(TH) TEFSO E- Newsletter NO.19 (JUL-SEP’19)

ประเทศไทยได้จัดการประชุมหารือเพื่อพัฒนาร่างเอกสารภาคผนวกภายใต้ FLEGT VPA เพื่อใช้ในการเจรจากับสหภาพยุโรปอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการพัฒนาระบบรับประกันความถูกต้องตามกฎหมายของไม้ (THA-TLAS) และการควบคุมการนำเคลื่อนที่ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ (SCC) ……

<!doctype html>




 

ฉบับที่ 19 ประจำเดือน ,กรกฎาคม – กันยายน พ.ศ.2562


จดหมายข่าว TEFSO

สำนักงานเลขานุการไทย – อียู เฟล็กที

เปิดม่านมอง ส่องเฟล็กไทย

                 ประเทศไทยได้จัดการประชุมหารือเพื่อพัฒนาร่างเอกสารภาคผนวกภายใต้ FLEGT VPA เพื่อใช้ในการเจรจากับสหภาพยุโรปอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการพัฒนาระบบรับประกันความถูกต้องตามกฎหมายของไม้ (THA-TLAS) และการควบคุมการนำเคลื่อนที่ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ (SCC) ของประเทศไทยอีกด้วย นอกจากนี้ ยังมีการหารือเกี่ยวกับแนวทางการควบคุมการนำเข้าไม้ (Import Control) เพื่อทำให้แน่ใจว่าไม้ตลอดห่วงโซ่อุปทานจะสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ และไม่มีไม้ผิดกฎหมายเข้ามาปะปน แนวทางการนำเข้าไม้ถือเป็นแนวทางใหม่ของประเทศ ไทย แต่มิได้ใหม่สำหรับประเทศอื่น ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายในการคิดค้นแนวทาง รวมทั้งความเข้าใจและการยอมรับจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต่อการดำเนินการ
นอกจากนี้ ยังมีการหารือร่วมกันเกี่ยวกับการร่างกฎระเบียบเพื่อรองรับการปลดล็อคไม้บนที่ดินเอกชน โดยคณะทำงานได้นำเสนอแนวคิดและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในคณะกรรมการร่างกฎระเบียบนั้นด้วย ในส่วนของที่ดินรัฐนั้น ได้มีคณะทำงานหารือเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคเพื่อจักได้นำเสนอผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อไป

   ในช่วงรอบ 9 เดือนที่ผ่านมา มีการจัดประชุมทั้งหมด 24 ครั้ง ได้แก่ การประชุมคณะทำงานกลุ่มย่อย (Sub-Working Group) 16 ครั้ง การประชุมทางเทคนิคระหว่างประเทศไทยและสถาบันป่าไม้ยุโรป (Technical Meeting) 2 ครั้ง การประชุมทางไกล (Video Conference)

จำนวน 1 ครั้ง  และการประชุม คณะทำงานจัดทำข้อตกลงเป็นหุ้นส่วนด้วยความสมัครใจระหว่างประเทศไทยและสหภาพยุโรป (AHWG) 5 ครั้ง จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม 586 คน แบ่งเป็นเพศชาย 321 (57.78%) คน และเพศหญิง 268 (45.22%) คน

เฟล็กที ภาคีไทย

           สมาคมธุรกิจไม้ เป็นอีกหนึ่งองค์กรจากภาคธุรกิจซึ่งมีบทบาทในกระบวนการ FLEGT VPA อย่างเด่นชัด โดยการอาสาเป็นหัวหน้าคณะทำงานกลุ่มย่อยเพื่อหารือเกี่ยวกับแนวทางการควบคุมการนำเข้าไม้ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย ทั้งนี้ ยังเป็นผู้มีบทบาทในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งแนวคิดที่เกี่ยวกับการทำไม้ที่ถูกกฎหมาย และกระบวนการมีส่วนร่วมในการนำเสนอแนวทางที่มีผลกระทบต่อผู้ประกอบการค้าไม้น้อยที่สุดสู่ภาครัฐ
นอกจากนี้ แนวคิดที่จะป้องกันไม้ที่ผิดกฎหมายเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่การนำเข้านั้นมิได้เป็นสิ่งใหม่สำหรับประเทศอื่น โดยแนวคิดดังกล่าวมีหลายประเทศเพื่อนบ้านดำเนินการแล้วเสร็จ และกำลังดำเนินการอยู่ ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ประกอบการค้าไม้ของประเทศไทยนั้นมีศักยภาพในการแข่งขันทัดเทียมกับประเทศอื่น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกภาคส่วนจะต้องมาทำงานร่วมกันเพื่อทำให้แนวคิดนี้เกิดขึ้นและมีผลบังคับใช้ต่อไป

 
ตามติดชิดกฎหมาย (ไทย)

ดังที่กรมป่าไม้อยู่ในระหว่างการร่างระเบียบของมาตรา 18/1-3 เพื่อมารองรับการบังคับใช้ พ.ร.บ.ป่าไม้ จากความคืบหน้า ณ ปัจจุบัน ร่างระเบียบมาตรา 18/1 ได้ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการพัฒนากฎหมายแล้ว และมาตรา 18/2 จะมีการทบทวนครั้งสุดท้ายโดยคณะกรรมการฯในสิ้นเดือนกันยายน 2562 นี้ ทั้งนี้ มาตรา 18/1 และ 18/2 คาดว่าจะมีการเสนอเพื่อผ่านความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมในเดือนตุลาคม 2562 ต่อไป

          อย่างไรก็ดี มาตรา 18/3 นั้นยังต้องรอการหารือจากคณะอนุกรรมการฯ อีกครั้งหนึ่งก่อนจะนำประเด็นดังกล่าวส่งมอบให้คณะกรรมการพัฒนากฎหมายดำเนินการต่อไป
          เนื่องจาก พ.ร.บ.ป่าไม้ มาตรา 7 ได้มีการบังคับใช้แล้ว และไม้ต้องถูกต้องตามกฏหมายที่กรมป่าไม้จะมีการรับรองตามมาตรา 18/1 เพื่อรับรองแหล่งที่มา

ของไม้ ส่วนมาตรา 18/2 การรับรองเพื่อการส่งออกอยู่ในระหว่างเสนอให้รัฐมนตรีความเห็นชอบ โดยจะทราบผลประมาณกลางเดือนตุลาคม
          ส่วนในพื้นที่ป่าสงวน กรมป่าไม้ได้เสนอปรับปรุงระเบียบการเข้าใช้พื้นที่ คือ
          1.ระเบียบการใช้ประโยชน์เพื่อทำประโยชน์และการอยู่อาศัย ภายใต้กฏระเบียบของโครงการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล (คทช.)
          2. ระเบียบการอนุญาตปลูกป่า กรมป่าไม้ได้เสนอปรับปรุงแต่ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาเห็นชอบ ระเบียบตามมาตรา 16 (คทช.) และ 20 (เพื่อการปลูกป่า) เพื่อพิจารณาการใช้ประโยชน์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความถูกต้องของไม้

ข้อมูลโดยนายวิจารณ์ เสนสกุล,
ผู้อำนวยการส่วนกฎหมายและนิติกรรมสัญญา สำนักกฎหมาย กรมป่าไม้
17 กันยายน 2562

ส่องเฟล็กนอกหน้าต่าง

       อียูและเวียดนามให้สัตยาบันในข้อตกลงการทำไม้ผิดกฎหมายและการค้าไม้ที่ถูกกฎหมาย

     อียูและประเทศเวียดนามได้ลงนามสัตยาบันในการทำข้อตกลงการเป็นหุ้นส่วนด้วยความสมัครใจ ในการบังคับใช้กฎหมายป่าไม้ ….

มองอนาคตเฟล็กทีไทย

 

    ระบวนการเฟล็กทีไทยมีความสำคัญกับประเทศไทยอย่างไร?  อนาคตด้านการป่าไม้ของไทยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเฟล็กทีของไทยเป็นอย่างไร? ผ่านมุมมองของนางอุทารัตน์ ศุขสุเมฆ ….

คลิปสัมภาษณ์

Facebook
Facebook

Line Official
Line Official

Website
Website

YouTube
YouTube

สำนักงานเลขานุการไทย – อียู เฟล็กที (TEFSO)
เลขที่ 50 อาคารสมาคมนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร
กรุงเทพมหานคร 10900
โทร. 02-561-5102 – 3 โทรสาร 02-940-5676

ติดต่อเราผ่านอีเมลล์ที่:
tefso.rfd@tefso.org

 

This email was sent to *|EMAIL|*

why did I get this?    unsubscribe from this list    update subscription preferences

*|LIST:ADDRESSLINE|**|REWARDS|*

 

(TH) TEFSO E- Newsletter NO.19 (JUL-SEP’19)

Copyright © 2022 tefso.com. All rights reserved. By tefso.com

X