วันที่ 19-21 กุมภาพันธ์ 2561 สำนักงานเลขานุการไทย-อียู เฟล็กที จัดประชุมและอบรมคณะทำงานกลุ่มย่อยร่วมกับที่ปรึกษาจาก EFI โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่างระบบรับประกันความถูกต้องตามกฎหมายของไม้ และเพื่อพัฒนาร่างภาคผนวกนิยามความถูกต้องตามกฎหมายของไม้ (LD) รวมทั้งเพื่อพัฒนากลไกการตรวจพิสูจน์ไม้ที่ไม่ใช่ไม้หวงห้ามบนที่ดินเอกชน ไปจนกระทั่งเพื่อพัฒนาระบบการสอบทานธุรกิจเพื่อการควบคุมการนำเข้าไม้ ทั้งนี้ในประเด็นดังกล่าวจะนำเข้าหารือใน JEM3 เป็นลำดับต่อไป สำหรับรายละเอียดในประเด็นต่างๆที่สำคัญ มีดังต่อไปนี้
วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2561
ประเด็น ระบบรับประกันความถูกต้องตามกฎหมายของไม้ (Timber Legality Assurance System – TLAS) มีคำถามจากประเด็นสำคัญ ดังต่อไปนี้
- มีการสอบถามถึงความแตกต่างระหว่าง LD และ Supply Chain
- ควรระบุเส้นทางของไม้ไม่หวงห้ามในที่ดินเอกชนให้ชัดเจนใน Supply Chain Control
- กระบวนการในการนำเข้าไม้ทั้งที่อยู่และไม่อยู่ใน product scope
- ภาคเอกชนมีความกังวลในกระบวนการออก FLEGT license ว่าจะส่งผลให้เกิดความยุ่งยากล่าช้าต่อผู้ประกอบการ
- โดยปกติแล้ว ลักษณะของการออก FLEGT license จะเป็นการออก License ต่อการขนส่งสินค้าหนึ่งครั้ง (per shipment)
- สำหรับองค์กรหรือหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการออก FLEGT license นั้น อาจเป็นกระทำโดยการจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะเพื่อทำหน้าที่ดังกล่าวหรืออาจเพิ่มหน้าที่ให้แก่หน่วยงานเดิมที่ได้รับการจัดตั้งไว้อยู่แล้ว ทั้งนี้ ยังสามารถกระทำผ่าน Independent Audit ได้เช่นเดียวกัน
- ทาง EFI มีการนำเสนอข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดตั้งหน่วยงานเพื่อออก FLEGT license โดยยกกรณีตัวอย่างจากประเทศอินโดนีเซีย ทั้งนี้ ยังได้ระบุว่าในปัจจุบันไม่มีการจัดการหน่วยงานเฉพาะเพื่ออก FLEGT license ในต่างประเทศ
- มีการให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับองค์กรที่มีหน้าที่ในการตรวจสอบอย่างอิสระ (Independent audit) ซึ่งอาจเป็นหน่วยงานหรือองค์กรระหว่างประเทศที่มีประสบการณ์ด้านการตรวจสอบเป็นผู้รับผิดชอบ นอกจากนี้ มีการให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหน่วยงานซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบต่อค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งองค์กรเพื่อการตรวจสอบโดยอิสระ (Independent audit) ซึ่งอาจเป็นหน่วยงานของรัฐเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย
- สำหรับการออก FLEGT license ในประเทศอื่นๆ ตามปกติหน่วยงานหรือองค์กรที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการออก FLEGT license ก็มักเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้วย ดังนั้น จึงขึ้นอยู่กับว่าหน่วยใดเป็นผู้มีหน้าที่ในการออก FLEGT license หน่วยงานนั้นก็จะเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการดังกล่าว
- JIC และ หน่วยงานที่มีหน้าที่ออก FLEGT license มีหน้าที่รับผิดชอบที่แตกต่างกัน กล่าวคือ JIC มีหน้าที่ในการตรวจสอบและติดตามผลของการนำไปใช้ (Implementation) รวมทั้งมีหน้าที่ในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้ระบบดังกล่าว ในขณะที่องค์กรหรือหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการออก FLEGT license มีหน้าที่เกี่ยวกับกระบวนการภายในในการออก license เท่านั้น
วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561
ประเด็น ร่างนิยามความถูกต้องตามกฎหมายของไม้ (Legality Definition – LD) มีข้อสรุปจากประเด็นสำคัญ ดังต่อไปนี้
- ผู้แทน EFI แนะนำให้จัดทำคำอธิบายเพื่อสร้างความชัดเจนในหน้าที่การทำงานระหว่าง operator compliance และ regulator verification ทั้งนี้ ยังมีการแนะนำให้เพิ่มกฎ ข้อบังคับเกี่ยวกับหลักการการครอบครองหรือเป็นเจ้าของที่ดินและไม้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
- สำหรับกฎหรือข้อบังคับใดๆ ที่จัดทำสำหรับเป็นแนวทางในการปฏิบัติเฉพาะโรงงานหรือกลุ่มหน่วยงานนั้น ไม่จำเป็นต้องใส่ใน LD
- ทาง EFI ยินดีในการพิจารณา LD ในประเด็นข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมและแรงงานว่ามีเนื้อหาเพียงพอและเหมาะสมหรือไม่อย่างไร
- มีการอธิบายถึงความแตกต่างระหว่าง chain of custody and supply chain control กล่าวคือ supply chain control เป็นการอธิบายว่าไม้เคลื่อนที่ไปสู่ขั้นตอนต่างๆ อย่างไร ในขณะที่ Chain of custody เป็นการแสดงถึงการควบคุมที่มาของไม้ ซึ่งเชื่อมโยงไปถึงการเคลื่อนที่ของไม้ด้วย
- ที่ปรึกษาโครงการทดสอบภาคสนาม (LD Field-testing Consultant) ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่รับผิดชอบงาน ดังต่อไปนี้
- ปรับปรุงร่างนิยามฯ ให้มีความเชื่อมโยงกับ Supply chain
- สืบหาข้อมูลเพิ่มเติมที่จำเป็นต้องระบุในร่างนิยามฯ จากกรมหรือหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง
- เชื่อมโยงร่างนิยามฯ เข้ากับการตรวจพิสูจน์ Supply chain control
- พิจารณาประเด็นข้อกำหนดหรือกฎหมายที่อยู่ระหว่างการดำเนินการและอาจมีการเปลี่ยนแปลงในภายหลังซึ่งอาจต้องระบุในร่างนิยามฯ
ประเด็น แนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับไม้ที่มิใช่ไม้หวงห้ามบนที่ดินเอกชน (Unregulated Species on Private Land) มีข้อสรุปจากประเด็นสำคัญ ดังต่อไปนี้
มีการปรึกษาหารือว่ากระบวนการตรวจพิสูจน์ไม้ไม่หวงห้ามบนที่ดินเอกชนควรมีกระบวนการอย่างไร ซึ่งสำหรับประเด็นดังกล่าว มีการแนะนำให้ใช้ระบบ E-tree เป็นช่องทางหนึ่งในการตรวจพิสูจน์ฯ นอกจากนั้น ยังมีพูดคุยถึงการเตรียมความพร้อมในร่างนิยามฯ สำหรับการประชุม JEM3 ที่กำลังจะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการปรับแก้เอกสารให้แสดงถึงความเชื่อมโยงของข้อมูลใน National Single Window (NSW) รวมทั้งความเชื่อมโยงของการทำงานของระบบใน Supply chain อย่างไรก็ตาม มีการแนะนำให้จัดทำการทดลองภาคสนามเพื่อให้เห็นความเป็นไปได้ของระบบอย่างชัดเจน
วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561
ประเด็น ระบบการสอบทานเอกสาร Thai Due Diligence System (TH – DDS) มีข้อสรุปจากประเด็นสำคัญ ดังต่อไปนี้
มีการนำเสนอ Feedback จากคณะทำงานกลุ่มย่อย รวมทั้งสอบถามในบางประเด็นเพิ่มเติม ดังนี้
- ผู้ประกอบการรายย่อยไม่ควรรวมเข้ากับระบบ DDS ทั้งนี้ เนื่องจากผู้ประกอบการรายย่อยส่วนใหญ่นำเข้าไม้และผลิตภัณฑ์ไม้เพื่อการค้าภายในประเทศ ไม่ใช่เพื่อการส่งออก ด้วยเหตุนี้จึงอาจเป็นการเพิ่มภาระหน้าที่ให้แก่ผู้ประกอบการรายย่อย
- ทั้งนี้ ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดเกี่ยวกับการดำเนินการโดยระบบ DDS ซึ่งจะต้องมีการหารือเพื่อนำมาซึ่งข้อสรุปในการเตรียมความพร้อมสำหรับการประชุม JEM3 ต่อไป พร้อมทั้งแนะนำให้ฝ่ายไทยปรับปรุงเนื้อหาในเอกสารให้สอดคล้องกับ Flow chart โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นเกี่ยวกับ Green-lane
นอกจากนั้น ที่ประชุมได้มีการดำเนินการร่วมกันในการปรับแก้เนื้อความในเอกสาร (concept paper) ซึ่งอาจจะต้องมีการปรับปรุงเนื้อหาให้เหมาะสมและพร้อมสำหรับการเจรจากับสหภาพยุโรป (JEM3) ต่อไป