีการให้นิยามของ “ไม้นอกมาตรา 7 บนที่ดินเอกชน” ว่าคือไม้บนที่ดินที่บุคคลมีกรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครองบนพื้นที่เอกชน โดยไม่เกี่ยวข้องกับไม้ในพื้นที่ป่า สำหรับนิยามของคำว่า “ที่ดินในราชอาณาจักรไทย” หมายถึงที่ดินทั้งหมด รวมทั้งที่ดินเอกชนด้วย นอกจากนั้น ในที่ประชุมยังได้มีการเสนอให้ใช้คำว่า “ไม้นอกมาตรา 7” แทนคำที่ใช้อยู่เดิม และเสนอให้เปลี่ยนหัวข้อเป็น“แนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับไม้นอกมาตรา 7 บนที่ดินเอกชน

นอกจากนั้น ยังได้มีการเสนอให้ใช้คำที่ง่ายต่อการทำความเข้าใจสำหรับบุคคลอื่นที่ไม่ใช่บุคคลในกรมป่าไม้ เช่น

  • ไม้หวงห้ามตามพรบ.ป่าไม้
  • ไม้ที่มิใช่ไม้หวงห้ามตามพ.ร.บ.ป่าไม้
  • ไม้หวงห้ามตามมาตรา 7 (Restricted Timber M.7)
  • ไม้นอกมาตรา 7 (Non-Restricted Timber M.7)

สำหรับแผนผังแสดงแนวทางในการดำเนินการเกี่ยวกับไม้นอกมาตรา 7 บนที่ดินเอกชน มีการเพิ่มเติมรายละเอียดบางส่วน อาทิ การเพิ่มส่วน Agents ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้นว่า คนกลาง (Trader/ Supplier Stock and without stock), คนกลางของโรงงานโดยตรง, เกษตรกรส่งเข้าโรงงานโดยตรง นอกจากนั้นยังมีการแก้ไขในส่วนคำอธิบายแผนผังเพิ่มเติมอีกด้วย

ในประเด็นการตรวจสอบโดยกรมป่าไม้ มีการปรับแก้ให้การตรวจสอบสอดคล้องกับเอกสาร เช่น รายละเอียดเกี่ยวกับหลักฐานการได้มาของไม้ อาทิ ใบเบิกทาง ส.ป. 15 หนังสือกำกับไม้แปรรูป หนังสือกำกับไม้ยางพารา ฯลฯ ส่วนรายละเอียดอื่นๆ สามารถตัดทิ้งได้

เรื่องแนวทางการควบคุมไม้นำเข้า

ที่ประชุมมีมติให้ทำการทดสอบภาคสนามตามแนวทางของเอกสารโดยใช้ระบบ DDS ในการควบคุมไม้ทั้งหมดที่เข้าประเทศ (Mandatory) โดยหน่วยงานที่เป็นผู้ดูแลและตรวจสอบเอกสาร DDS ได้แก่ กรมศุลกากรและกรมป่าไม้ นอกจากนั้น ยังมีการเสนอให้กระทรวงพาณิชย์พิจารณาออกประกาศให้เอกชนผู้นำเข้าไม้เป็นผู้ทำ DDS

สำหรับสินค้าที่อยู่ในความควบคุมคือสินค้าตาม Product Scope ใน VPA ซึ่งการขนส่งสินค้าในทุกๆ shipment ต้องผ่านการดำเนินการตาม DDS

อย่างไรก็ตาม มีการเสนอให้เขียนรายงาน สำหรับผู้ประกอบการรายใหญ่ก่อน เพื่อนำไปทำการทดสอบภาคสนามต่อไป ซึ่งการทดสอบภาคสนามจะทำให้ฝ่ายไทยมีข้อมูลเพิ่มมากขึ้นในการพิจารณา ซึ่งในการเจรจากับทางสหภาพยุโรป จะมีการพัฒนาเอกสาร DDS เพื่อหารือใน JEM 3 โดยจะนำรายละเอียดตามเอกสารดังกล่าวมาทำการทดสอบภาคสนามเพื่อจะได้เห็นข้อดีและข้อด้อยในการดำเนินการ รวมทั้ง ข้อมูลความเป็นไปได้ในการดำเนินการในภาพรวม และภาคผู้ประกอบการรอยย่อยอีกด้วย

Comments are closed.

X