การประชุมคณะทำงานจัดทำข้อตกลงเป็นหุ่นส่วนด้วยความสมัครใจระหว่างประเทศไทยกับสหภาพยุโรป (Thai – EU FLEGT VPA) เรื่องการจัดทำคำนิยามความถูกต้องตามกฎหมายของไม้ในประเทศไทย เป็นการประชุมครั้งที่ 1 ตามคำสั่งกรมป่าไม้ที่ 247/2559 จัดขึ้นในวันที่ 28 มกราคม 2559 ณ ห้องประชุม 1 กรมป่าไม้ การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมต่อเนื่องจากการประชุมคณะทำงานร่างนิยามฯเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2558 จัดขึ้น ณ ห้องประชุม 1 ตึกเทียมคมกฤษ กรมป่าไม้
การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในกระบวนการจัดทำนิยามความถูกต้องตามกฎหมายของไม้ได้แสดงความคิดเห็นต่อร่างนิยามฉบับที่ 3 (ฉบับแก้ไข) ซึ่งได้มีการแก้ไขปรับปรุงเนื้อหา ระเบียบ/ข้อกฎหมาย ตามข้อเสนอแนะที่ได้จากการประชุมเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2558 นอกจากนี้ปรึกษาการจัดทำร่างนิยามฯ ได้จัดทำเอกสารรวบรวมประเด็นช่องว่างในการจัดทำตัวชี้วัดและตัวตรวจพิสูจน์เสนอต่อคณะทำงานฯเพื่อพิจรณา แสดงความคิดเห็น รวมถึงการจัดลำดับความสำคัญของประเด็นช่องว่างที่ได้นำเสนอทั้ง 11 ข้อ โดยคณะทำงานได้แบ่งกลุ่มออกเป็น 3 กลุ่มตามแต่ละภาคส่วนเพื่อแสดงข้อคิดเห็น และจัดลำดับความสำคัญของประเด็นช่องว่างดังกล่าว
ประเด็นช่องว่างแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มดังนี้
กลุ่ม ก. ช่องว่างที่สำคัญสำหรับเฟล็กที มี 5 ประเด็นหลัก ได้แก่
- ไม้นำเข้า
- กลไกลการตรสจสอบเพื่อให้มั่นใจว่าได้ปฏิบัติตาม LD
- การควบคุมห่วงโซ่อุปทาน เพื่อให้มั่นใจถึงการาติดตามรอยไม้ทั้งหมดกลับไปยังถิ่นกำเนิดได้
- การตรจสอบไม้ไม่หวงห้าม (เช่น ยางพารา) บนที่ดินเอกชน
- การจัดการสิ่งแวดล้อม
กลุ่ม ข. ประเด็นที่ถูกยกขึ้นต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มึ 6 ประเด็น ได้แก่
- การเข้าถึงที่ดิน/สิทธิการตัดโค่นไม้สำหรับไม้ที่ปลูกบนที่ดินรัฐ
- การตัดโค่นไม้หวงห้ามในที่ดินเอกชน
- บัญชีแนบท้าย พ.ร.บ.สวนป่า
- ความไม่ยุ่งยากซับซัอนของใบอนุญาตเกี่ยวกับกระบวนการผลิต
- ขั้นตอนการจัดตั้งป่าชุมชน
- อื่นๆ –
- การส่งออกไม้และไม้แปรรูป
- อัตราภาษีศุลกากร สำหรับไม้และไม้แปรรูป
- พ.ร.บ.สวนป่า (กระบวนการแปรรูปไม้ที่มาจากสวนป่าอื่นที่ไม่มีใบอนุญาต)
- ข้อบังคับเกี่ยวกับเลื่อยโซ่ยนต์