การประชุมคณะทำงานจัดทำข้อตกลงเป็นหุ้นส่วนด้วยความสมัครใจฯ (Thai-EU FLEGT VPA) ครั้งที่ 2/2561

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2561 สำนักงานเลขานุการไทย-อียู เฟล็กที จัดประชุมคณะทำงานจัดทำข้อตกลงเป็นหุ้นส่วนด้วยความสมัครใจฯ (Thai-EU FLEGT VPA) ครั้งที่ 2/2561 ณ โรงแรมรามาการ์เด้น กรุงเทพมหานคร โดยการประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่คณะทำงานในการเข้าร่วมภาระกิจร่วมกับ EFI ในวันที่ 19-21 กุมภาพันธ์ 2561 มีนายบรรจง วงศ์ศรีสุนทร ผู้อำนวยการสำนักรับรองการป่าไม้ กรมป่าไม้ ทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุมดังกล่าว

จากการประชุมได้ข้อสรุปจากประเด็นสำคัญ ดังต่อไปนี้

1.การรายงานความก้าวหน้าการพัฒนาร่าง LD

คณะทำงานกลุ่มย่อยได้พิจารณารายงานการทดสอบภาคสนาม LD โดยเห็นว่าจากข้อเสนอแนะของที่ปรึกษานั้นสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่

  • มีในกฎหมายอยู่แต่ไม่ได้ระบุอยู่ใน LD ฉบับที่นำไปทดสอบภาคสนาม
  • มีกฎหมายระบุอยู่ใน LD แต่เห็นควรให้ตัดออก
  • ไม่มีกฎหมายจึงไม่ได้ระบุใน LD

โดยที่ปรึกษาได้มีการนำเสนอสิ่งที่ควรปรับปรุงและคณะทำงานกลุ่มย่อยเห็นด้วย ได้แก่

  • การปรับปรุงโครงสร้าง LD
  • การตัดเลื่อยโซ่ยนต์ออกจาก LD
  • การแยกรายละเอียดเรื่องตัวตรวจพิสูจน์ออกไปอีกภาคผนวกหนึ่ง
  • การเพิ่มตัวชี้วัดพื้น่ฐานด้านกฎหมายแรงงาน
  • ควรกำหนดมาตรการโรงงานด้านสิ่งแวดล้อมไว้ใน LD
  • เพิ่มเติมคำนิยามของไม้ เช่นไม้หวงห้าม ไม่ไม่ใช่ไม้หวงห้าม ไม้ตามพรบ.สวนป่า ลงใน LD

2. รายงานความก้าวหน้าแนวทางการพัฒนาร่าง TLAS

  • คณะทำงานกลุ่มย่อยเสนอความเห็นให้เพิ่มเติมกระบวนการออกเอกสารกรณีพิเศษ เช่น กรณีใบเบิกทางหาย บันทึกข้อมูลผิดพลาด พร้อมทั้งหารือเรื่องผลของการทดสอบ LD ในผู้ประกอบการรายใหญ่และรายย่อย
  • นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงมติคณะทำงานกลุ่มย่อย LD และเห็นชอบว่าควรแยกกระบวนการตรวจพิสูจน์ของจาก LD มาเป็นอีกภาคผนวกหนึ่ง และควรเพิ่มเติมกระบวนการตรวจพิสูจน์สำหรับไม้หรือผลิตภัณฑ์ที่มิได้ระบุใน LD ลงไว้ใน TLAS
  • คณะทำงานกลุ่มย่อยเห็นว่าไม่ควรระบุบทบาทของพ่อค้าคนกลาง สำหรับการจัดเก็บเอกสารนั้น ที่ประชุมมีมติให้บุคคลผู้เกี่ยวข้องในกระบวนการที่ไม้อยู่เป็นผู้เก็บเอกสารหลักฐาน โดยนำการจัดทำเอกสารลักษณะคล้าย delivery note ซึ่งมีอยู่เดิมมาประยุกต์ใช้ในระบบ
  • นอกจากนี้ยังมีมติเห็นชอบให้ไม้ไม่หวงห้ามบนที่ดินเอกชน, ไม้เชื้อเพลิงอัดเม็ด, และไม้สับ เป็นประเด็นที่ควรใส่ในกระบวนการตรวจพิสูจน์ใน TLAS พร้อมทั้งตรวจสอบว่าไม้เชื้อเพลิงอัดเม็ดและไม้สับอยู่ในขอบเขตผลิตภัณฑ์ตาม EUTR หรือไม่ หากไม่อยู่ให้ตัดทั้งสองชนิดออก

3. การพิจารณาเอกสารคำอธิบายการตรวจพิสูจน์ไม้ที่มิใช่ไม้หวงห้ามบนที่ดินเอกชน

  • ที่ประชุมเห็นชอบให้ปรับแก้ 1)คำนิยามของที่ดินเอกชน 2)คำนิยามของไม้หวงห้ามและไม้ไม่หวงห้ามบนที่ดินเอกชน และ 3) การดำเนินการที่เกี่ยวกับไม้ไม่หวงห้ามบนที่ดินเอกชน (พร้อมแผนผัง)

4.การพิจารณาเอกสารการอธิบายการควบคุมการนำเข้าไม้

  • คณะทำงานกลุ่มย่อยเสนอให้ กรมป่าไม้ กรมวิชาการเกษตร และกรมศุลกากร ดำเนินการเพิ่มเติมรายละเอียดเกี่ยวกับกระบวนการตรวจสอบ  และบทลงโทษที่เกี่ยวกับการนำเข้า ซึ่งเอกสารดังกล่าวจะเผยแพร่ต่อผู้แทนสหภาพยุโรปเพื่อช่วยเสริมสร้างความเข้าใจในกระบวนการนำเข้าไม้ของไทย สำหรับประเด็นการออกกฎหมายเพื่อรองรับระบบ DDS นั้น ฝ่ายไทยควรพิจารณาอย่างรัดกลุม และการออกกฎหมายใดก็ตามจะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการรายย่อย

5. การประชุมครั้งถัดไป

  • การประชุม AHWG ครั้งต่อไปจะจัดขึ้นในวันที่ 26 เมษายน 2561

 

Comments are closed.

X