วันที่ 29-30 มิถุนายน สำนักงานเลขานุการไทย – อียู เฟล็กที ได้จัดการเจรจาจัดทำข้อตกลงเป็นหุ้นส่วนด้วยความสมัครใจ ในการบังคับใช้กฎหมายป่าไม้ ธรรมภิบาล และการค้า ระหว่างประเทศไทยกับสหภาพยุโรป ครั้งที่ 1/2560 ณ ห้องลาดพร้าว 2-4 โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ เซ็นทรัลลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร
โดยมีนายวิจารย์ สิมาฉายา ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้นำฝ่ายไทย พร้อมด้วยนายชลธิศ สุรัสวดี อธิบดีกรมป่าไม้ นายประลอง ดำรงค์ไทย ผู้ตรวจราชกากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายบรรจง วงษ์ศรีสุนทร ผู้อำนวยการสำนักงานเลขานุการไทย – อียู เฟล็กที และผู้แทนจากกระทรวงอื่นๆ และมี Mr. Jorge RODRIGUEZ ROMERO ผู้รักษาการหัวหน้าคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป เป็นผู้นำฝ่ายสหภาพยุโรป โดยการเจรจาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเจรจาเชิงเทคนิคเกี่ยวกับประเด็นเนื้อหาที่อยู่ภายใต้ข้อตกลงเป็นหุ้นส่วนด้วยความสมัครใจในการใช้กฎหมายป่าไม้ ธรรมภิบาล และการค้า ระหว่างประเทศไทยกับสหภาพยุโรป
โดยหัวข้อสำคัญของการประชุมครั้งนี้ ประกอบไปด้วย การพัฒนากฎหมาย การหารือการดำเนินการเรื่อง FLEGT คำนิยามความถูกต้องตามกฎหมาย การกำหนดขอบเขตผลิตภัณฑ์ กลไกการตรวจพิสูจน์ไม้ การยืนยันการนำเข้าไม้ การพัฒนาระบบรับประกันความถูกกฎหมายของไม้ และแผนงานที่จะต้องดำเนินการก่อนการเจรจาฯ ครั้งต่อไป
ในการพัฒนากฎหมาย ทั้งสองฝ่ายให้ความสำคัญกับการกำหนดแนวทางการแก้ไขประเด็นปัญหาช่องว่างอย่างชัดเจนและเป็นระบบ รวมไปถึงปัญหาทางเทคนิคต่างๆภายใต้การควบคุมของกรมป่าไม้ และจะมีการหารือที่จะจัดตั้งคณะกรรมการด้านนโยบายป่าไม้แห่งชาติเพื่อทำหน้าที่ประสานงานในการดำเนินการแก้ปัญหาในประเด็นนี้ต่อไป
ทางฝ่ายสหภาพยุโรปนั้นให้ความสนใจในเรื่องความเข้าใจในข้อกำหนดทางกฎหมาย สำหรับการหารือภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญที่ได้บัญญัติขึ้นมาใหม่และกฎหมายพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง และสนใจที่จะเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบ RFD 4.0 และระบบ National Single Window (NSW) ซึ่งเป็นระบบที่ใช้ตรวจสอบทรัพยากรป่าไม้และการนำเคลื่อนที่ไม้ทั้งหมดแบบออนไลน์ของประเทศไทยอีกด้วย
ในส่วนของกระบวนการสำคัญที่ได้มีการดำเนินการในระดับเทคนิค คือประเด็นโครงการการทดสอบภาคสนามในนิยามความถูกต้องตามกฎหมายอย่างละเอียด ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวจะเริ่มดำเนินการในปลายเดือนกรกฎาคมที่จะถึงนี้ ซึ่งจะดำเนินการผ่านการดำเนินงานของที่ปรึกษาชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยได้รับการสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิตคของสถาบันป่าไม้ยุโรป (EFI) ในการทดสอบประสิทธิภาพในเชิงปฎิบัติของตัวชี้วัดและตัวตรวจพิสูจน์ที่ระบุไว้ภายใต้นิยามความถูกต้องตามกฎหมาย
ในขั้นตอนการหารือกันในเรื่องของขอบเขตผลิตภัณฑ์ จากข้อตกลงที่จะรวมเฟอร์นิเจอร์ไว้ในขอบเขตผลิตภัณฑ์นั้น จะมีการหารือในการประชุมครั้งถัดไป ซึ่งในการพัฒนานิยามความถูกต้องตามกฎหมายและระบบ TLAS นั้นได้รวมเฟอร์นิเจอร์ไว้อยู่แล้ว ซึ่งทางฝ่ายสหภาพยุโรปจะแบ่งปันข้อมูลการนำเข้าส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ตามที่ระบุไว้ในข้อบังคับไม้ EUTR ให้ฝ่ายไทยทราบ และฝ่ายไทยจะแบ่งปันข้อมูลการส่งออกตามที่ระบุไว้ขอบเขตผลิตภัณฑ์ให้ทางสหภาพยุโรในภายหลังต่อไป
ในหัวข้อกลไกการตรวจพิสูจน์ ทางภาคประชาสังคมและภาคเอกชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงตัวตนและออกแบบกลไกตรวจพิสูจน์ รวมถึงไม้ไม่ควบคุม ด้วยการออกแบบระบบที่ได้สัดส่วนและมีความมีสมดุล ในขณะเดียวกันก็ยังคงมีการเลี่ยงการไม่ถูกควบคุมจากภาครัฐ
และสุดท้าย ทั้งสองฝ่ายได้รับรองแผนการดำเนินงานซึ่งแก้ไขในการประชุมผู้เชี่ยวชาญร่วม ดังต่อไปนี้
– การประชุมทางไกลประจำปี 2560 (VDO Conference) จะจัดขึ้นในเดือนตุลาคม
– การประชุมผู้เชี่ยวชาญร่วมครั้งที่ 3 จะมีการจัดขึ้นในเดือนธันวาคม
– การประชุมกางไกลประจำปี 2561 (VDO Conference) จะจัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์
– การประชุมผู้เชี่ยวชาญร่วมครั้งที่ 4 และการเจรจาครั้งที่ 2 จะจัดขึ้นในเดือนมีนาคม 2561