(TH) TEFSO E- Newsletter NO.21 (JAN-MAR’2020)

 

ฉบับที่ 21 ประจำเดือน มกราคม – มีนาคม พ.ศ.2563


จดหมายข่าว TEFSO

สำนักงานเลขานุการไทย – อียู เฟล็กที

ทางของไม้

 

ไม้ท่อนจากที่ดินเขตปฏิรูปที่ดิน (สปก.) ไปยังโรงงานแปรรูป โดยวิธีขึ้นทะเบียนสวนป่า

ประเทศไทยมีการควบคุมการทำไม้อย่างเป็นระบบตั้งแต่ปีพ.ศ.  2484 ซึ่งไม้ที่อนุญาตให้สามารถค้าขายนั้นจะดูจากที่ดินที่ปลูกไม้นั้นเป็นหลักและมิใช่ไม้จากในป่าเนื่องจากประเทศไทยปิดสัมปทานป่าไม้ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2532 ทั้งนี้ ที่ดินในประเทศไทยมีหลายประเภท โดยคอลัมน์นี้จะขอกล่าวถึงไม้ที่ตัดโค่นมาจากที่ดินสปก. หรือที่ดินของรัฐที่อนุญาตให้ประชาชนใช้ประโยชน์ ในกรณีที่เจ้าของสิทธิที่ใช้ประโยชน์ที่ดินดังกล่าวต้องการตัดไม้ที่ตนเป็นคนปลูกเพื่อขายให้แก่โรงงานโดยเลือกวิธีการขึ้นทะเบียนสวนป่า ตามพรบ.สวนป่า พ.ศ. 2535 เจ้าของไม้จำเป็นต้องดำเนินการเพื่อแสดงถึงความถูกต้องดังต่อไปนี้
1.    แหล่งที่มาและชนิดพันธุ์ – ยืนยันด้วยแบบสป. 13 ซึ่งเป็นเอกสารรับรองการแจ้งตัดจากเจ้าหน้าที่หลังจากได้รับคำร้อง (สป.12)
2.    การนำเคลื่อนที่ – ยืนยันด้วยแบบสป.15 ซึ่งจะประกอบไปด้วยรายการไม้ ออกโดยเจ้าของไม้เพื่อใช้ในการนำเคลื่อนที่ไม้จากที่ตั้งไปยังจุดหมายต่อไป โดยฉบับจริงติดไปกับไม้ ส่วนสำเนาส่งให้เจ้าหน้าที่
3.    การบริหารจัดการเมื่อถึงโรงงาน – โรงงานตรวจสอบความถูกต้องและความสอดคล้องของข้อมูลในเอกสารก่อนนำมาบันทึกเข้ารายการไม้ของโรงงานเพื่อบริหารจัดการวัตถุดิบเข้าและสินค้าออกต่อไป

—————————————————————————————————————-
               การดำเนินการจัดทำข้อตกลงเป็นหุ้นส่วนด้วยความสมัครใจ การบังคับใช้กฎหมายป่าไม้ ธรรมาภิบาล และการค้า (FLEGT VPA) กับสหภาพยุโรป เริ่มต้นเมื่อฝ่ายไทยได้ขอเจรจาไปยังสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการเมื่อปีพ.ศ. 2556 และเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 ประเทศไทย ได้ส่งร่าง LD ซึ่งประกอบไปด้วย หลักการ หลักเกณฑ์ ตัวตรวจพิสูจน์ และกฎหมายอ้างอิง ไปยังสหภาพยุโรปตามมติการเจรจาระหว่างประเทศครั้งที่ 2 เอกสารดังกล่าวได้พัฒนาอยู่บนพื้นฐานกฎหมายของประเทศโดยมีสำนักกฎหมาย กรมป่าไม้ เป็นหัวหน้าคณะทำงานกลุ่มย่อยในการจัดทำเอกสารร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียก่อนนำเสนอคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง โดยช่วงการจัดทำร่างแรกได้มีการทดสอบภาคสนามในการใช้เอกสารดังกล่าวเป็นคู่มือในการทำความเข้าใจและติดตามไม้ตามห่วงโซ่อุปทานในพื้นที่ ก่อนจะนำข้อสังเกตมาพัฒนาปรับปรุงเอกสารซึ่งปัจจุบันเป็นร่างที่สอง
   
               ปัจจุบันร่าง LD ดังกล่าวจำเป็นต้องมีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับกฎหมายของประเทศที่ออกมาใหม่ โดยคณะทำงานกลุ่มย่อยจะทำงานร่วมกับที่ปรึกษาและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างใกล้ชิดเพื่อให้แน่ใจว่าการปรับปรุงจะครอบคลุมกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำไม้ในแง่มุมต่างๆ ซึ่งนอกจากจะเป็นกฎระเบียบภายใต้กรมป่าไม้แล้ว ยังมีกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการค้าที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงอีกด้วย
—————————————————————————————————————-

พระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2562 ซึ่งมีผลบังคับเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2562  เป็นต้นมา เป็นการแก้ไขกฎหมายเพื่อทำให้ไม้ทุกชนิดในที่ดินกรรมสิทธิ์หรือสิทธิ์ครอบครอง ตามประมวลกฎหมายที่ดิน ไม่เป็นไม้หวงห้าม ดังนั้น การตัด การโค่น การแปรรูป การนำเคลื่อนที่หรือการมีไว้ในครอบครอง ไม่จำเป็นต้องขออนุญาตกับพนักงานเจ้าหน้าที่ อย่างไรก็ดี การทำไม้ที่ถูกต้องตามกฎหมายและสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้เป็นประเด็นที่ตลาดโลกให้ความสนใจ ดังนั้น กรมป่าไม้จึงได้ดำเนินการกำหนดระเบียบตามมาตรา 18/2 แห่งพระราชบัญญัติ ป่าไม้ พุทธศักราช 2484 ว่าด้วยเรื่อง “ขอหนังสือรับรองไม้ ผลิตภัณฑ์ไม้ และถ่านไม้ เพื่อการค้าหรือการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร”  เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถนำไปใช้ประกอบในการส่งออกและยืนยันความถูกต้องรวมทั้งสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้แก่คู่ค้า

            ทั้งนี้ ระเบียบดังกล่าวอธิบดีกรมป่าไม้ได้ลงนามและส่งไปประกาศในราชกฤษจานุเบกษาเพื่อให้มีผลบังคับใช้ภายในเดือนมีนาคมนี้

มองเฟล็กที

 

มุมมองของคุณวิโรจน์ ติปิน ตัวแทนเครือข่ายป่าชุมชนภาคเหนือ กับเฟล็กทีในปัจจุบัน

คลิปสัมภาษณ์

Facebook
Facebook

Line Official
Line Official

Website
Website

YouTube
YouTube

สำนักงานเลขานุการไทย – อียู เฟล็กที (TEFSO)
เลขที่ 50 อาคารสมาคมนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร
กรุงเทพมหานคร 10900
โทร. 02-561-5102 – 3 โทรสาร 02-940-5676

ติดต่อเราผ่านอีเมลล์ที่:
tefso.rfd@tefso.org

 

This email was sent to *|EMAIL|*

why did I get this?    unsubscribe from this list    update subscription preferences

*|LIST:ADDRESSLINE|**|REWARDS|*

 

Comments are closed.

X