(TH) TEFSO E- Newsletter NO.22 (APR-JUL’2020)

ฉบับที่ 22 ประจำเดือน เมษายน-กรกฎาคม พ.ศ. 2563


จดหมายข่าว TEFSO
 

สำนักงานเลขานุการไทย – อียู เฟล็กที
     ระบบรับประกันความถูกต้องตามกฎหมายของไม้ไทยหรือ THA-TLAS ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อป้องกันไม้ผิดกฎหมายเข้าสู่ระบบห่วงโซ่อุปทานโดยพัฒนาจากองค์ประกอบหลักที่มีอยู่ในประเทศในปัจจุบันซึ่งรวมถึงการนำเข้า-ส่งออก-และการปลูกประกอบไปด้วยห้าองค์ประกอบ ได้แก่
 
1. นิยามความถูกต้องทางกฎหมายของไม้ของประเทศไทย (Legality Definition, LD) 
คือกฎระเบียบและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการทำไม้ที่มีอยู่ของประเทศมาเรียงร้อยในรูปแบบที่สอดคล้องกันประกอบไปด้วยหลักการ หลักเกณฑ์ ตัวชี้วัด และตัวตรวจพิสูจน์
โดยแยกเป็น 6 ผู้ประกอบการ (Operator) แยกตามบทบาทหน้าที่แหล่งที่มาและกิจกรรมของไม้ นอกจากกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำไม้และการค้า นิยามความถูกต้องทางกฎหมายฯ            ยังครอบคลุมกฎระเบียบการควบคุมด้านสิ่งแวดล้อมสังคมและสวัสดิภาพแรงงานและอื่นๆที่เกี่ยวข้องเพื่อทำให้แน่ใจว่าไม้ที่ได้มานั้นถูกต้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องในทุกด้าน (
รายละเอียดเพิ่มเติม)

2. การควบคุมห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Control, SCC)
คือการนำห่วงโซ่อุปทานการทำไม้ของประเทศมาร้อยเรียงและชี้ให้เห็นถึงจุดควบคุมสำคัญ  หรือ CCPs (Critical Control Points) ในการบันทึกข้อมูล
และการควบคุมตั้งแต่การนำเข้า-การปลูก-การตัด-การนำเคลื่อนที่-การแปรรูปและการส่งออก
โดยมีวัตถุประสงค์ให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้อันเป็นสิ่งสำคัญของการค้าไม้กับนานาประเทศในปัจจุบัน (
รายละเอียดเพิ่มเติม)

3. การตรวจพิสูจน์ (Verification)
ว่าด้วยเรื่องกระบวนการตรวจพิสูจน์ของเจ้าหน้าที่ว่าผู้ประกอบการได้ดำเนินการตามสองขั้นแรกครบถ้วนหรือไม่ โดยจะมีการประสานงานหรือเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อตรวจสอบการดำเนินการที่ครบถ้วนเป็นไปตามกฎระเบียบข้อบังคับที่กำหนดของประเทศ (
รายละเอียดเพิ่มเติม)
 
4. การออกหนังสือรับรองเฟล็กที (FLEGT Licensing Scheme)
ว่าด้วยเรื่องกระบวนการออกหนังสือรับรองเฟล็กทีรวมทั้งกลไกการดำเนินการหากพบข้อสงสัยเกี่ยวกับการทำงานของระบบ THA-TLAS เช่นข้อสงสัยในผลการตรวจพิสูจน์ และการประสานงานกับประเทศปลายทางหากมีข้อสงสัย (รายละเอียดเพิ่มเติม)

5. การตรวจสอบอิสระ (Independent Audit, IA)
เป็นกระบวนการตรวจสอบจากหน่วยงานที่มิได้มีส่วนได้ส่วนเสียกับระบบทำไม้ของประเทศเพื่อแสดงความโปร่งใสโดยเป็นการตรวจสอบระบบในภาพรวมเพื่อนำมาพิจารณาแก้ไขให้ระบบมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับสถานการณ์จริง (รายละเอียดเพิ่มเติม)
 
ก้าวกับ FLEGT
      
     การแก้ไขพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2562 ปัจจุบันระเบียบดังกล่าวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้เห็นชอบและอธิบดีกรมป่าไม้ได้ลงนามประกาศใช้บังคับแล้วเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2563 ซึ่งระเบียบนี้เพื่อใช้รับรองว่าไม้นั้นเป็นไม้ที่ได้มาโดยชอบด้วยกฎหมายและใช้เป็นหลักฐานประกอบการขออนุญาตการส่งออกไม้ไป
นอกราชอาณาจักรต่อกรมการค้าต่างประเทศ และกระทรวงพาณิชย์ 

     ส่วนระเบียบกรมป่าไม้ที่จะกำหนดให้สถาบันหรือองค์กรอื่นเป็นผู้รับรองแหล่งที่มาของไม้หรือรับรองไม้ ผลิตภัณฑ์ไม้ และถ่านไม้ เพื่อการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร แทนกรมป่าไม้ ซึ่งออกตามความในมาตรา 18/3 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2562 นั้น
ขณะนี้ระเบียบดังกล่าวอยู่ระหว่างการดำเนินการ และได้ดำเนินการกำหนดคุณสมบัติของสถาบันหรือองค์กรอื่นที่จะมารับรองแทนกรมป่าไม้และอัตราค่าใช้จ่ายในการรับรองเสร็จแล้ว ขณะนี้อยู่ในระหว่างการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหากมีข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะอย่างไรจะนำมาปรับปรุงให้สอดคล้องต่อไป คาดว่าในเดือนสิงหาคมนี้จะเสนอให้คณะกรรมการพัฒนาแก้ไขปรับปรุงกฎหมายของกรมป่าไม้พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนที่อธิบดีจะลงนามประกาศบังคับใช้ต่อไป
3 ทางเลือกในการรับรองไม้ที่ขึ้นในที่ดินกรรมสิทธิ์หรือสิทธิ์ครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน
 
     เพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจป่าไม้ของประเทศไทย กรมป่าไม้ได้แก้ไขมาตราที่ 7 แห่งพรบ.ป่าไม้อนุญาตให้สามารถทำไม้ทุกชนิดบนที่ดินกรรมสิทธิ์หรือสิทธิ์ครอบครองตามกฎหมายที่ดินได้โดยเสรี (พระราชบัญญัติป่าไม้ พศ ๒๔๘๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม อ่านต่อ) จากนั้นกรมป่าไม้ได้ออกประกาศแนวทางการรับรองไม้ที่ขึ้นในที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิ์ครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดินให้ผู้ทำไม้นำไปใช้เพื่อรับรองว่าไม้ตนมาจากที่ดินกรรมสิทธิ์หรือสิทธิ์ครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดินจริง ทางของไม้ฉบับนี้จึงขอนำแนวทางการขึ้นทะเบียนทั้งสามแนวทางมาเผยแพร่ให้ผู้อ่านเลือกนำไปใช้ตามความเหมาะสม

1. ขึ้นทะเบียนสวนป่า
ขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่าตามพระราชบัญญัติสวนป่า พศ 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เมื่อทำการตัดฟันไม้หรือนำเคลื่อนไม้จะได้รับเอกสารหลักฐานเพื่อใช้กำกับควบคุมตามพระราชบัญญัตินี้ (อ่านต่อ)

2. ทำหนังสือรับรองตนเอง
จัดทำหนังสือรับรองตนเองว่าไม้ที่นำเคลื่อนเป็นไม้ที่ได้มาจากที่ดินกรรมสิทธิ์หรือสิทธิ์ครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดินของตนโดยอาจจะให้กำนันผู้ใหญ่หรือผู้ใหญ่บ้านลงนามเป็นพยาน และในอนาคตกรมป่าไม้อาจทำการมอบหมายองค์กรเช่นสหกรณ์สวนป่าภาคเอกชนให้สามารถทำหน้าที่รับรองแหล่งที่มาของไม้แทนกรมป่าไม้*  (อ่านต่อ)

3. ออกหนังสือรับรองไม้ตามมาตรา 18/1 และมาตรา 18/2
ยื่นคำขอต่อเจ้าหน้าที่เพื่อให้ออกหนังสือรับรองไม้เพื่อจำแนกแหล่งที่มาของไม้เพื่อการค้าหรือส่งออกตามมาตรา18/1และมาตรา18/2 (อ่านต่อ)

        การนำไม้ไปรับรองง่ายนิดเดียวคะแล้วประโยชน์ที่ได้ก็มีมากมายด้วยเช่นไว้ใช้เป็นหลักฐานเพื่อแสดงแก่เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้และเสริมสร้างความมั่นใจของผู้ซื้อว่าไม้ที่ได้มาถูกต้องตามกฎหมายแน่นอน

หมายเหตุ* รูปแบบการรับรองตนเองยังอยู่ในระหว่างการหารือเพิ่มเติมต่อไปตามรูปแบบการใช้ประโยชน์
 
FLEGT กับการจัดการไม้บนที่ดินเอกชน
         ในอดีตการตัดไม้ที่มีชนิดพันธุ์เดียวกับไม้หวงห้ามนั้นจำเป็นต้องขออนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายพระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ. 2484 ซึ่งขัดกับนโยบายของรัฐที่กล่าวถึง“การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและการรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน”การส่งเสริมการปลูกไม้และสร้างพื้นที่สีเขียว
กระบวนการเฟล็กทีเป็นกระบวนการที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการทำไม้โดยมุ่งหวังให้เกิดธรรมาภิบาล และส่งเสริมการค้าไม้ที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งเริ่มต้นขึ้นเมื่อ 6 ปีก่อนโดยเริ่มจากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย วิเคราะห์ประเด็นปัญหา รวมทั้งแนวทางการแก้ไข ซึ่งการยกเลิกประกาศว่าด้วยไม้หวงห้ามบนที่ดินเอกชนเป็นประเด็นแรกๆ ที่เกิดจากการผลักดันของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกระบวนการเฟล็กที
หลังจากมีการยกเลิกระเบียบดังกล่าว ปัจจุบันคณะทำงานที่ประกอบไปด้วยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียซึ่งเป็นผู้แทนจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้อยู่ในกระบวนการเสนอแนวทางในการจัดการไม้บนที่ดินเอกชนเพื่อป้องกันไม้ที่ผิดกฎหมายเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานซึ่งเป็นเจตนารมย์ของประเทศ  และส่งเสริมการค้าไม้ที่ถูกต้องตามกฎหมายอันจะทำให้ผู้ประกอบการสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้

 
สัมภาษณ์พิเศษ
FLEGT-VPA ผ่านมุมมองของคุณวิชัติ ประธานราษฎร์ นายกสมาคมไม้เก่าจากจังหวัดลำพูน

(วิดีโอสัมภาษณ์)
Facebook
Facebook
Line Official
Line Official
Website
Website
YouTube
YouTube
สำนักงานเลขานุการไทย – อียู เฟล็กที (TEFSO)
เลขที่ 50 อาคารสมาคมนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร
กรุงเทพมหานคร 10900  
โทร. 02-561-5102 – 3 โทรสาร 02-940-5676 
ติดต่อพวกเราทางอีเมลได้ที่: tefso.rfd@tefso.org






This email was sent to *|EMAIL|*
why did I get this?    unsubscribe from this list    update subscription preferences
*|LIST:ADDRESSLINE|*

*|REWARDS|*

Comments are closed.

X