(TH) TEFSO E- Newsletter NO.20 (OCT-DEC’19)

 
*|MC:SUBJECT|*


ฉบับที่ 20 ประจำเดือน,ตุลาคม – พฤศจิกายน พ.ศ.2562

จดหมายข่าว TEFSO

สำนักงานเลขานุการไทย – อียู เฟล็กที
เปิดม่านมอง ส่องเฟล็กไทย
                 ประเทศไทยให้ความสำคัญกับการพัฒนากลไกในการตรวจสอบย้อนกลับการทำไม้บนที่ดินกรรมสิทธิ์ ดังนั้นหลังจากมีการปลดล็อคกฎหมายเกี่ยวกับไม้หวงห้ามบนที่ดินดังกล่าวเพื่อสนับสนุนนโยบายไม้เศรษฐกิจและการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยที่ผ่านมาคณะทำงานภายใต้กระบวนการจัดทำข้อตกลงเป็นหุ้นส่วนด้วยความสมัครใจการบังคับใช้กฎหมายป่าไม้ ธรรมาภิบาล และการค้า (FLEGT VPA) ได้มีการหารือถึงแนวทางการตรวจสอบย้อนกลับอันจะนำมาซึ่งความน่าเชื่อถือและเพิ่มมูลค่าไม้ที่ถูกต้องตามกฎหมาย แนวทางดังกล่าวคือ การยืนยันความถูกต้องของไม้ด้วยตนเอง (Self-Declaration: SD) ซึ่งเป็นแนวทางที่นำเสนอแก่กรมป่าไม้ในการพิจารณาออกกฎระเบียบและได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี โดยคณะทำงานได้สะท้อนถึงสถานการณ์จริงและความเป็นไปได้ในการดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวผ่านข้อหารือหลากหลายเวทีรวมถึงการปรับปรุงให้เป็นที่ยอมรับของทุกภาคส่วน โดยหวังว่าแนวทางดังกล่าวจะนำไปประกาศใช้และอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ที่ทำไม้อย่างถูกต้องตามกฎหมายบนที่ดินกรรมสิทธิ์ของตน อย่างไรก็ดีแนวทางดังกล่าวอยู่ระหว่างการพัฒนาร่วมกันเพื่อให้ได้วิธีการที่ดีที่สุดสำหรับประเทศไทยแต่มีความน่าเชื่อถือในการค้าระหว่างประเทศ ทั้งนี้การทำ SD ดังกล่าวเป็นความรับผิดชอบของโรงงาน/โรงเลื่อยในการสำแดงไม้ที่มีถิ่นที่มาที่ถูกต้องตามกฎหมายอันเป็นข้อกำหนดตามกฎหมายของประเทศ
           ในช่วงรอบ 1 ปี ที่ผ่านมา มีการจัดประชุมทั้งหมด 28 ครั้ง ได้แก่ การประชุมคณะทำงานกลุ่มย่อย (Sub – Working Group) 17 ครั้ง การประชุมทางเทคนิคระหว่างประเทศไทยและสถาบันป่าไม้ยุโรป (Technical Meeting) 2 ครั้ง การประชุมทางไกล (Video Conference) จำนวน 1 ครั้ง  การประชุมคณะทำงานจัดทำข้อตกลงเป็นหุ้นส่วน
ด้วยความสมัครใจระหว่างประเทศไทยและสหภาพยุโรป (AHWG) 6 ครั้ง และการประชุมคณะอนุกรรมการเพื่อเตรียมการรองรับการบังคับใช้กฎหมายป่าไม้ ธรรมาภิบาลและการค้า จากสหภาพยุโรป (Sub-committee) 1  ครั้ง จำนวนผู้เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 364 คน แบ่งเป็นเพศชาย 313 (53.77%) คน และเพศหญิง 268 (46.23%) คน
เฟล็กที ภาคีไทย
           สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในฐานะหัวหน้าคณะทำงานกลุ่มย่อยเรื่องแนวทางการยืนยันความถูกต้องด้วยตนเอง (Self-declaration: SD) เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานภาคเอกชนที่เข้ามามีบทบาทชัดเจนในกระบวนการจัดทำข้อตกลงเป็นหุ้นส่วนด้วยความสมัครใจ ในการบังคับใช้กฎหมายป่าไม้ ธรรมาภิบาล และการค้า (FLEGT VPA) ซึ่งมุ่งเน้นให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมในการนำเสนอแนวทางเพื่อปรับปรุงแก้ไขการทำไม้ที่ถูกต้องตามกฎหมายของประเทศ โดยสภาอุตสาหกรรมได้เป็นผู้นำและสนับสนุนในการหารือให้เกิดแนวทางการใช้ SD และเป็นผู้แทนของกลุ่มในการนำเสนอและติดตามกับกรมป่าไม้ อันถือได้ว่าเป็นนิมิตหมายอันดีในการทำงานร่วมกัน และยังมีโอกาสนำเสนอมิติของภาคเอกชนในการทำไม้ซึ่งในกระบวนการ SD ภาคเอกชนผู้เป็นผู้รับซื้อไม้ต่อจากเกษตรกรถือเป็นผู้ที่มีบทบาทและความรับผิดชอบสำคัญในการสำแดงถิ่นที่มาของไม้ที่ถูกต้องตามกฎหมาย นอกจากนี้สภาอุตสาหกรรมฯ ยังมีกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการทำไม้และพร้อมที่จะให้ข้อคิดเห็นอันเป็นประโยชน์ในการพัฒนาการทำไม้ให้เป็นที่น่าเชื่อถือและสามารถแข่งขันในตลาดโลกต่อไปอีกด้วย ซึ่งกระบวนการเฟล็กทีนั้นได้เปิดโอกาสให้กับหน่วยงาน/องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการทำไม้เข้ามารับบทบาทที่สำคัญในการเป็นผู้นำในคณะทำงานกลุ่มย่อยเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่เป็นธรรมและเสริมสร้างธรรมาภิบาลของประเทศอีกด้วย
 
ตามติดชิดกฎหมาย (ไทย)

         การปรับแก้กฎหมายของกรมป่าไม้เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ประชาชนที่เกี่ยวข้องกับการทำไม้ให้ความสนใจและมีการผลักดันมายาวนาน ดังที่ทราบกันดีว่าไม้ที่ปลูกขึ้นในที่ดินกรรมสิทธิ์นั้นหากเป็นไม้ที่มีชื่ออยู่ในรายชื่อมาตรา 7 ซึ่งกำหนดให้เป็นไม้หวงห้ามจำเป็นต้องดำเนินการขออนุญาตจากกรมป่าไม้ในการดำเนินการตัดหรือนำเคลื่อนที่ ซึ่งกฎหมายที่มีการผลักดันให้เกิดการแก้ไขคือ พระราชาบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 7 ว่าด้วยเรื่องชนิดพันธุ์ไม้ที่เป็นไม้หวงห้าม โดยได้เกิดมาตรา 18/1 ว่าด้วยการรับรองแหล่งที่มาของไม้ และมาตรา 18/2 ว่าด้วยการรับรองไม้ส่งออก ออกมารองรับและสนับสนุนนโยบายไม้เศรษฐกิจของประเทศ โดยที่มาตราดังกล่าวจะมีการนำเสนอรัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ความเห็นชอบภายในต้นเดือนธันวาคมนี้ และคาดว่าจะมีการประกาศใช้ในต้นปี พ.ศ. 2563
          กรมป่าไม้ยังมีการปรับแก้เพิ่มเติมภายใต้มาตรา 7 ที่เกี่ยวกับที่ดินของรัฐ ได้แก่ ที่ดินของรัฐที่ให้สิทธิแก่ประชาชนเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (สปก.) และที่ดินนิคมอุตสาหกรรม เสนอรมต.เพื่อให้ครม.ให้ความเห็นชอบในไม้ที่ปลูกในที่ดินดังกล่าวจะไม่เป็นไม้หวงห้ามซึ่งคาดว่าจะนำเสนอในปีหน้า
          ในส่วนของมาตรา 18/3 ว่าด้วยเรื่องคุณสมบัติขององค์กรอื่นที่จะมาทำหน้าที่ในการรับรองแหล่งที่มาของไม้ (18/1) และการรับรองไม้ส่งออก (18/2) แทนกรมป่าไม้นั้น ยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการพัฒนากฎหมายของกรมป่าไม้ซึ่งคาดว่าจะประกาศใช้ในกลางปีหน้าต่อไป
          นอกจากนี้ กรมป่าไม้ยังมีการปรับปรุงระเบียบเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนสวนป่าตามพระราชบัญญัติสวนป่า ฉบับที่ 2 โดยได้เพิ่มหลักเกณฑ์เกี่ยวกับประเภทที่ดินและการตรวจสอบในการขึ้นทะเบียนสวนป่าโดยคาดว่าอธิบดีกรมป่าไม้จะลงนามประกาศใช้ภายในเดือนธันวาคมนี้








 
ข้อมูลโดยนายวิจารณ์ เสนสกุล,
ผู้อำนวยการส่วนกฎหมายและนิติกรรมสัญญา สำนักกฎหมาย กรมป่าไม้
16 ธันวาคม 2562
ส่องเฟล็กนอกหน้าต่าง
       3 ปีหลังจากการบังคับใช้ FLEGT สหภาพยุโรปและอินโดนีเซียกับความก้าวหน้าในการกำกับดูแลไม้
     สหภาพยุโรปและอินโดนีเซียได้เริ่มดำเนินการในการร่วมพัฒนาการดูแลป่าไม้และส่งเสริมการส่งออกไม้อย่างถูกกฎหมายมาเป็นทศวรรษแล้ว ในปีนี้ ทั้ง 2 ประเทศ ….
มองอนาคตเฟล็กทีไทย
    ระบวนการเฟล็กทีไทยมีความสำคัญกับประเทศไทยอย่างไร?  อนาคตด้านการป่าไม้ของไทยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเฟล็กทีของไทยเป็นอย่างไร? ผ่านมุมมองของนายสภลท์ บุญเสริมสุข ….
Facebook
Facebook
Line Official
Line Official
Website
Website
YouTube
YouTube
สำนักงานเลขานุการไทย – อียู เฟล็กที (TEFSO)
เลขที่ 50 อาคารสมาคมนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร
กรุงเทพมหานคร 10900  
โทร. 02-561-5102 – 3 โทรสาร 02-940-5676


ติดต่อเราผ่านอีเมลล์ที่:
tefso.rfd@tefso.org






This email was sent to *|EMAIL|*
why did I get this?    unsubscribe from this list    update subscription preferences
*|LIST:ADDRESSLINE|*

*|REWARDS|*

Comments are closed.

X