โครงสร้างการเจรจา FLEGT VPA
การเจรจา FLEGT VPA ประกอบด้วย
ขั้นตอนการเจรจาข้อตกลงระหว่างประเทศไทย – สหภาพยุโรป (อียู) ผ่านตัวแทนของฝ่ายไทย คือ คณะกรรมการเจรจาการทำ FLEGT VPA และตัวแทนของฝ่ายอียู คือ คณะกรรมาธิการยุโรป และคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำเทศไทย
ขั้นตอนการหารือและจัดทำเอกสารทางเทคนิค โดยมีคณะอนุกรรมการเพื่อเตรียมการรองรับ FLEGT VPA เป็นตัวแทนของฝ่ายไทยในการประชุมร่วมผู้เชี่ยวชาญ และการประชุมทางไกล กับตัวแทนของอียูคือคณะกรรมาธิการยุโรป และคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย
คณะทำงานจัดทำข้อตกลง FLEGT VPA ดำเนินการร่าง FLEGT VPA ของประเทศไทย โดยได้รับความสนับสนุนจาก FLEGT Asia Programme ภายใต้สถาบันป่าไม้ยุโรป โดยจะมีการประชุมเชิงเทคนิคระหว่างกัน
เพื่อให้การจัดทำร่างข้อตกลง เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ได้มีการจัดตั้งคณะทำงานกลุ่มย่อยขึ้นเพื่อจัดทำร่างภาคผนวกใน FLEGT VPA
- คณะกรรมการเจรจาการทำ FLEGT VPA อ่านต่อ
- คณะอนุกรรมการเพื่อเตรียมการรองรับ FLEGT VPA อ่านต่อ
- คณะทำงานจัดทำ FLEGT VPA อ่านต่อ
ความสำเร็จของกระบวนการเข้าร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ความมุ่งหมายหลักของ FLEGT VPA คือการเข้าร่วมของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากทุกภาคส่วน และทุกเพศสภาพ อย่างเท่าเทียม เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อตกลงที่สะท้อนถึงมติและความต้องการร่วมของทุกคนและทุกฝ่าย ให้มั่นใจว่าข้อตกลงสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และส่งเสริมภาคป่าไม้ของไทยอย่างยั่งยืนโดยไม่มีผู้ใดถูกทิ้งไว้ข้างหลัง
สำนักงานเลขานุการไทย-อียู เฟล็กที มีหน้าที่สนับสนุนให้เกิดการเข้าร่วมอย่างเท่าเทียม โดยข้อมูลการเข้าร่วมแบ่งตามภาคส่วน และเพศสภาพ รวบรวมจากปี 2564 ได้แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของประเทศไทยในการสร้างกระบวนการหารือและจัดทำข้อตกลงระหว่างภาคส่วน และเพศสภาพที่เท่าเทียมกัน อย่างเป็นรูปธรรม