จดหมายข่าว TEFSO ฉบับที่ 27 (ม.ค. – พ.ค. 2565)

 


คลิกเพื่อไปยัง https://tefso.org

ไฮไลต์

ก้าวกับเฟล็กที 

ธรรมาภิบาลป่าไม้ และศักยภาพระบบรับรองไม้ ผ่านการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ

เช่นเดียวกับการบริหารจัดการอื่นๆของรัฐ ภาคการป่าไม้ก็ต้องมีการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ เพื่อการสร้างธรรมาภิบาล การเปิดกว้างให้เกิดการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจจากภาคประชาสังคมและสาธารณะ ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างความโปร่งใส และศักยภาพการทำงานของรัฐบาล

ภายใต้ข้อตกลง FLEGT VPA ประเทศไทยมีพันธสัญญาที่จะต้องจัดให้มีระบบการเปิดเผยข้อมูลภาคการป่าไม้ ครอบคลุมข้อมูลที่เกี่ยวกับ VPA ที่ดินป่าของประเทศ และข้อมูลการผลิตและการค้าไม้

บทบาทและขอบเขตของการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ
การเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะมีขึ้นเพื่อให้ภาคประชาสังคมมีข้อมูลเพียงพอในการตรวจติดตามการทำงานของระบบรับประกันความถูกต้องตามกฎหมายของไม้ไทย (THA-TLAS) และภาคการป่าไม้ของประเทศโดยรวม ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ จะทำให้ภาคประชาสังคมสามารถออกรายงานและนำเสนอข้อเสนอแนะที่สะท้อนความจริง เพื่อการพัฒนาการค้าไม้ถูกกฎหมายของไทย นอกจากภาคประชาสังคม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและประชาชนทั่วไปก็ต้องมีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ เพื่อสอดส่องการทำงานในภาคการป่าไม้

อย่างไรก็ตามการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะภายใต้ FLEGT VPA นี้ ดำเนินการโดยมีฐานกฎหมายของประเทศไทยรองรับ การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการจะปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารราชการ พ.ศ. 2540 และ แนวปฏิบัติของหน่วยงานที่รับผิดชอบเท่านั้น

ภาพจากการประชุม “สิทธิของประชาชนและหน้าที่ของรัฐในการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะอย่างเป็นธรรม” (29 ต.ค. 2564)
การผลักดันให้เกิดการเปิดเผยข้อมูลเชิงรุก
จากการทบทวน พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารราชการ และการถกปัญหาอุปสรรคการเข้าถึงข้อมูลในปัจจุบัน ในการจัดทำร่างภาคผนวกของคณะทำงานกลุ่มย่อย และการประชุมเสวนาในหัวข้อ “สิทธิของประชาชนและหน้าที่ของรัฐในการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะอย่างเป็นธรรม” (วันที่ 29 ต.ค. 2564) ทำให้ภาครัฐ ประชาสังคม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และสาธารณะค้นพบร่วมกันถึงข้อบกพร่องที่เป็นอยู่ เช่น ความยากในการเข้าถึงข้อมูล การเปิดเผยข้อมูลที่ไม่เป็นปัจจุบัน และไม่เป็นประโยชน์ และได้ร่วมจัดทำข้อเสนอแนะเพื่อผลักดันให้ภาครัฐมีการเปิดเผยข้อมูลแบบเชิงรุก โดยมีข้อสรุปว่า

  • ระบบอิเล็กทรอนิกส์กลางควรถูกจัดทำขึ้นเพื่อความสะดวกในการค้นหาและเข้าถึงข้อมูล
  • หน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบควรตระหนักถึงความสำคัญในการเข้าถึงข้อมูลของประชาชน และปรับปรุงให้วิธีการเข้าถึงสะดวกสบายมากขึ้น
  • หน่วยงานรัฐและประชาชนควรเข้าใจในสิทธิทางกฎหมายและขอบเขตในการเข้าถึงข้อมูล โดยควรจัดทำคู่มือแนะนำเพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน

คลิกเพื่ออ่านต่อเกี่ยวกับ ภาคผนวกที่ 9 การเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ

กฎหมายเข้าใจง่าย

การทบทวน พ.ร.บ. ป่าไม้ปี 2565

ความจำเป็นของการทบทวนกฎหมาย
การทบทวนแก้ไขกฎหมายเป็นกระบวนการสำคัญเพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายตรงกับสถานการณ์จริงของสังคม และมีประสิทธิภาพ พ.ร.บ. ป่าไม้ ฉบับแรก ถูกประกาศออกมาในปี 2484 และได้ผ่านการปรับปรุงมาโดยตลอด โดยฉบับล่าสุดที่ออกมาในปี 2563 ก็ได้สร้างความชื่นใจให้กับผู้ทำไม้อย่างมากจากการปลดล็อกมาตรา 7
ในปี 2565 นี้การแก้ไข พ.ร.บ. ป่าไม้ เป็นหนึ่งในแผนงานสำคัญของกรมป่าไม้ เพื่อสานต่อการส่งเสริมการค้าไม้ถูกกฎหมาย

เป้าหมายการทบทวน พ.ร.บ. ป่าไม้ ในปัจจุบัน
หนึ่งในช่องว่างทางกฎหมายที่สำคัญคือนิยามทางกฎหมาย ที่เนื่องจากถูกกำหนดขึ้นในอดีตทำให้ไม่เป็นไปตามบริบทของสังคมที่เปลี่ยนไป โดยกลุ่มนิติการ กรมป่าไม้ ตั้งเป้าที่จะแก้นิยามต่อไปนี้

นิยาม “ป่า” ซึ่งในปัจจุบันถูกกำหนดใน พ.ร.บ. ป่าไม้ว่า “ที่ดินที่ยังมิได้มีบุคคลได้มาตามกฎหมายที่ดิน”
ซึ่งมีความหมายไม่ชัดเจน และเกิดปัญหาว่า ที่ดินหลายที่ซึ่งไม่ใช่ป่าถูกเหมารวมเข้ามา เมื่อที่ดินมีสถานะไม่ชัดเจน ปัญหาที่ตามมาคือเจ้าของไม้ที่มีไม้ขึ้นอยู่บนที่ดินเหล่านี้ถูกจำกัดสิทธิในการใช้ไม้ดังกล่าว เพราะถือว่าเป็นต้นไม้จากที่ดินป่า การทบทวนนิยามป่าให้เหมาะสมกับสภาพของที่ดินจริง จะทำให้ประชาชนสามารถนำไม้ไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น เป็นแรงจูงใจให้เกิดการปลูกและใช้ประโยชน์จากต้นไม้
นิยาม “โรงงานแปรรูปไม้” เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ถูกถกมาอย่างต่อเนื่องภายในกลุ่มผู้ประกอบการไม้และกรมป่าไม้ เพราะนิยามปัจจุบันที่กำหนดให้ “โรงงานแปรรูปไม้” หมายความว่า “โรงงานหรือสถานที่ใดซึ่งจัดขึ้นไว้เป็นที่ทำการแปรรูปไม้รวมถึงบริเวณโรงงาน หรือสถานที่นั้นๆ ด้วย” 
ด้วยนิยามนี้ผูกกับข้อกำหนดในการขออนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้ หากไม่ขออนุญาตจะมีความผิดทางกฎหมาย 

แต่นิยามมิได้กำหนดไว้ชัดเจนถึงลักษณะการแปรรูปไม้ ที่ต้องขออนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้ ทำให้เกิดคำถามว่า การแปรรูปไม้เพื่อใช้สอยส่วนตัวต้องขออนุญาตหรือไม่ และการแปรรูปไม้ด้วยเครื่องมืออย่าง mobile wood chipper ที่เคลื่อนที่ได้ และไม่มีอาณาเขตโรงงานต้องขออนุญาตหรือไม่

แผนการดำเนินงาน
จากนี้กลุ่มนิติการ กรมป่าไม้ จะจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อทบทวนกฎหมาย โดยเชิญหน่วยงานภายใน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม คาดว่าการทบทวนจะเสร็จในปีนี้

แวดวงคนทำไม้

ธุรกิจโรงเลื่อยจักรในตลาดที่เปลี่ยนไป
เมื่อวัตถุดิบน้อยลง แรงงานขาดแคลน ต้นทุนการผลิตสูง
และความต้องการของตลาดเปลี่ยนไป

โรงเลื่อยจักรเป็นจุดห่วงโซ่อุปทานที่สำคัญ โดยเป็นจุดที่แปรรูปท่อนซุงเป็นไม้ที่พร้อมสำหรับการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย อย่างไรก็ตามโรงเลื่อยจักรหลายแห่งต้องลดขนาดลง สาเหตุจากการลดลงของวัตถุดิบ การขาดแคลนแรงงาน ต้นทุนการผลิตที่สูง และความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนไป

คอลัมน์คนทำไม้ฉบับนี้พาทุกท่านมาพบกับ คุณประเสริฐ เอี่ยมดีงามเลิศ ประธานสมาคมโรงเลื่อยจักร ที่มาร่วมพูดคุยสถานการณ์ปัจจุบันของโรงเลื่อย รวมไปถึงความพยายามของสมาคมเพื่อผลักดันการแก้ไขกฎหมายป่าไม้ของประเทศ คลิกเพื่ออ่านต่อ

มองเฟล็กที

 

Perspective: Piyathip Eawpanich, Director, Private Forest Plantation Cooperatives Ltd.

คุณปิยะทิพย์ เอี๋ยวพานิช ประธานสหกรณ์สวนป่าภาคเอกชน จำกัด ร่วมพูดคุยกระบวนการ FLEGT VPA ความประทับใจ และมุมมองต่ออนาคต

 

Comments are closed.

X