18 ธันวาคม 2560 – นายบุญสุธีย์ จีระวงค์พานิช ผู้แทนจากส่วนรับรองไม้ สำนักการอนุญาต กรมป่าไม้ ทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการกลุ่มย่อยในการร่างระบบ Due Diligence เพื่อหารือเรื่องแนวทางการควบคุมไม้นำเข้า ณ ห้องประชุม GS1-3 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
จากการประชุมได้ข้อสรุปจากประเด็นสำคัญ ดังต่อไปนี้
1. แนวทางการร่างระบบ Due Diligence
- จากการเจรจาอย่างเป็นทางการครั้งที่ 1 ระหว่างไทย
-อียูเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่ านมา (2560) ฝ่ายไทยได้ยืนยันว่าไทยจะมี TLAS ระบบเดียวสำหรับทั้งตลาดภายในปร ะเทศ ตลาดอียู และตลาดต่างประเทศอื่ นๆ - ที่ประชุมเห็นว่าการดำเนินการหรือการหารือใด ๆ ให้ยึดหลักธรรมาภิบาลและกระบวนการมีส่วนร่วม ทั้งนี้ การดำเนินการใดๆ จะต้องไม่เป็นภาระต่อผู้ประกอบการโดยเฉพาะรายย่อย
- ในส่วนของการตรวจสอบระบบ Due Diligence นั้นที่ประชุมเห็นว่าจะต้องทำในทุกๆการขนส่ง ทั้งนี้ หากสินค้านั้นได้รับใบอนุญาตตามการบังคับใช้กฎหมายป่าไม้ ธรรมาภิบาล และการค้า(FLEGT) จะสามารถผ่านเข้าราชอาณาจักรได้เลย
- ที่ประชุมมีมติให้ยึดบทลงโทษตามกฎหรือระเบียบของกฎหมายศุลกากรและกระทรวงพานิชย์
2. สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อไป
- กรมการค้าต่างประเทศจะทำการร่างระเบียบที่เกี่ยวข้องมาเสนอที่ประชุม พร้อมทั้งร่างประกาศ เพื่อนำระบบ Due Diligence มาปฏิบัติ และหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับ 17 จังหวัดชายแดนที่มีการนำเข้าไม้ โดยการดำเนินการร่างประกาศดังกล่าวจะแล้วเสร็จภายใน 1 ปี
- ภาคธุรกิจจะนำประเด็นการควบคุมไม้นำเข้าหารือกับกลุ่มผู้ประกอบการสุไหง-โกลก ในวาระการประชุมของสมาคมฯ เพื่อสอบถามความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
- สถาบันรับรองไม้เศรษฐกิจไทยจะทำหน้าที่เพิ่มเติม ปรับแก้ และพัฒนารายละเอียดในเอกสารร่างแนวทางการควบคุมไม้นำเข้าเพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมคณะทำงานการจัดทำข้อตกลงการเป็นหุ้นส่วนด้วยความสมัครใจ ในวันที่ 18 มกราคม 2561 และ และการประชุมผู้เชี่ยวชาญร่วม ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 21-22 มีนาคม 2561 พร้อมทั้งทำการทดสอบการดำเนินการนี้ในปี 2561 โดยจะดำเนินการร่วมกับคณะทำงานกลุ่มย่อยเรื่องระบบ Due Diligence ต่อไป
- สำนักงานเลขานุการไทย – อียู เฟล็กที จะทำการเปรียบเทียบรายการขอบเขตผลิตภัณฑ์กับรายการสินค้าไม้ที่ต้องตรวจร่วมกัน รวมทั้งสิ้น 170 รายการ และส่งให้ผู้เข้าร่วมประชุมต่อไป