คณะทำงาน AHWG จัดการประชุมครั้งที่ 7 เพื่อให้คณะทำงานกลุ่มย่อยเข้ารายงานความก้าวหน้าและเพื่อพิจารณาเรื่องหน่วยงานในระบบ THA-TLAS และระบบที่จะใช้ในการควบคุมการนำเข้าไม้ของประเทศไทย

ในวันที่ 25 มิถุนายน 2563, คณะทำงาน AHWG จัดการประชุมครั้งที่ 7 เพื่อให้คณะทำงานกลุ่มย่อยเข้ารายงานความก้าวหน้าและเพื่อพิจารณาเรื่องหน่วยงานในระบบ THA-TLAS และระบบที่จะใช้ในการควบคุมการนำเข้าไม้ของประเทศไทย

นายอัครินทร์ วงศ์อภิรัตน์ หัวหน้ากลุ่มคณะทำงานย่อยขอบเขตผลิตภัณฑ์ (Product Coverages, PC) รายงานที่ประชุมถึงแผน

ในการกระชับความร่วมมือจากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามาสู่การหารือเรื่องขอบเขตผลิตภัณฑ์ในกระบวนการ FLEGT-VPA นายวิจารณ์ เสนสกุล หัวหน้ากลุ่มนิยามความถูกต้องทางกฎหมายของไม้ไทย (Legality Definition, LD)พร้อมด้วยนางสาว ภาวินี อุดมใหม่ ที่ปรึกษาร่างภาคผนวก รายงานความก้าวหน้าของการแก้ไขร่างซึ่งนำข้อแนะนำของคณะ AHWG เรื่องข้อกำหนดทางสิ่งแวดล้อม การคุ้มครองแรงงาน และความรับผิดชอบต่อสังคมพิจารณาเพิ่มลงไป นายวิชัติ ประธานราษฎร์ หัวหน้าคณะทำงานย่อยไม้เก่า (Reclaimed Timber, RT) นำเสนอแผนโครงการศึกษาการควบคุมห่วงโซ่อุปทานไม้เก่า นายประเมศร์ พายัพสถานนำเสนอแผนโครงการศึกษาประเมินศักยภาพขององค์กรภาคประชาสังคมในประเทศไทยในการทำหน้าที่เป็นองค์กรตรวจประเมินในกระบวนการ FLEGT-VPA

หลังจากการรายงานความก้าวหน้าจากคณะทำงานกลุ่มย่อย คณะทำงานฯพิจารณาข้อเสนอของคณะทำงานกลุ่มย่อย THA-TLAS เรื่องโครงสร้างของ THA-TLAS โดยคณะทำงานได้มอบหมายให้กรมป่าไม้นำข้อเสนอเรื่องหน่วยงานที่จะเข้ามาดูแลขั้นตอนการตรวจพิสูจน์และการออกหนังสือรับรองในระบบ THA-TLAS ขึ้นเสนอให้คณะทำงาน AHWG เมื่อพร้อม ส่วนคณะทำงานกลุ่มย่อย THA-TLAS ให้ทำการพัฒนาโครงสร้างของ THA-TLAS ต่อไปและนำขึ้นให้คณะทำงาน AHWG พิจารณา นายสมพร คงธนกฤตกร ที่ปรึกษาจากองค์กร Forest Trends นำเสนอสรุปการควบคุมการนำเข้าของสหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และสาธารณรัฐเกาหลี เพื่อเป็นข้อมูลเพิ่มเติมให้คณะทำงาน AHWG พิจารณาเรื่องการควบคุมการนำเข้า โดยคณะทำงานมีความเห็นว่าก่อนที่จะทำการตัดสินใจได้ต้องมีข้อมูลมากกว่านี้จึงได้มอบหมายให้คณะทำงานกลุ่มย่อยการควบคุมการนำเข้า (Import Control, IC) ไปศึกษาเรื่องนี้และนำเสนอให้คณะประชุม AHWG ต่อไป

Comments are closed.

X