คณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยเข้าเยี่ยมแสดงความยินดีต่อนายอดิศร นุชดำรงค์ ในการเข้ารับตำแหน่งอธิบดีกรมป่าไม้

ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2563 คณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยประกอบด้วย Mr. Daniel Hachez, Minister – Counsellor, Head of Cooperation, Mr. Laurent Lourdais, Counsellor, Agriculture, SPS and Environment และคุณสุทธิยา จันทรวรางกูร Programme Officer พร้อมด้วยดร.สมฤดี นิโครวัฒนยิ่งยง FLEGT Facilitator for Thailand จาก European Forest Institute (EFI) เข้าเยี่ยมคารวะนายอดิศร นุชดำรงค์ อธิบดีกรมป่าไม้ ซึ่งได้รับแต่งตั้งเข้าดำรงตำแหน่งเมื่อเร็วๆนี้ ในการนี้คณะผู้แทนสหภาพยุโรปได้ร่วมหารือกับกรมป่าไม้เรื่องกระบวนการ Forest Law Enforcement, Governance and Trade (FLEGT) Voluntary Partnership Agreement (VPA) เพื่อที่จะนำไปสู่การเซ็นสัญญาข้อตกลง

นายอดิศร อธิบดีกรมป่าไม้ กล่าวย้ำความมุ่งมั่นของประเทศไทยที่จะเซ็นสัญญา FLEGT VPA กับสหภาพยุโรป และแสดงความหวังว่าประเทศไทยและสหภาพยุโรปจะสามารถเซ็นสัญญา FLEGT VPA ได้ในปีหน้า เพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ นายอดิศรต้อนรับการเข้าเยี่ยมจากคณะผู้แทนสหภาพยุโรปและทุกคณะที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการทำข้อตกลง FLEGT VPA

Mr. Hachez แสดงความยินดีในการเข้ารับตำแหน่งของนายอดิศร และนายทนงศักดิ์ นนทภา ผู้อำนวยการสำนักเศรษฐกิจการป่าไม้ ซึ่งได้รับแต่งตั้งเมื่อเร็วๆนี้เช่นกัน และเป็นหัวหน้าสำนักงานเลขานุการฯในกระบวนการ FLEGT VPA ของประเทศไทย และขอบคุณความมุ่งมั่นและบทบาทที่เข็มแข็งของกรมป่าไม้ต่อกระบวนการ FLEGT VPA Mr. Hachez เน้นย้ำว่า FLEGT VPA ช่วยขับเคลื่อนเป้าหมายต่างๆของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) หลักๆคือในด้านสภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงโดยต่อสู้กับการทำไม้ผิดกฎหมาย ทั้งประเทศไทยและอียูจะได้รับผลประโยชน์จากหนังสือรับรอง FLEGT ผู้บริโภคของอียูจะมีโอกาสซื้อผลิตภัณฑ์ไม้ไทยที่มีคุณภาพและถูกกฎหมาย ในด้านของประเทศไทย หนังสือรับรอง FLEGT จะพัฒนาสถานะและเสริมสร้างความน่าเชื่อถือของไม้ไทยในตลาดนานาชาติ ซึ่งจะช่วยขยายภาคธุรกิจป่าไม้ของไทย และช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย

คณะผู้แทนสหภาพยุโรป แจ้งให้ไทยทราบว่าไม่มีการกำหนดระยะเวลาการเจรจาที่ตายตัว และอียูมีความตั้งใจที่จะขับเคลื่อนการเจรจา FLEGT VPA คู่ขนานไปกับการเจรจา EU Free Trade Agreement (FTA) กับไทย โดยใน FTA ฉบับใหม่นี้ตอบสนองประเด็นหลักที่อียูให้ความสนใจคือการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน การทำสัญญา FLEGT VPA จะเป็นตัวอย่างแสดงความสำเร็จของข้อตกลงระหว่างไทยและอียูที่เกี่ยวเนื่องกับผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน เพื่อช่วยประเทศไทยในการพัฒนาระบบควบคุมการนำเข้าไม้ อียูมีความยินดีที่จะจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของ EUTR และให้คำปรึกษาไทยต่อประเด็นปัญหาที่อาจเจอ

กรมป่าไม้แสดงความตั้งใจที่จะจัดทำร่างภาคผนวกของ FLEGT VPA ให้เสร็จผ่านการดำเนินงานอย่างกระตือรือร้น กรมป่าไม้จะคอยประสานงานกับ EFI ซึ่งได้ช่วยเหลือไทยในการร่างภาคผนวกมาโดยตลอด และ FAO-EU FLEGT Programme ซึ่งสนับสนุนโครงการภายใต้ FLEGT-VPA มาอย่างต่อเนื่อง กรมป่าไม้กล่าวว่าจะขับเคลื่อนการประชาสัมพันธ์ FLEGT VPA โดยจะจัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้และความสำเร็จที่เกิดขึ้นของ FLEGT VPA

Comments are closed.

X