การประชุมย่อยเพื่อหารือเกี่ยวกับระบบรับประกันความถูกต้องตามกฎหมายของไม้ (TLAS)

วันที่ 18 ตุลาคม 2560 – Mr. James Sandom และนางสาวภาวิณี อุดมใหม่ ได้เข้าพบเจ้าหน้าที่จากกรมป่าไม้ ผู้เชี่ยวชาญจาก EFI และเจ้าหน้าที่จาก TEFSO เพื่อหารือเกี่ยวกับระบบรับประกันความถูกต้องตามกฎหมายของไม้ของประเทศไทย

จากการประชุมได้ข้อสรุปจากประเด็นสำคัญ ดังต่อไปนี้
1. แนวทางการดำเนินงาน TLAS ในประเทศไทย
สืบเนื่องจากการประชุม TC เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2560 Mr. Alexander Hinrichs ได้สรุปแนวทางการรับรองไม้จากการประชุม โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนเกษตร ส่วนคนกลาง และส่วนอุตสาหกรรม/โรงเลื่อย
– ส่วนเกษตรกรมี 3 แนวทางที่เด่นชัด ได้แก่ การสำแดงตนเองของธนาคารต้นไม้ การรับรองโดยบุคคลที่สามโดยสหกรณ์สวนป่า และเทคโนโลยี ASSO ของสมาคมธุรกิจไม้ยางพาราไทย
– ส่วนของคนกลางมี 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่มีความเป็นเจ้าของไม้นั้น จะมีเอกสารแสดงความเป็นเจ้าของ และกลุ่มที่ไม่มีความเป็นเข้าของ ซึ่งมีบทบาทเป็นนายหน้าแนะนำเกษตรกรกับโรงเลื่อยเท่านั้น ในกลุ่มนี้จะไม่มีเอกสารแสดงความถูกต้องของไม้ และยังไม่มีกฎหมายควบคุม
– ส่วนอุตสาหกรรม/โรงเลื่อย จะถูกควบคุมด้วยกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันอยู่แล้ว

ทั้งนี้ ระบบการรับรองนั้นอาจจะมีมากกว่า 1 ระบบก็ได้ ขึ้นอยู่กับความหลากหลายของผู้ประกอบการ แหล่งที่มา ฯลฯ

2. Mr. Thomas de Francqueville ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบรับประกันความถูกต้อง จาก EFI อธิบายตัวอย่าง FLEGT VPA ของไลบีเรีย มาเลเซีย อินโดนีเซีย

3. คำอธิบาย TLAS
ระบบ TLAS มีองค์ประกอบทั้งหมด 5 ส่วน ได้แก่ LD, CoC, Verification, Independent Audit, และ License Scheme ทั้งนี้ อาจมีองค์ประกอบอื่นๆ เพิ่มเข้ามา เช่น การจัดการกับการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด บทบาทของภาคประชาสังคมใน TLAS เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมและธรรมาภิบาลในการออกใบอนุญาต FELGT

ระบบ TLAS จะมีเพียงระบบเดียวหรือหลายระบบนั้น ให้คำนึงถึงความหลากหลายของขนาดผู้ประกอบการ ความเสี่ยง และข้อกำหนดขั้นต่ำ และระบบ TLAS ที่ดี ควรทำหน้าที่เป็นระบบที่ป้องกันไม้ที่ผิดกฎหมายหรือที่ไม่ทำตามข้อกำหนดกลับเข้ามาในระบบ

 

        

[TH] TLAS Thailand EFI
[TH] TLAS Thailand EFI
TH-TLAS_Thailand_EFI-.pdf
380.6 KiB
366 Downloads
รายละเอียด

Comments are closed.

X