วันที่ 18 มีนาคม 2564 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกรมป่าไม้ จัดงานวันป่าไม้โลก เพื่อเฉลิมฉลองความสำคัญของป่าไม้ ต่อการบรรเทาปัญหาสภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ จนถึงประโยชน์ทางเศรษฐกิจของป่าไม้ กิจกรรมจบไปอย่างประสบความสำเร็จ โดยมีการเข้าร่วมจากทุกภาคส่วนของประเทศไทย และนานาชาติ จากคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย องค์กร FAO สถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลีย และสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลี ที่มาร่วมกันรับรู้ และแสดงความยินดี ต่อ การทำงานของประเทศไทยทั้งในประเทศ และระหว่างประเทศในการฟื้นฟูป่าไม้ เพื่อความผาสุขของประเทศและโลก
เอกอัครราชทูตแห่งสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย Mr. Pirkka Tapiola ตัวแทนจากองค์กร FAO Mr. Thomas Hofer, Senior Forestry Officer รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายวราวุธ ศิลปอาชา ร่วมกล่าวเปิดงาน เฉลิมฉลองความร่วมมือระหว่างประเทศไทย และนานาชาติในการพัฒนาป่าไม้
‘สหภาพยุโรป ได้ทำงานร่วมกันกับรัฐบาล ภาคประชาสังคม และประชาคมโลก เพื่อร่วมพัฒนาภาคป่าไม้ของประเทศไทย…กระบวนการเจรจา VPA เป็นความร่วมมือหนึ่งในสำคัญที่สุดตอนนี้ กระบวนการดังกล่าวได้นำไปสู่การแก้ไขกฎหมายของประเทศไทย แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลไทย ที่จะแก้ปัญหาที่มีในกฎระเบียบการปลูกไม้ในที่ดินเอกชน ป่าชุมชน และมากไปกว่านั้น รัฐบาลไทยยังตั้งใจส่งเสริมการเข้าร่วมในภาคป่าไม้ในระดับชุมชน’ กล่าวโดย Mr. Pirkka Tapiola
Mr. Thomas Hofer เน้นย้ำเป้าหมายหลักของวันป่าไม้โลกแห่งปีนี้ ซึ่งเน้นย้ำถึงประโยชน์ของป่าไม้ ต่อความผาสุขของโลก และบทบาทของป่าไม้ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจท่ามกล่างการระบาดของโควิด-19 มากไปกว่านั้น Mr. Hofer กล่าวขอบคุณการทำงานร่วมกันระหว่าง FAO สหภาพยุโรป และประเทศไทย ใน FAO-EU FLEGT Programme ซึ่งได้ลงเงินทุนไปแล้วกว่า 50 ล้านบาท เพื่อสนับสนุน 21 โครงการในประเทศไทย โดยโครงการได้บรรลุเป้าหมายมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเข้ามีส่วนร่วมของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เข้มแข็ง การพัฒนาระบบรับประกันความถูกต้องตามกฎหมายของไม้ของประเทศไทย และระบบ QR code เพื่อการสืบย้อนกลับไม้ การทำงานร่วมกันระหว่างภาคส่วนที่หลากหลาย ได้เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกว่าหลาย 100 คนจากทุกภาคส่วน ได้ร่วมกันหารือเพื่อพัฒนาป่าไม้
นายวราวุธ ศิลปอาชา กล่าวถึงความมุ่งมั่นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อทำให้ประเทศไทย เป็นประเทศที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน นายวราวุธ กล่าวย้ำว่านโยบายของประเทศไทยจะเดินหน้าไป เพื่ออนุรักษ์ป่าไม้ นอกจากอนุรักษ์แล้ว ยังต้องสามารถให้ประชาชนได้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากป่าไม้ด้วย เช่น การขายคาร์บอนสต็อก
ในช่วงสุดท้ายของงาน ตัวแทนของประเทศไทย ออสเตรเลีย และคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย ร่วมกันหารือในหัวข้อ การค้าไม้ที่ยั่งยืน และการร่วมมือด้านป่าไม้
Ms. Amber Parr, Counsellor-Agriculture จากสถานทูตประเทศออสเตรเลีย นำเสนอกฎระเบียบของประเทศออสเตรเลียเพื่อหยุดการทำไม้ผิดกฎหมาย ในฐานะประเทศผู้ค้าไม้ ประเทศออสเตรเลีย ให้ผู้นำเข้าไม้ทุกคนต้องทำ due diligence ไม้ก่อนนำเข้า ในปัจจุบันประเทศออสเตรเลีย และประเทศไทย อยู่ระหว่างการพัฒนาแนวทางความถูกกฎหมายของไม้ไทย เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้นำเข้าไม้ไทยเข้าประเทศออสเตรเลีย
Ms. Jenni Lundmark, Programme Officer จากคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย นำเสนอแผนปฏิบัติการเฟล็กที ซึ่งมีจุดมุ่งหมายหยุดปัญหาการทำ และค้าไม้ผิดกฎหมายทั้งในด้านของประเทศผู้ค้า และประเทศผู้ผลิต ส่วนหนึ่งของแผนปฏิบัติการเฟล็กที คือการเข้าเจรจาการเป็นหุ้นส่วนด้วยความสมัครใจกับประเทศผู้ผลิตไม้ หนึ่งในนั้นคือประเทศไทย เมื่อประเทศไทยเซ็นสัญญาข้อตกลงแล้ว รัฐบาลของประเทศต้องพัฒนา และเริ่มใช้ระบบรับประกันความถูกต้องตามกฎหมายของไม้ไทย โดยระบบจะทำการตรวจพิสูจน์ และรับรอง ไม้ถูกกฎหมายจากประเทศไทย เพื่อการส่งออกไปยังตลาดนานาชาติ ระบบจะทำให้มั่นใจได้ว่า ไม้ส่งออกจากไทย เป็นไปตามกฎระเบียบป่าไม้ของประเทศไทย และสามารถตรวจสอบย้อยกลับห่วงโซ่อุปทานได้ ยิ่งกว่านั้น ไม้ที่มีหนังสือรับรองเฟล็กที จะได้รับสิทธิเข้าตลาดยุโรปพิเศษ เป็นการให้ประโยชน์ทางการค้ากับไม้ที่ปฏิบัติตามกฎหมาย
นายสภลท์ บุญเสริมสุข ผู้อำนวยการ สำนักการป่าไม้ต่างประเทศ หารือนโยบายป่าไม้ของประเทศไทย ซึ่งดำเนินตามนโยบายของประเทศไทย ในเป้าหมายการพัฒนาและเติบโตอย่างยั่งยืน โดยมุ่งหมายเพิ่มพื้นที่ป่า และสนับสนุนการทำและค้าไม้ถูกกฎหมาย ประเทศไทยได้เริ่มแก้ไขกฎหมาย เพื่อรองรับการควบคุมห่วงโซ่อุปทานไม้ จากจุดตัด ถึง จุดขาย หรือ ส่งออก มากไปกว่านั้น กรมมป่าไม้ ยังได้เข้าทำงานร่วมกับ ประเทศต่างๆ องค์กรนานาชาติ และบริษัทเอกชน เพื่อหยุดการเข้ามาของไม้ผิดกฎหมายในห่วงโซ่อุปทานของไม้ไทย