23 มกราคม 2561 – ห้องประชุมสำนักงานเลขานุการ ไทย – อียู เฟล็กที ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้แทนภาคประชาสังคม จัดการประชุมคณะทำงานกลุ่มย่อยเพื่อพิจารณาและให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับรายงานผลการลงพื้นที่ทดสอบภาคสนาม โดยผลการประชุมดังกล่าวจะถูกส่งให้ที่ปรึกษาฯ ในการจัดทำการทดสอบภาคสนามฯ ในการปรับปรุงร่างรายงานฉบับดังกล่าวให้สมบูรณ์ ทั้งนี้ข้อสรุปจะถูกนำเสนอต่อคณะทำงานจัดทำข้อตกลงเป็นหุ้นส่วนด้วยความสมัครใจระหว่างประเทศไทยและสหภาพยุโรปในหารประชุมครั้งต่อไป
ข้อสรุปและประเด็นสำคัญจากการประชุม
- ที่ประชุมเห็นชอบให้ปรับโครงสร้าง LD ตามข้อเสนอของที่ปรึกษา
- แยกรายละเอียดเรื่องการตรวจพิสูจน์ออกจาก LD เป็นอีกภาคผนวกหนึ่ง (เช่น TLAS หรือ SSC)
- ตัด พรบ.เลื่อยโซ่ยนต์ ออกจาก LD
- ควรแยกความแตกต่างระหว่างข้อกำหนดของแรงงานกับการจ้างเหมาลงใน TLAS (ประเด็นนี้ไม่ควรระบุลงในเอกสารก่อน แต่สามารถใส่ภายหลังหากมีมติของสองประเทศ)
- ใส่รายละเอียดตัวชี้วัดที่เกี่ยวกับแรงงานเด็ก แรงงานต่างด้าว ประเภทของงานที่เกี่ยวกับเด็ก และประเด็นอื่นๆ ขั้นต่ำตามสากล
- เพิ่มเติมตัวชี้วัดและตรวจพิสูจน์ของในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและชีวิอนามัยของ ออป. ซึ่งทาง ออป. แจ้งในที่ประชุม AHWG ว่ามีอยู่แล้วเพียงแต่ไม่ได้ระบุในแอลดี
- เพิ่มเติมข้อกำหนดเรื่องตัวชี้วัดและตัวตรวจพิสูจน์ของโรงงานที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม
- หารือเพิ่มเติมในประเด็นหน่วยงานศูนย์กลางที่จะควบคุมดูแลและตรวจสอบการปฏิบัติตามแอลดี
- เพิ่มเติมคำอธิบายนิยามของไม้หวงห้ามในแอลดีว่ามีชนิดใดบ้าง และมีการหวงห้ามตัด หรือส่งออก หรือในประเด็นอื่นๆ
- เพิ่มเติมกรณีพื้นที่ คทช. ในแอลดี
- คุณจิรวัฒน์และที่ประชุมมีมติให้นำเฟอร์นิเจอร์เข้าสู่ภาคผนวกขอบเขตผลิตภัณฑ์