Due Diligence แนวทางการควบคุมการนำเข้าไม้ ที่ประเทศไทยต้องเรียนรู้เพื่อพัฒนา

           คณะศึกษาดูงานของประเทศไทย นำโดยนางกันตินันท์ ผิวสอาด ผู้อำนวยการสำนักเศรษฐกิจการป่าไม้ กรมป่าไม้ พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่จากกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ สำนักกฎหมาย กรมป่าไม้ สำนักงานเลขานุการไทย – อียู เฟล็กที (TEFSO) ได้เดินทางไปศึกษาแนวทางในการควบคุมการนำเข้าไม้ของประเทศอังกฤษ และเยอรมัน ระหว่างวันที่ 13-17 มกราคม ที่ผ่านมา โดยได้รับการสนับสนุนจาก Forest Trend มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจระบบการควบคุมการนำเข้าไม้ผ่านกระบวนการ Due Diligence (DD) ของทั้งสองประเทศ ซึ่งได้เข้ารับฟังและหารือกับหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องของประเทศดังกล่าว ได้แก่
Kew Garden (Royal Botanical Garden) สวนพฤกษศาสตร์ ห้องสมุดพันธุ์ไม้ และศูนย์ตรวจพิสูจน์ชนิดพันธุ์ไม้ ซึ่งทำงานร่วมกับบริษัท Agroisolab บริษัทเอกชนผู้ตรวจเคราะห์แหล่งกำเนิดของไม้โดยใช้เทคโนโลยี Stable Isotope
Office of Safety and Standards – หน่วยงานบังคับใช้ EUTR (Competent Authority: CA) ของประเทศอังกฤษ
NEPCon – หน่วยงานอิสระที่ลงทะเบียนเป็นหน่วยประเมินและติดตาม (Monitoring Organisation: MO) ภายใต้ EUTR ของสหภาพยุโรป
          1. Track Record Global (TRG) – บริษัทที่ปรึกษาที่ให้คำปรึกษาการทำ Due Diligence
          2. Timber Trade Federation (TTF) – สภาการค้าไม้ที่ให้คำปรึกษาการทำ Due Diligence แก่สมาชิก
          3. Federal Office for Agriculture and Food (BLE) – หน่วยงานบังคับใช้ EUTR (Competent Authority: CA) ของประเทศเยอรมัน
          4. Forest Stewardship Council (FSC) – องค์กรรับรองมาตรฐานการจัดการป่าไม้ (Forest Certification) และผู้สนับสนุนข้อมูลเพื่อยืนยันแหล่งที่มาของไม้จากสวนป่าที่ได้รับการรับรอง FSC Certificate

          “การศึกษาดูงานครั้งนี้ถือเป็นโอกาสอันดีที่ได้เรียนรู้กระบวนการ Due Diligence ซึ่งเป็นแนวทางที่หลายประเทศไม่ว่าจะเป็นในยุโรปหรืออาเซียนใช้ในการควบคุมการนำเข้าไม้เพื่อให้แน่ใจว่าไม้ที่นำเข้ามาจากแหล่งที่มาที่ถูกต้องตามกฎหมายและสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ ซึ่งผู้ประกอบการเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการดำเนินการดังกล่าว ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความรับผิดชอบในการค้า ในส่วนของประเทศไทยจะมีการหารือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อพัฒนาแนวทางให้เหมาะกับประเทศไทย ต่อไป” นางกันตินันท์ กล่าว

          การศึกษาดูงานครั้งนี้ ได้เสริมสร้างความเข้าใจของคณะศึกษาดูงาน ในกระบวนการ Due Diligence ภายใต้ EUTR ซึ่งจะนำมาหารือและทำความเข้าใจกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใต้กระบวนการจัดทำ FLEGT VPA ต่อไป

 
     
 

 

Comments are closed.

X