อุตสาหกรรมหนังและอาหารกับการจัดการห่วงโซ่อุปทานยั่งยืน

ในปัจจุบันที่ EU กำลังเตรียมประกาศใช้กฎระเบียบ Deforestation-free products ซึ่งจะกำหนดให้สินค้าไม้ โกโก้ กาแฟ ปาล์มน้ำมัน ข้าวโพด ถั่วเหลือง รวมถึงยางพารา ที่ผลิตในและนอก EU ต้องผ่าน Due Diligence ว่าปลอดจากการทำลายป่าและถูกกฎหมาย ก่อนวางขายในตลาด EU

ในฐานะประเทศการเกษตร ทุกภาคส่วนในไทยทั้งเอกชนและรัฐต่างตื่นตัวกับกฎระเบียบนี้ โดยล่าสุดในวันที่ 14 ธ.ค. ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด

บทความนี้ TEFSO พาผู้อ่านมาพบกับผู้แทนอุตสาหกรรมหนังและอาหาร เพื่อรับฟังมุมมองต่อกฎระเบียบ EU และการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่มีในปัจจุบัน

สัดส่วนการส่งออกของเครื่องหนังไปยัง EU สูง และไม่มีความกังวลกับกฎระเบียบใหม่ เพราะมีการยืนยันแหล่งผลิต และควบคุมห่วงโซ่อุปทานอยู่แล้ว

ผลิตภัณฑ์หนังส่งออกแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ หนังสำหรับรองเท้า สำหรับรถ และเฟอร์นิเจอร์

‘โรงฟอกหนังของผมส่งหนังให้กับแบรนด์ใหญ่ๆ อย่าง Nike Adidas ส่วนสมาชิกของกลุ่มก็มีส่งไปที่ Mercedes Toyota Honda’ ตัวแทนกลุ่มอุตสาหกรรมหนังและผลิตภัณฑ์หนัง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าว

ารส่งออกกลุ่มอาหาร เช่น โกโก้ กาแฟ ข้าวโพด ไปยัง EU มีสัดส่วนน้อยหรือแทบไม่มีเลย แต่กลุ่มมีความกังวลหากมีการขยายขอบเขตผลิตภัณฑ์ออกไป

‘กฎระเบียบใหม่ EU คงยังไม่กระทบตอนนี้มากเพราะเนื้อวัว สุกร ไม่มีส่งออกไป EU กาแฟ ก็ส่งออกไปน้อยมากไม่มีนัยยะสำคัญ โกโก้ก็เช่นกันที่ยังไม่เป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศถึงแม้จะมีการผลักดัน แต่ก็ยังกังวลหากในอนาคต EU ขยายขอบเขตผลิตภัณฑ์ออกไป’ – ตัวแทนกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าว

การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานยั่งยืนไม่ใช่เรื่องใหม่ของทั้งอุตสาหกรรมหนังหรืออาหาร

กลุ่มอุตสาหกรรมหนัง และกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร ยืนยันว่า คุ้นเคยดีกับการตรวจสอบ ควบคุม รับรองการผลิตที่ยั่งยืน

ในส่วนอุตสาหกรรมหนัง เพราะมีคู่ค้าเป็นแบรนด์ใหญ่จากประเทศอเมริกา และ EU อุตสาหกรรมโดยรวมจึงมีความพร้อมกับกฎระเบียบ Deforestation-free products เพราะทำระบบควบคุมห่วงโซ่อุปทานมานาน

‘ในปี 2550 คู่ค้าของเรา Nike Timberland และ Adidas ได้ร่วมกันตั้ง นโยบายรับเฉพาะหนังที่ตรวจสอบย้อนกลับได้ และผ่านการรับรองจาก Third Party Audit ที่ได้รับการยอมรับ แบรนด์ใหญ่ๆ จะให้โรงฟอกใช้หนังจากฟาร์มที่ได้รับการรับรองเท่านั้น มีระบบรับรองอย่าง Leather Working Group ถ้าให้ประเมินคร่าวๆ คิดว่า 30% ของผู้ผลิตหนังในไทยอยู่ในระบบรับรองแล้ว’

‘ในภาคอาหาร คงเป็น Good Agricultural Practices (GAP) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ใช้รับรองการผลิตสินค้าเกษตรที่ถูกกฎหมายและยั่งยืน แต่ส่วนใหญ่เป็นภาคสมัครใจ มีเพียง 5 ผลิตภัณฑ์เท่านั้นที่บังคับให้ทำ GAP’

กลุ่มอุตสาหกรรมอาหารมีความกังวลต่อเกษตรกรรายย่อยที่ส่วนหนึ่งยังขาดความสามารถในการเข้าถึงระบบรับรอง

‘ห่วงโซ่อุปทานของอาหารมีเกษตรกรขนาดเล็กอยู่มากที่ไม่ได้ผ่านการรับรอง ทำให้ติดปัญหาเวลาต้องยืนยันการผลิตที่ยั่งยืน ตรงนี้บริษัทใหญ่ๆ อย่าง CPF และ Betagro ก็เข้ามาช่วยเกษตรกรในเครือข่ายให้ผ่านการรับรองได้ แต่ยังขาดการสนับสนุนจากภาครัฐเท่าที่ควร’

‘GAP มีมานานกว่า 10 ปีแล้ว ถ้ารัฐบาลมาสนับสนุนเกษตรกรให้เข้าระบบแต่ตอนนั้น ตอนนี้พวกเขาคงพร้อมรับกฎระเบียบของ EU ไปแล้ว และไม่ต้องรอการช่วยเหลือจากบริษัทใหญ่’ 

Comments are closed.

X