(TH) TEFSO E-NEWSLETTER NO.5 (JAN-FEB’17)

เริ่มต้นปี พ.ศ.2560 ด้วยการประชุมคณะอนุกรรมเพื่อเตรียมการรองรับการบังคับใช้กฎหมาย ป่าไม้ ธรรมาภิบาล และการค้าจากสหภาพยุโรป เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

 



ฉบับที่ 5 ประจำเดือน มกราคม - กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560


                จดหมายข่าว TEFSO


สำนักงานเลขานุการไทย - อียู เฟล็กที

The FLEGT
เตรียมความพร้อมคณะอนุกรรมการฯ FLEGT
เริ่มต้นปี พ.ศ.2560 ด้วยการประชุมคณะอนุกรรมเพื่อเตรียมการรองรับการบังคับใช้กฎหมาย ป่าไม้ ธรรมาภิบาล และการค้าจากสหภาพยุโรป เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยการประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครางการ FLEGT VPA ในประเทศไทยและเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการดังกล่าว รวมถึงวางแผนสำหรับการเจรจากับสหภาพยุโรป โดยการประชุมดังกล่าวมีนายชลธิศ สุรัสวดี อธิบดีกรมป่าไม้ให้เกียรติมาเป็นประธาน และได้รับฟังปัญหาและอุปสรรคที่เกี่ยวข้องกับการทำไม้จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เป็นคณะอนุกรรมการฯ พร้อมตอบคำถามและรับปากในการติดตามการดำเนินงานต่างๆที่คงค้าง ทั้งนี้ยังให้ความสำคัญกับการดำเนินงานแก้ไขปัญหาตามเอกสารช่องว่าง (Gap/Issue Paper) ซึ่งเป็นข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาต่างๆที่ได้มาจากการหารืออย่างมีส่วนร่วมของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องภายใต้กระบวนการ FLEGT
ส่องเฟล็กที
งานวิจัยเผยความก้าวหน้าและช่องว่างภาคประชาสังคม                         ในกระบวนการวีพีเอ (VPA) และเรดพลัส (REDD+)
จากงานวิจัยใหม่พบว่า ภาคประชาสังคมเข้าร่วมนโยบายแห่งชาติที่เกี่ยวข้องกับธรรมาภิบาล ป่าไม้ในแคเมอรูน กานา ไลบีเรีย และสาธารณรัฐคองโกมากขึ้น
อย่างไรก็ตามในส่วนหนึ่งของงานวิจัยได้กล่าวไว้ว่า การมีส่วนร่วมมิได้ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติและมิได้เกี่ยวข้องกับภาพรวมทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีการระบุถึงอุปสรรคของการมีส่วนร่วมและข้อแนะนำในการกำจัดอุปสรรคนั้นๆ งานวิจัยเรื่องนี้จัดทำขึ้นโดยโพเชนดรา ซาไทอัล ผู้ช่วยวิจัยอาวุโสจากสถาบันการพัฒนานานาชาติ ณ มหาวิทยาลัยอีสท์ แองเกลีย สหราชอาณาจักร
ซาไทอัลสนใจเรื่องการมีส่วนร่วมในกระบวนการของเรดพลัสและกระบวนการของเฟล็กที วีพีเอ โดยกระบวนการวีพีเอสามารถช่วยเหลือองค์กรภาคประชาสังคมได้มากขึ้นเนื่องจากเป็นการสร้างความสามารถให้กับองค์กรภาคประชาสังคมเพื่อการมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าวีพีเอจะเป็นเรื่องเฉพาะทาง แต่ภาคประชาสังคมก็ได้เรียนรู้อย่างมากมายจากการเข้าร่วมกระบวนการตั้งแต่ต้น
อย่างไรก็ตาม ปัญหาช่องว่างอื่นๆ ก็ยังพบอยู่ในพื้นที่ เช่น การเป็นผู้นำและการจัดการขององค์กร การสื่อสารและความรู้ธรรมาภิบาลป่าไม้ นอกจากนี้เขายังได้แนะนำถึงการแก้ปัญหาช่องว่างในการแบ่งปันข้อมูล การประสานกันระหว่างการมีส่วนร่วมและกระบวนการนโยบาย การเพิ่มการสนับสนุนเพื่อส่งเสริมองค์กรภาคประชาสังคมและแผนการดำเนินงาน การสร้างความไว้ใจระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การให้ความสำคัญกับกลุ่มที่ไม่มั่นคงและการสร้างความเชื่อมโยงที่เข้มแข็งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติและระดับโลกอีกด้วย
ที่มา :http://www.flegt.org/news/content/viewItem/study-reveals-progress-and-gaps-for-civil-society-in-vpa-and-redd-processes/20-01-2017/78

ห้องรับรอง
วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2560 เจ้าหน้าที่ FAO พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จาก TFCC/FTI เข้าพบนายบรรจง วงศ์ศรีสุนทร ผู้อำนวยการสำนักงานเลขานุการไทย - อียู เฟล็กที โดยในโอกาสนี้ผู้แทนจาก FAO แนะนำ Ms. Erica J.Pohnan เจ้าหน้าที่ผู้ประสานงานโครงการ FAO - FLEGT ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยเจ้าหน้าที่ TFCC/FTI, FAO และ TEFSO ร่วมพูดคุยประเด็นการตรวจสอบไม้ไม่หวงห้าม (เช่น ยางพารา ยูคาลิปตัส ฯลฯ) บนที่ดินเอกชน ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายหรือกลไกใดๆ เข้ามารองรับ ด้วยเหตุนี้ผู้แทน TFCC/FTI จะนำประเด็นช่องว่างเกี่ยวกับการตรวจสอบไม้ไม่หวงห้ามบนที่ดินเอกชนมาเป็นหลักในการเขียนคำขอรับทุนโครงการ โดยจะมุ่งเน้นไปที่วิสาหกิจขนาดเล็กและเกษตรกรรายย่อยที่ไม่สามารถเข้าถึงกระบวนการการรับรองมาตรฐานระดับสากลที่มีค่าใช้จ่ายสูงได้โดยการดำเนินงานของโครงการดังกล่าวจะนำเสนอช่องทางใหม่ในการรับรองไม้ไม่หวงห้ามบนที่ดินเอกชนและอาจจะขยายในมุมกว้างเพื่อเตรียมการรองรับไม้ชนิดอื่นๆ ต่อไปในอนาคต

สาระ FLEGT 
VPA คืออะไร?

VPA ย่อมาจากคำว่า

Voluntary
Partnership
Agreement

หรือข้อตกลงเป็นหุ้นส่วนด้วยความสมัครใจ ซึ่งเป็นข้อตกลงทางการค้าระหว่างสหภาพยุโรปกับประเทศผู้ผลิตไม้นอกสหภาพยุโรปเพื่อเป็นเครื่องมือในการขจัดการทำไม้ที่ผิดกฎหมาย และป้องกันการนำไม้ดังกล่าวเข้ามาในตลาดสหภาพยุโรปด้วยการพัฒนากฎระเบียบและการทำไม้ในประเทศผู้ผลิตให้มีธรรมาภิบาล      

ซึ่งส่วนประกอบที่สำคัญของข้อตกลง VPA คือ ระบบการรับประกันความถูกต้องตามกฎหมายของไม้ (TLAS) โดยระบบ   ดังกล่าวถูกออกแบบมาเพื่อพิสูจน์ติดตามตรวจสอบและออกใบอนุญาตให้กับไม้ที่ถูกต้องตามกฎหมาย

มุมภาคี...
เมื่อต้นปี 2560 ศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า (RECOFTC) ได้จัดงานเปิดตัวโครงการนำร่องเพื่อการทำไม้ที่ถูกต้องตามกฎหมายใน 3 พื้นที่ ได้แก่ ตำบลแม่ทา อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2560 ตำบลเมืองลีง อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2560 และ ตำบลพลวงทอง อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2560 ภายในงานมีกิจกรรมการอภิปราบการทำไม้ที่ถูกต้องตามกฎหมาย ตลอดจนเปิดรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ รวมถึงปัญหาและอุปสรรคในการทำไม้อย่างถูกต้องจากชุมชนอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่ความร่วมมือและการจัดการป่าอย่างยั่งยืนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆที่เกี่ยวข้อง
ที่มา : https://www.facebook.com/ThaiCSOsFLEGT/

 

Comments are closed.

Copyright © 2022 tefso.com. All rights reserved. By tefso.com

X

สำนักงานเลขานุการไทย - อียู เฟล็กที (TEFSO)
เลขที่ 50 อาคารสมาคมนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900  โทร. 02-561-5102, 02-561-5103 โทรสาร 02-940-5676 Website: www.tefso.org Facebook: TEFSO