(TH) TEFSO E-NEWSLETTER NO.17 (JAN-MAR’19)

  การดำเนินการด้าน FLEGT VPA ในประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมา ประเทศไทยได้มีการจัดการประชุมและหารือในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับภาคผนวกที่ 5 ระบบรับประกันความถูกต้อง ตามกฎหมายของไม้ของประเทศไทยและการยืนยันความถูกต้องของไม้บนที่ดินเอกชน

 

ฉบับที่ 17 ประจำเดือน มกราคม – มีนาคม พ.ศ.2562


จดหมายข่าว TEFSO

สำนักงานเลขานุการไทย – อียู เฟล็กที

เปิดม่านมอง ส่องเฟล็กไทย

         การดำเนินการด้าน FLEGT VPA ในประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมา ประเทศไทยได้มีการจัดการประชุมและหารือในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับภาคผนวกที่ 5 ระบบรับประกันความถูกต้อง ตามกฎหมายของไม้ของประเทศไทยและการยืนยันความถูกต้องของไม้บนที่ดินเอกชน โดยมีประเด็นสำคัญ ได้แก่ เอกสารที่ใช้ประกอบการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ การพิสูจน์ความถูกต้องและการจัดเตรียมหน่วยงานที่ดำเนินการตรวจพิสูจน์ ผู้มีอำนาจในการออกใบอนุญาต FLEGT และผู้ตรวจสอบอิสระ รวมทั้งเรื่องความโปร่งใสและการเข้าถึงข้อมูลสาธารณะ สำหรับสาระหารือที่สำคัญของการยืนยันความถูกต้องของไม้บนที่ดินเอกชน ได้แก่ การหารือแนวทางการสำแดงตนเองรูปแบบต่างๆ และการรองรับทางกฎหมายในการสำแดงตนเองนั้นๆ

    ระหว่างเดือนมกราคมจนถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 สำนักงานเลขานุการไทย – อียู เฟล็กที ได้มีการจัดการประชุมรวมทั้งสิ้น 5 ครั้ง แบ่งเป็น การประชุมคณะทำงานกลุ่มย่อยจำนวน 2 ครั้ง การประชุมคณะทำงานจัดทำข้อตกลงเป็นหุ้นส่วนด้วยความสมัครใจ ระหว่าง

ประเทศไทยและสหภาพยุโรป จำนวน 2 ครั้ง และการประชุมทางเทคนิคร่วมกับสถาบันป่าไม้ยุโรป จำนวน 1 ครั้ง โดยมีจำนวนผู้เข้าร่วมประชุมรวมทั้งสิ้น 243 คน แบ่งเป็นชาย จำนวน 137 คน คิดเป็นร้อยละ 56.38 และหญิงจำนวน 106 คน คิดเป็นร้อยละ 43.62

เฟล็กที ภาคีไทย

     ผู้มีส่วนได้เสียของไทยได้มีบทบาทที่สำคัญในกระบวนการเฟล็กทีมาตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการ ผ่านการเข้าร่วมในการประชุมและให้ความเห็นในที่ประชุมที่เกี่ยวข้องต่างๆ อาทิ การประชุมคณะทำงานกลุ่มย่อย การประชุมคณะทำงานจัดทำข้อตกลงเป็นหุ้นส่วนด้วยความสมัครใจระหว่างประเทศไทยและสหภาพยุโรป รวมทั้งการประชุมทางเทคนิค เป็นต้น ในช่วงไตรมาสแรกของปี พ.ศ. 2562 ผู้มีส่วนได้เสียของประเทศไทยมีบทบาทในฐานะผู้นำมากขึ้น จากเดิมที่มีบทบาทผ่านการเข้าร่วมการประชุมและให้ความเห็น เห็นได้จากการรับอาสาเป็นผู้นำคณะทำงานกลุ่มย่อยของสมาคมธุรกิจไม้และสหกรณ์สวนป่าภาคเอกชน การแสดงเจตจำนงค์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีกระบวนการการมีส่วนร่วมที่เข้มแข็ง ไม่เพียงระหว่างหน่วยงานภาครัฐแต่ยังรวมไปถึงผู้มีส่วนได้เสียผู้ซึ่งมีความเกี่ยวข้องและได้รับผลกระทบในกระบวนการทำไม้ของประเทศไทย

  
ตามติดชิดกฎหมาย (ไทย)
    เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่ากรมป่าไม้ได้มีการปรับแก้ พ.ร.บ ป่าไม้ ซึ่งขณะนี้นายกรัฐมนตรีได้นำร่าง พ.ร.บ. ป่าไม้ ดังกล่าวนำทูลเกล้าเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยเพื่อประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป โดยการปรับแก้ครั้งนี้มีสาระสำคัญอยู่ที่การกำหนดให้ไม้บนที่ดินกรรมสิทธิ์ไม่เป็นไม้หวงห้ามอีกต่อไป กล่าวคือเมื่อกฎหมายบังคับใช้ การตัด การโค่นและการแปรรูป รวมถึงการนำเคลื่อนที่ ไปจนกระทั่งการมีไว้ในครอบครองไม้ดังกล่าวไม่ถูกบังคับให้ขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่เหมือนในอดีต อย่างไรก็ตาม สำหรับไม้บนที่ดินของรัฐที่รัฐอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ตามกฎหมาย อาทิ ที่ดิน ส.ป.ก. หรือที่ดินในพื้นที่นิคมสหกรณ์หรือนิคมสร้างตนเองฯ แม้ว่าจะมีการบังคับใช้แล้วก็ตาม แต่ไม้ที่ปลูกขึ้นบนที่ดินดังกล่าวจะยังไม่เป็นไม้หวงห้ามทันที่จนกว่าคณะรัฐมนตรีจะให้ความเห็นชอบและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ประกาศในราชกิจานุเบกษาให้ไม้ที่ปลูกในพื้นที่ดังกล่าวไม่เป็นไม้หวงห้าม จึงจะมีผลทำให้ไม้ที่ปลูกในพื้นที่ของรัฐที่มีการอนุญาตทุกชนิดไม่เป็นไม้หวงห้ามอีกต่อไป

เกษตรกรหรือผู้ประกอบการไม้ ทั้งจากที่ดินกรรมสิทธิ์และที่ดินของรัฐ ที่รัฐอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ตามกฎหมายที่ต้องการเอกสารรับรองอย่างเป็นทางการจากเจ้าหน้าที่ ยังสามารถขอหนังสือรับรองแหล่งที่มาของไม้ (ตามมาตรา 18/1) และหนังสือรับรองความถูกต้องตามกฎหมายของไม้เพื่อใช้ในการส่งออก (ตามมาตรา 18/2) ในกรณีที่ประเทศปลายทางร้องขอได้ โดยผู้ขอเอกสารเพียงยื่นร้องขอและชำระค่าใช้จ่ายตามที่กำหนด

ข้อมูลโดยนายวิจารณ์ เสนสกุล
ผู้อำนวยการส่วนกฎหมายและนิติกรรมสัญญา สำนักกฎหมาย กรมป่าไม้
20 มีนาคม 2562

ส่องเฟล็กนอกหน้าต่าง

        การประชุมเจรจาครั้งที่ 2 ระหว่างสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จัดขึ้น ณ เมืองหลวงกรุงเวียงจันทร์ ระหว่างวันที่ 4-7 มิถุนายน 2561 ประกอบด้วย 2 การประชุม ได้แก่ (1) การประชุมผู้เชี่ยวชาญร่วม (Joint Expert Meeting: JEM) นำโดยนาย Sousath Sayakoummane อธิบดีกรมป่าไม้ กระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ และนาง Gordana Topic เจ้าหน้าที่นโยบาย กองอำนวยการสิ่งแวดล้อม (Directorate-General for Environment) คณะกรรมาธิการยุโรป และ (2) การประชุมเจรจา นำโดย Phouangparisak Pravongviengkham ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ และนาย Jorge Rodriguez Romero รองหัวหน้ากอง กองอำนวยการสิ่งแวดล้อม คณะกรรมาธิการยุโรป

 ทั้งสองฝ่ายได้มีการหารือเกี่ยวกับกระบวนการในการจัดทำระบบรับประกันความถูกต้องตามกฎหมายของไม้ ซึ่งจะรับรองว่าไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้นั้นถูกต้องตามกฎหมายและข้อกำหนดของชาติ นับตั้งแต่การเจรจาในเดือนเมษายนปี พ.ศ. 2560 ฝ่ายลาวได้หารือในรายละเอียดเกี่ยวกับองค์ประกอบต่างๆ ของระบบดังกล่าว นอกจากนั้น ยังมีความก้าวหน้าในเรื่องการจัดทำนิยามความถูกต้องตามกฎหมายของไม้ รวมทั้ง ได้มีการเริ่มหารือในประเด็นเกี่ยวกับการรับประกันความถูกต้องตามกฎหมายของไม้ โดยเน้นที่การควบคุมการนำเคลื่อนที่ไม้ (supply chain controls) จากป่าจนกระทั่งจุดส่งออก รวมถึงกระบวนการการตรวจพิสูจน์

 

อ่านต่อ

มองอนาคตเฟล็กทีไทย

 

กระบวนการเฟล็กทีไทยมีความสำคัญกับประเทศไทยอย่างไร?  อนาคตด้านการป่าไม้ของไทยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเฟล็กทีของไทยเป็นอย่างไร? ผ่านมุมมองของนายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

Facebook
Facebook

Line Official
Line Official

Website
Website

YouTube
YouTube

สำนักงานเลขานุการไทย – อียู เฟล็กที (TEFSO)
เลขที่ 50 อาคารสมาคมนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร
กรุงเทพมหานคร 10900
โทร. 02-561-5102 – 3 โทรสาร 02-940-5676
ติดต่อเราผ่านอีเมลล์ที่:
tefso.rfd@tefso.org

 

 

This email was sent to *|EMAIL|*

why did I get this?    unsubscribe from this list    update subscription preferences

*|LIST:ADDRESSLINE|**|REWARDS|*

 

Comments are closed.

X