(TH) TEFSO E-NEWSLETTER NO.9 (SEP-OCT’17)

 หลังจากการประชุมเจรจาฯ ระหว่างประเทศไทยกับสหภาพยุโรป ครั้งที่ 1 เมื่อเดือนมิถุนายน 2560 ที่ผ่านมา ทำให้เกิดกรอบแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจนและได้รับความเห็นชอบจากทั้งสองฝ่าย ซึ่งเอกสารดังกล่าวมีชื่อว่า “VPA Roadmap” โดยมุ่งเน้นแผนการดำเนินงานหลังจากการเจรจาฯ ครั้งแรก จวบจนถึงการเจรจาฯ ที่จะมีขึ้นครั้งต่อไป ใน VPA Roadmap มีอะไรบ้าง



ฉบับที่ 9 ประจำเดือน กันยายน – ตุลาคม พ.ศ.2560


                จดหมายข่าว TEFSO


สำนักงานเลขานุการไทย – อียู เฟล็กที

The FLEGT
VPA Roadmap บอกอะไรเราได้บ้าง

หลังจากการประชุมเจรจาฯ ระหว่างประเทศไทยกับสหภาพยุโรป ครั้งที่ 1 เมื่อเดือนมิถุนายน 2560 ที่ผ่านมา ทำให้เกิดกรอบแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจนและได้รับความเห็นชอบจากทั้งสองฝ่าย ซึ่งเอกสารดังกล่าวมีชื่อว่า “VPA Roadmap” โดยมุ่งเน้นแผนการดำเนินงานหลังจากการเจรจาฯ ครั้งแรก จวบจนถึงการเจรจาฯ ที่จะมีขึ้นครั้งต่อไป ใน VPA Roadmap มีอะไรบ้าง

วัน/เดือน/ปี แผนปฏิบัติงาน/องค์ประกอบ
17 ก.ค. 60 ฝ่ายไทยแลกเปลี่ยนข้อมูลนำเข้า/ส่งออกไม้ไปยังอียูและภาคผนวกขอบเขตผลิตภัณฑ์ (ฉบับแก้ไข)
19 ก.ค. 60 การประชุมคณะทำงานจัดทำข้อตกลงเป็นหุ้นส่วนด้วยความสมัครใจระหว่างประเทศไทยกับสหภาพยุโรป(Thai-EU FLEGT VPA)
เรื่อง การเตรียมความพร้อมการทดสอบภาคสนาม LD
24 ก.ค. 60 เริ่มการทดสอบภาคสนาม LD (จนถึงวันที่ 22 ก.ย. 60)
5 ส.ค. 60 อียูส่งตัวอย่างเนื้อหา VPA ให้ฝ่ายไทย
14 ก.ย. 60 การประชุมทางเทคนิคระหว่างคณะทำงานจัดทำข้อตกลงเป็นหุ้นส่วนด้วยความสมัครใจระหว่างประเทศไทยกับสหภาพยุโรป (Thai-EU FLEGT VPA)กับสถาบันป่าไม้ยุโรปเรื่องประเด็นปัญหาไม้ไม่ควบบคุมบนที่ดินเอกชนและการตรวจพิสูจน์ การนำเข้าไม้
11 ก.ย. 60 เริ่มภารกิจของ EFI ในการติดตามการทดสอบภาคสนาม LD ช่วงท้าย  เพื่อพัฒนา LD ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น รวมไปถึงกลไกการตรวจพิสูจน์
17 ต.ค. 60 การประชุมคณะทำงานจัดทำข้อตกลงเป็นหุ้นส่วนด้วยความสมัครใจระหว่างประเทศไทยกับสหภาพยุโรป (Thai-EU FLEGT VPA) เรื่องการสรุปผลการทดสอบภาคสนาม LD และการดำเนินการขั้นต่อไป (ร่วมกับ EFI) และการให้ความเห็นกลับไปยังที่ปรึกษา LD Field test
ปลายเดือน พ.ย. 60 ส่งร่างรายงานการทดสอบภาคสนาม LD ให้อียู
เลื่อน การประชุมทางไกล (JEM) เรื่องผลการทดสอบภาคสนาม LD และการเสนอการดำเนินการขั้นต่อไปโดยฝ่ายไทย และประเด็นอื่นๆ ที่เกียวข้อง
เดือน พ.ย. 60 ฝ่ายไทยพัฒนาร่างภาคผนวก TLAS และการควบคุมการนำเคลื่อนที่ไม้ และส่งให้อียูเพื่อเตรียมการประชุม JEM3
เดือน ม.ค. 61 EFI เริ่มภารกิจด้านเทคนิคเพื่อออกแบบ TLAS และการทำงานร่วมกันในประเด็นอื่นๆที่ระบุใน JEM 3
เดือน ม.ค. 61 ฝ่ายไทยส่งร่าง LD ที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไข ฉบับสมบูรณ์ ให้อียู
เดือน ก.พ. 61 การประชุมผู้เชี่ยวชาญร่วม ครั้งที่ 3 (JEM3) ณ กรุงเทพมหานครมุ่งเน้นเรื่อง LD  ขอบเขตผลิตภัณฑ์ (รวมเฟอร์นิเจอร์) และ TLAS (รวมทั้งกลไกการตรวจพิสูจน์ การควบคุมการนำเคลื่อนที่ของไม้)
ม.ค./ก.พ. 61 ร่างภาคผนวก TLAS สามารถเข้าถึงได้ และเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งระบุใน JEM 3 ได้ส่งให้อียู
14 .. 61 การประชุมทางไกลระดับเทคนิคเพื่อหารือประเด็นข้อเสนอแนะจากอียู และเพื่อเตรียม JEM4 และการเจรจาครั้งที่ 2
20-23 มี.. 61 การประชุมผู้เชี่ยวชาญร่วมครั้งที่ 4 และการเจรจาครั้งที่ 2 มุ่งเน้นในประเด็นเรื่อง LD  ขอบเขตผลิตภัณฑ์ ภาคผนวกอื่นๆ และเนื้อหา VPA

ที่ผ่านมา TEFSO ได้ดำเนินการจัดการประชุมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้แน่ใจว่าการดำเนินงานจะเป็นไปตามแผนที่ได้วางไว้ซึ่งจะเห็นว่าการหารือกับทางอียูจะมีมากขึ้นและการดำเนินงานต่อจากนี้จะเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น

ส่องเฟล็กที
กาน่าเยือนอินโดนีเซียเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับการออกใบอนุญาต FLEGT
กานากำลังเข้าสู่การดำเนินการอย่างเต็มรูปแบบในการจัดทำข้อตกลงการเป็นหุ้นส่วนด้วยความสมัครใจ (VPA) กับสหภาพยุโรปในเรื่องการทำไม้ผิดกฎหมาย โดยในระหว่างวันที่ 6 – 11 สิงหาคม ผู้แทนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภาคป่าไม้ได้เยือนอินโดนีเซียเพื่อเรียนรู้ประสบการณ์และแนวทางเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายในการดำเนินการดังกล่าวในการประชุมกับผู้แทนภาคประชาสังคม ได้มีการพูดคุยถึงประสบการณ์ของอินโดนีเซียเกี่ยวกับการตรวจสอบอิสระ ผู้แทนได้อธิบายถึงความสำคัญในการจัดหางบประมาณที่มีความเสถียรภาพให้แก่ภาคประชาสังคมเพื่อสามารถนำมาใช้ในการบริหารจัดการต่อบทบาทหน้าที่ของผู้ตรวจสอบอิสระในระยะยาว ซึ่งทางการอินโดนีเซียได้ตั้งงบประมาณเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานและเติมเต็มสำหรับบทบาทดังกล่าวด้วย นอกจากนี้คณะผู้แทนกาน่าได้เยี่ยมชมโรงงานผลิตประตู โดยได้เรียนรู้เกี่ยวกับระบบห่วงโซ่อุปทานในการผลิตของโรงงานดังกล่าวซึ่งได้นำระบบบาร์โค๊ด มาใช้ในการติดตามตรวจสอบไม้ในแต่ละชิ้น นอกจากนี้ยังได้เห็นการสาธิตการยื่นขอใบอนุญาตเฟล็กทีและขั้นตอนการออกใบอนุญาต ซึ่งดำเนินงานโดยเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจกาน่าและอินโดนีเซียเห็นด้วยให้สหภาพยุโรปเร่งดำเนินการประชาสัมพันธ์สินค้าที่อยู่ภายใต้แผนปฏิบัติการ FLEGT ในตลาดสหภาพยุโรปให้มากยิ่งขึ้น โดยการเพิ่มความตระหนักในการบริโภคและเพิ่มนโยบายการจัดซื้อสาธารณะในกลุ่มประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปต่อผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการับใบอนุญาต FLEGT นอกจากนี้ ทั้งสองประเทศยังได้หารือถึงเป้าหมายในการดำเนินงานร่วมกันเพื่อที่จะประชาสัมพันธ์ไม้ที่ได้รับใบอนุญาตเฟล็กทีในเวทีตลาดการค้าสากลหลังจากที่กาน่าเริ่มออกใบอนุญาตซึ่งจะดำเนินการภายใต้ความร่วมมือของกระทรวงที่ดินและทรัพยากร องค์การนอกภาครัฐ ภาคประชาสังคมของประเทศกาน่า และกระทรวงสิ่งแวดล้อมและป่าไม้ของประเทศอินโดนีเซีย

ที่มา :http://www.flegt.org/news/content/viewItem/ghana-visits-indonesia-to-learn-flegt-licensing-lessons/02-10-2017/140

ห้องรับรองกรมป่าไม้หารือทางเทคนิคกับ EFI

วันที่ 18-19 ตุลาคม 2560 เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้พร้อมด้วย Mr.James Sandom และนางสาวภาวิณี อุดมใหม่ ที่ปรึกษาในการทดสอบภาคสนามของนิยามความถูกต้องตามกฎหมาย Mr. Alexander Hinrichs, Mr. Thomas de Francqueville และ ดร.สมฤดี นิโครวัฒนยิ่ง จากสถาบันป่าไม้ยุโรป (EFI) ทำงานร่วมกันกับเจ้าหน้าที่ TEFSO โดยในครั้งนี้เจ้าหน้าที่จาก EFI ได้อธิบายและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการควบคุมการนำเคลื่อนที่ไม้ไม่หวงห้าม และหารือเพื่อระบุถึงขั้นตอนต่อไปในการพัฒนา TLAS สำหรับข้อมูลที่ได้จากการประชุมครั้งนี้จะนำไปหารือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อพัฒนากระบวนการจัดทำข้อตกลงเป็นหุ้นส่วนด้วยความสมัครใจในประเทศไทยต่อไป

สาระ FLEGT 
การควบคุมการนำเคลื่อนที่ไม้
-ระบบการควบคุมการนำเคลื่อนที่ไม้ช่วยให้มั่นใจถึงความสมบูรณ์ของการไหลเวียนของผลิตภัณฑ์ไม้จากป่าหรือจุดนำเข้าจนถึงจุดจำหน่ายหรือส่งออก โดยใช้วิธีตรวจสอบย้อนกลับหรือวิธีการติดตาม ซึ่งการจัดการข้อมูลและการตรวจสอบข้อมูลนับว่าเป็นสิ่งสำคัญในระบบดังกล่าว
-ป้องกันไม่ให้ผลิตภัณฑ์ไม้ที่ไม่ได้รับอนุญาต(ซึ่งอาจจะผิดกฎหมาย) เข้าสู่ห่วงโซ่อุปทาน
-โดยจะต้องพิจารณาถึง: ความซับซ้อน        การจัดการข้อมูลการควบคุมการขนส่งไม้ การยึดไม้ การควบคุมที่เหมาะสมสำหรับผู้ถือครองรายย่อย/ผู้ประกอบการรายย่อย

มุมภาคี…

1.ศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า (รีคอฟ) เเละองค์การบริหารส่วนตำบลเเม่ทา จังหวัดเชียงใหม่ร่วมจัดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาระบบการจัดการไม้ที่ถูกต้องตามกฏหมาย
วันที่ 27 กันยายน 2560 ศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า (รีคอฟ) เเละองค์การบริหารส่วนตำบลเเม่ทา จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมจัด ”เวทีประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาระบบการจัดการไม้ที่ถูกต้องตามกฏหมายในพื้นที่โครงการนำร่องการทำไม้ที่ถูกต้องตามกฏหมายของเกษตรรายย่อยสถาบันพัฒนาทรัพยากรและเกษตรกรรมยั่งยืนแม่ทา” ที่โรงแรมธารินทร์ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อยกระดับแนวทางการทำไม้ของพื้นที่และเป็นข้อเสนอในการจัดการไม้ของประเทศไทยในพื้นที่ที่รัฐให้สิทธิในการจัดการพื้นที่ในรูปแบบนี้ในอนาคต โดยมีตัวเเทนจากส่วนต่างๆ เช่น กรมป่าไม้ สำนักงานเลขานุการไทยอียู-เฟล็กที คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน มาตราฐานรับรอง FSC เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อให้ข้อเสนอเเนะกลไกการทำไม้เเก่ชาวชุมชนเเม่ในการจัดการไม้ที่สามารถนำไปปรับใช้ในอนาคต
2.ศูนย์วนศาสตร์ชุมชนกับป่าจัด “โครงการการประชุมหารือเรื่องสิทธิที่ดินป่าไม้กับระบบรับประกันความถูกต้องตามกฎหมายของไม้”
วันที่ 3 ตุลาคม 2560 ศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า (รีคอฟ) จัด “โครงการการประชุมหารือเรื่องสิทธิที่ดินป่าไม้กับระบบรับประกันความถูกต้องตามกฎหมายของไม้” ขึ้นในวันที่ 3 ตุลาคม 2560 ณ ศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า โดยมีการนำเสนองานวิจัย 2 ชิ้น ได้เเก่ 1.โครงการศึกษาสิทธิและสถานะการถือครองที่ดินป่าไม้ของเกษตรกรรายย่อยในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 2.โครงการจัดทำกรณีศึกษาเพื่อสะท้อนการเข้าถึงและข้อจำกัดการทำไม้อย่างถูกต้องเพื่อทำความเข้าใจร่วมกันในความเชื่อมโยงระหว่างสิทธิการถือครองที่ดินป่าไม้กับระบบรับประกันความถูกต้องของไม้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องวิเคราะห์ความเสี่ยงเเละผลกระทบสถานการณ์การถือครองที่ดินป่าไม้ต่อการทำระบบรับประกันความถูกต้องของไม้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีตัวเเทนจากกรมป่าไม้ ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม เกษตรกร เเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว โดยผลจากการหารือในครั้งนี้จะถูกนำเสนอเพื่อปรับปรุงคำนิยามความถูกต้องตามกฎหมายเเละระบบรับประกันความถูกต้องตามกฎหมายของไม้ในเวทีประชุมของของคณะทำงานทางเทคนิคในการจัดเตรียมข้อตกลงเฟล็กที-วีพีเอ ในลำดับต่อไป
3.ศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า (รีคอฟ) ร่วมกับเครือข่ายป่าครอบครัวเมืองลีง จังหวัดสุรินทร์ได้จัดเวทีถอดบทเรียนสถานการณ์การทำไม้และจัดทำข้อเสนอกระบวนการทำไม้ระดับพื้นที่ ในโครงการพัฒนาพื้นที่นำร่องเพื่อการทำไม้ที่ถูกต้องตามกฎหมายของเกษตรกรรายย่อย

วันที่ 12 ตุลาคม 2560 ศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า (รีคอฟ) ร่วมกับเครือข่ายป่าครอบครัวเมืองลีง จังหวัดสุรินทร์ ได้จัดเวที “ถอดบทเรียนสถานการณ์การทำไม้และจัดทำข้อเสนอกระบวนการทำไม้ระดับพื้นที่ ในโครงการพัฒนาพื้นที่นำร่องเพื่อการทำไม้ที่ถูกต้องตามกฎหมายของเกษตรกรรายย่อยในที่ดินกรรมสิทธิ์” โดยเสนอกระบวนการทำไม้ที่ถูกต้องตามกฎหมาย ณ ศูนย์เรียนรู้ วิสาหกิจชุมชนป่าครอบครัวเมืองลีง ตำบลจอมพระจังหวัดสุรินทร์ เพื่อสร้างความเข้าใจการทําไม้ตาม พ.ร.บ.สวนป่า และการส่งเสริมเรื่องระบบการทำไม้ให้เป็นเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มรายได้ในครัวเรือน ซึ่งข้อเสนอที่ได้จากเวทีนี้จะนําเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เพื่อรับทราบถึงอุปสรรคเเละเเนวทางเสนอเเนะในการทำไม้ของพื้นที่ในอนาคต

ที่มา : https://www.recoftc.org/project/flegt-thailand

สำนักงานเลขานุการไทย – อียู เฟล็กที (TEFSO)
เลขที่ 50 อาคารสมาคมนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900  โทร. 02-561-5102, 02-561-5103 โทรสาร 02-940-5676 Website: www.tefso.org Facebook: TEFSO


 

Comments are closed.

X