VPA คืออะไร
VPA ย่อมาจาก Voluntary Partnership Agreements หรือ ข้อตกลงเป็นหุ้นส่วนด้วยความสมัครใจ เป็นข้อตกลงการค้าไม้ระหว่างสหภาพยุโรปกับประเทศผู้ผลิตไม้นอกสหภาพยุโรป เพื่อเป็นเครื่องมือในการขจัดการทำไม้ที่ผิดกฎหมายและป้องกันการนำไม้ดังกล่าวเข้ามาในตลาดสหภาพยุโรป ด้วยการพัฒนากฎระเบียบและการทำไม้ในประเทศผู้ผลิตให้มีธรรมาภิบาล และพัฒนาระบบในการตรวจรับรองไม้
VPA ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ส่วนประกอบสำคัญของ VPA คือ ระบบรับประกันความถูกต้องตามกฎหมายของไม้ (Timber Legality Assurance System : TLAS) ระบบดังกล่าวถูกออกแบบมาเพื่อพิสูจน์ ติดตามตรวจสอบ และออกหนังสือรับรองให้กับไม้ที่ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อให้มั่นใจว่าไม้ที่ส่งออกนั้นเป็นไม้ที่ถูกกฎหมาย นอกจากนี้ VPA ยังประกอบไปด้วยภาคผนวกอีก 10 ภาคผนวกคือ
- ภาคผนวกที่ 1: ขอบเขตของผลิตภัณฑ์
- ภาคผนวกที่ 2: นิยามความถูกต้องตามกฎหมายของไม้ของประเทศไทย
- ภาคผนวกที่ 3: เงื่อนไขในการปล่อยสินค้าที่มีหนังสือรับรองเฟล็กทีของประเทศไทยเข้าสู่สหภาพยุโรป
- ภาคผนวกที่ 4: กลไกการออกหนังสือรับรองเฟล็กที
- ภาคผนวกที่ 5: ระบบรับประกันความถูกต้องตามกฎหมายของไม้ไทย
- ภาคผนวกที่ 6: การควบคุมห่วงโซ่อุปทานของไม้ไทย
- ภาคผนวกที่ 7: คำอธิบายการตรวจสอบโดยอิสระ
- ภาคผนวกที่ 8: ตัวชี้วัดการประเมินความพร้อมในการดำเนินการระบบรับประกันความถูกต้องตามกฎหมายของไม้ไทย
- ภาคผนวกที่ 9: การเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ
- ภาคผนวกที่ 10: หน้าที่ของคณะกรรมการการดำเนินการร่วม
ขั้นตอนการเจรจา VPA
ขั้นตอน | รายละเอียด |
---|---|
1. การให้ข้อมูล |
|
2. การเจรจาอย่างเป็นทางการ |
|
3. การลงนามและการบังคับใช้ |
|
4. การออกใบรับรอง FLEGT |
|
ความก้าวหน้าในการทำข้อตกลง VPA
ปัจจุบันประเทศ VPA มีทั้งหมด 13 ประเทศ โดยมีความก้าวหน้าการดำเนินงานแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม คือ ประเทศที่อยู่ระหว่างการเจรจา ประเทศที่ได้สรุปการเจรจาแล้ว ประเทศที่อยู่ระหว่างดำเนินการ และประเทศที่ออกหนังสือรับรอง FLEGT ในปัจจุบันมีเพียงประเทศอินโดนีเซียเท่านั้นที่ออกหนังสือรับรอง FLEGT
ประโยชน์ของ VPA
- พัฒนาการทำไม้และกฎระเบียบให้มีธรรมาภิบาล
- ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมาย
- ทำให้ไม้มีที่มาและการผลิตที่ถูกต้องตามกฎหมาย
- เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน