(TH) TEFSO E-NEWSLETTER NO.14 (JUL-AUG’18)

ประเทศไทยและอียูได้มีการประชุมผู้เชี่ยวชาญร่วมครั้งที่ 4 และการเจรจาเฟล็กทีครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 17 และ 19 ก.ค. ตามลำดับ ซึ่งในการประชุมได้มีการหารือถึงประเด็นต่างๆ ดังนี้



 



ฉบับที่ 14 ประจำเดือน กรกฎาคม – สิงหาคม พ.ศ.2561


                จดหมายข่าว TEFSO


สำนักงานเลขานุการไทย – อียู เฟล็กที

The FLEGT
ประเทศไทยได้อะไรบ้างหลังการเจรจาเฟล็กทีกับอียูครั้งที่ 2

ประเทศไทยและอียูได้มีการประชุมผู้เชี่ยวชาญร่วมครั้งที่ 4 และการเจรจาเฟล็กทีครั้งที่ 2      เมื่อวันที่ 17 และ 19 ก.ค. ตามลำดับ ซึ่งในการประชุมได้มีการหารือถึงประเด็น
  • ความก้าวหน้าของนิยามความถูกต้องตามกฎหมายของไม้และการจ้างที่ปรึกษา เพื่อช่วยคณะทำงานในการจัดทำภาคผนวกดังกล่าว โดยมีแผนว่าจะเสร็จภายในสิ้นปี พ.ศ. 2561
  • มติในการไม่รวมผลิตภัณฑ์รีไซเคิลเข้าสู่ภาคผนวกขอบเขตผลิตภัณฑ์
  • การเห็นชอบในการสนับสนุนโครงการในการจัดทำการทดสอบภาคสนามเกี่ยวกับ        ข้อเสนอการควบคุมการนำเคลื่อนที่ไม้บนที่ดินเอกชน และการควบคุมการนำเข้าไม้
  • ซักถามเบื้องต้นเกี่ยวกับร่าง FLEGT VPA ในส่วนแรก เพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกัน
  • การเห็นชอบใน VPA Roadmap โดยมีระยะเวลาตั้งแต่การเจรจาครั้งนี้ จวบจนการเจรจาครั้งหน้าในปี พ.ศ. 2561 โดยจะมีการจัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญร่วม 2 ครั้ง และการเจรจาอีก 1 ครั้ง
หลังจากนี้ประเทศไทยโดยคณะทำงานระดับต่างๆ โดยเฉพาะคณะทำงานกลุ่มย่อยและ AHWG จะเริ่มดำเนินการหารือและทำงานร่วมกับที่ปรึกษา รวมทั้งหารือกับผู้เชี่ยวชาญจาก EFI เกี่ยวกับการปรับปรุงเอกสาร รวมถึงแนวทางในการทำการทดสอบและวางแนวทางใหม่เพื่อให้แน่ใจว่าจะมีการตรวจสอบย้อนกลับไม้ในประเทศไทยได้อย่างถูกต้องและเป็นที่ยอมรับ พร้อมกับเสริมสร้างศักยภาพทางการค้ากับต่างประเทศ

วงเล่า
ที่ปรึกษา Supply Chain Control และผู้แทนจากสถาบันป่าไม้ยุโรป เข้าพบและหารือกับผู้แทน        จากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2561 นาย James Sandom          ที่ปรึกษาเรื่อง Supply Chain Control และนาย          Alex Hinrichs ผู้แทนจากสถาบันป่าไม้ยุโรป และดร.สมฤดี นิโครวัฒนยิ่งยง (EU FLEGT Facilitator) ได้พบและหารือกับนางสาวรุ่งนภา วัฒนวิเชียร ผู้แทนจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและผู้รับผิดชอบโครงการสำรวจการสำแดงตน (Self-Declaration) และนางสาวปานจิต ตันสม ที่ปรึกษาโครงการฯ ณ สำนักงานเลขานุการ ไทย- อียู    เฟล็กที โดยมีจุดประสงค์เพื่อหารือเกี่ยวกับ workplan และแนวทางการดำเนินงานของนาย James Sandom รวมทั้งนางสาวรุ่งนภา วัฒนวิเชียร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในส่วนงานที่มีความเกี่ยวเนื่องกันโดยนาย James Sandom จะมีหน้าที่สำรวจความเป็น    ไปได้ของการสำแดงตนเองของไม้ทุกชนิด ผ่านการสำรวจเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของไม้ เริ่มตั้งแต่สวนปลูกจนกระทั่งเมื่อถึงโรงงาน ในขณะที่ฝ่ายผู้แทนจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจะมีหน้าที่สำรวจความเป็นไปได้ของไม้ไม่หวงห้าม รวมทั้งเอกสารต่างๆ จนตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Chain of Custody: CoC)
อ่านเพิ่มเติมได้ที่:TEFSO.org

ส่องเฟล็กที
ประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งบันความคืบหน้าภายใต้การดำเนินงานเกี่ยวกับความถูกต้องตามกฎหมาย

ผู้แทนหน่วยงานต่างๆ และประเทศสมาชิกใน ASEAN รวมถึงผู้แทนอียูพบปะเพื่อแบ่งปันความคืบหน้าภายใต้ความพยายามในระดับประเทศและในระดับภูมิภาค เพื่อแก้ไขการลักลอบตัดไม้และการค้าที่เกี่ยวข้อง

การประชุมมุ่งเน้นเกี่ยวกับความพยายามระดับชาติในการรับประกันความถูกต้องตามกฎหมายของสินค้าไม้ รวมถึงการดำเนินการผ่านข้อตกลง FLEGT VPA ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมประชุมได้เปิดโอกาสให้มีการนำเสนอความก้าวหน้าในกระบวนการ FLEGT VPA ของประเทศสมาชิก รวมถึงแบ่งปันประสบการณ์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ระหว่างประเทศอีกด้วย

มุมภาคี

สถาบันป่าไม้ยุโรป โดย EU FLEGT Facility ร่วมกับเทศบาลตำบลบ้านธิ จังหวัดลำพูน          ได้ดำเนินโครงการศึกษาการนำร่องพัฒนาศักยภาพ (Pilot study) ให้กับกลุ่มตัวแทนผู้ประกอบการไม้เก่า (Reclained wood/Recycle wood) ตำบลบ้านธิ ตำบลห้วยหยาบและตำบล            มะเขือแจ้ จังหวัดลำพูน ซึ่งเป็นการต่อยอดผลการศึกษา “การวินิจฉัยและการประเมินกฎระเบียบที่มีผลกระทบต่อผู้ประกอบการด้านผลิตภัณฑ์ ป่าไม้ขนาดเล็ก ระดับจุลภาค และที่อยู่นอกระบบในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (ประเทศไทย)” และ “การศึกษาผู้ประกอบการด้านผลิตภัณฑ์ป่าไม้ขนาดเล็ก ระดับจุลภาค  และที่ไม่เป็นทางการ (SmEs) ซึ่งโครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการการแข่งขันในตลาดเฟอร์นิเจอร์ เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับการรวมกลุ่มของผู้ประกอบการ และการประกอบกิจการอย่างถูกต้องตามกฏหมาย รวมทั้งพัฒนาบทบาทสตรีในอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์โดยได้พัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องไปกับกระบวนการพัฒนา TLAS และ VPAs ของประเทศไทย ในระยะที่หนึ่ง (ระยะแรก) โครงการจะดำเนินการพัฒนาศักยภาพโดยการฝึกอบรม ซึ่งจะดำเนินการดำเนินการทุกเดือนจนถึงสิ้นปี 2561          ผลสัมฤทธิ์จากการฝึกอบรมจะได้รับการติดตามและประเมินผลเพื่อวางแผนงานการพัฒนาศักยภาพในระยะที่สองต่อไป

สำนักงานเลขานุการไทย – อียู เฟล็กที (TEFSO)
เลขที่ 50 อาคารสมาคมนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900  โทร. 02-561-5102, 02-561-5103 โทรสาร 02-940-5676 Website: www.tefso.org Facebook: TEFSO LINE: @TEFSO

 

 

Comments are closed.

X