EUTR คืออะไร

สหภาพยุโรปได้มีการออกกฎระเบียบ EUTR  ซึ่งย่อมาจาก EU Timber Regulation หรือกฎระเบียบว่าด้วยการห้ามการจำหน่ายไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ที่ผิดกฎหมายในตลาดอียู  โดยกฎระเบียบดังกล่าว มีผลบังคับใช้ในวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2556 ส่งผลให้ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปต้องปฏิบัติตาม EUTR เป็นมาตรการที่ใช้กับไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ รวมถึงกระดาษและเยื่อกระดาษในวงกว้าง

กฎระเบียบ EUTR และข้อตกลงการเป็นหุ้นส่วนด้วยความสมัครใจ (VPA)

กฎระเบียบ EUTR และข้อตกลงการเป็นหุ้นส่วนด้วยความสมัครใจ (VPA) เป็นส่วนหนึ่งในแผนปฏิบัติการ FLEGT ซึ่งทั้ง 3 ส่วนจะดำเนินงานร่วมกันเพื่อขจัดปัญหาการทำไม้ผิดกฎหมายรวมไปถึงการพัฒนาระบบธรรมาภิบาล

VPA เป็นข้อตกลงระหว่างสหภาพยุโรปและประเทศที่มีการทำไม้ ซึ่งมีการผลิตไม้และการส่งออกไปยังตลาดสหภาพยุโรป ประเทศที่ทำข้อตกลงการเป็นหุ้นส่วนด้วยความสมัครใจและมีระบบการออกใบอนุญาตที่สมบูรณ์ จะสามารถออกใบอนุญาต FLEGT ให้กับไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ที่ถูกกฎหมาย

ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ทั้งหมดที่มีใบอนุญาต FLEGT จะอยู่ภายใต้กฎระเบียบ EUTR โดยอัตโนมัติ ซึ่งหมายความว่าเมื่อมีการสั่งซื้อไม้ที่มีใบอนุญาต FLEGT เจ้าหน้าที่จากสหภาพยุโรปก็ไม่จำเป็นต้องใช้ระบบ Due diligence ในการตรวจสอบแหล่งที่มาของไม้อีกต่อไป

ขณะนี้มี 15 ประเทศที่ได้ทำหรือกำลังทำข้อตกลง VPA กับสหภาพยุโรป โดยมีอินโดนีเซียเป็นประเทศแรกที่บังคับใช้และได้รับใบอนุญาต อีก 5 ประเทศที่ได้รับใบอนุญาตแล้ว แต่ยังรอการบังคับใช้ภายในประเทศ ได้แก่ ประเทศแคเมอรูน สาธารณรัฐแอฟริกากลาง ประเทศกานา ประเทศไลบีเรีย และประเทศคองโก ขณะที่ประเทศเวียตนามรอการให้สัตยาบันจากทางรัฐสภายุโรป และคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป และ อีก 8 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย ประเทศโกตดิวัวร์ สาธารณรัฐ ประชาธิปไตยคองโก ประเทศกาบอง ประเทศกายอานา ประเทศฮอนดูรัส ประเทศลาว และ ประเทศมาเลเซีย ที่อยู่ในระหว่างการเจรจา ซึ่งประเทศที่ยังไม่ได้รับใบอนุญาต

เจ้าหน้าที่จำเป็นต้องแสดงหลักฐานการเพื่อให้เห็นถึงการปฏิบัติที่ถูกต้องตามกฎหมาย การนิยามความถูกต้องตามกฎหมายของไม้จะต้องทำขึ้นในแต่ละการทำข้อตกลง VPA ซึ่งการนิยามความถูกต้องตามกฎหมายจะเป็นตัวอ้างอิงที่สำคัญในการตรวจสอบความถูกต้องตามกฎหมายของไม้

กระบวนการดังกล่าวจะมีการตรวจสอบอย่างไร

แต่ละประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปจะต้องแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ในการทำหน้าที่สำหรับการตรวจสอบข้อมูลให้เป็นไปตามตามกฎระเบียบข้อบังคับในระเบียบ EUTR รวมถึงต้องกำหนดบทลงโทษสำหรับผู้ไม่ปฏิบัติตามด้วย ทันทีที่ประเทศหุ้นส่วน VPA สามารถใช้งานระบบการออกใบอนุญาตได้ เจ้าหน้าที่ผู้ได้รับการแต่งตั้งจะดำเนินการตรวจพิสูจน์ในทุกๆด่านศุลกากรที่มีการขนส่งสินค้าทางเรือในทุกประเทศที่ถูกควบคุมให้ใช้ใบอนุญาตเฟล็กที ก่อนจะปล่อยให้สินค้าทางถูกขนส่งเข้าตลาดสหภาพยุโรป

การยับยังการทำไม้ผิดกฎหมาย

กฎระเบียบ EUTR เป็นมาตรการ ห้ามไม่ให้ผู้ประกอบการนำไม้ที่ผิดกฎหมายเข้ามาจำหน่ายในสหภาพยุโรปและไม้ถูกฎหมายจะถูกกำหนดตามกฎหมายของประเทศต้นกำเนิดในการตัดฟันไม้

การใช้ระบบตรวจทานเอกสาร (Due Diligence System)

กฎระเบียบ EUTR กำหนดให้ผู้ประกอบการที่มีความประสงค์นำไม้เข้ามาจำหน่ายในตลาดสหภาพยุโรปครั้งแรก (ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้าหรือการตัดฟันภายในสหภาพยุโรป) จะต้องใช้ระบบตรวจสอบ “Due Diligence”

ซึ่งหมายความว่าผู้ประกอบการต่างๆจะต้องมีการเข้าถึงข้อมูลและแหล่งที่มาของไม้ (รวมทั้งชนิดของไม้ จุดกำเนิดไม้ และการปฏิบัติตามกฎระเบียบและกฎหมายของประเทศต้นกำเนิด) และมีการดำเนินตามขั้นตอนเพื่อลดปัญหาการนำไม้ผิดกฎหมายเข้าวางจำหน่ายในตลาดสหภาพยุโรป

การเก็บข้อมูล

หลังจากที่ไม้ถูกวางจำหน่ายในตลาดสหภาพยุโรปในครั้งแรก “ผู้ค้า” (บุคคลที่ซื้อหรือขายไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ในตลาดสหภาพยุโรป) จะต้องมีการเก็บข้อมูลของผู้ที่ตนได้ทำการซื้อขายไม้

การจัดหาผู้ช่วยเหลือในการทำระบบตรวจทานเอกสาร

ผู้ประกอบการสามารถสร้างระบบตรวจทานเอกสาร (Due Diligence) ได้ด้วยตัวเอง หรือใช้บริษัท/องค์กรที่ได้รับการแต่งตั้งมอบหมายจากคณะรัฐมนตรีสหภาพยุโรปในการแนะนำขั้นตอนการทำระบบตรวจสอบดังกล่าว

ประเทศใดบ้างบังคับใช้กฎระเบียบ EUTR

ประเทศในสหภาพยุโรปล้วนตอบสนองต่อการบังคับใช้กฎหมาย EUTR และได้มีการตั้งบทลงโทษสำหรับผู้ไม่ปฏิบัติตามด้วย

ใครบ้างที่ได้รับผลกระทบจากกฎระเบียบ EUTR

กลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก EUTR ได้แก่ ผู้ประกอบการ ผู้ค้า หรือผู้ส่งออกไม้/ผลิตภัณฑ์ไม้เกือบทุกชนิดของไทย ที่ส่งออกไปยังอียูได้รับผลกระทบ ไม่ว่าจะเป็นเฟอร์นิเจอร์ไม้ กรอบรูปไม้ ชิ้นส่วนที่ทำจากไม้ หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากไม้เกือบ ทุกประเภท รวมทั้ง ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ที่ได้มาจากป่าปลูกเพื่อการพาณิชย์ เช่น ไม้ยางพารา ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเศษไม้อัด(wood in chips or particles) ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากขี้เลื่อยและเศษไม้ (sawdust and wood waste) ไม่ว่าจะอัดออกมาในรูปแบบใดก็ตาม รวมไปถึงไม้ MDF (medium-density fibreboard) แผ่นไม้อัด (particle board) ไม้ลามิเนต (laminated wood) และกระดาษและเยื่อกระดาษ รวมถึงไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ที่ได้มาจากป่าปลูกเพื่อการพาณิชย์ เช่น ไม้ยางพารา อย่างไรก็ดี กฎระเบียบดังกล่าวมีข้อยกเว้นกับสินค้าบางประเภท ได้แก่

  1. ไม้หรือผลิตภัณฑ์ไม้ที่หมดอายุและจะต้องถูกกำจัดทิ้งในลักษณะขยะ (waste) และผลิตภัณฑ์ประเภทรีไซเคิล(recycled products)
  2. วัสดุประเภทบรรจุภัณฑ์ที่ใช้เพื่อการรอง หุ้ม หรือแบกรับน้ำหนักของสินค้าเพื่อวางขาย
  3. สินค้าที่ทำจากไม้ไผ่ (bamboo) และสินค้าที่ทำจากหวาย (rattan) อย่างไรก็ดี ผลิตภัณฑ์ประเภท   พื้นไม้ที่ทำจากไม้ไผ่ (bamboo flooring) ไม่ได้รับการยกเว้น
  4. สินค้าอื่นๆ ที่ไม่ได้กำหนดไว้ในกฎระเบียบ อาทิ ผลิตภัณฑ์ของเล่นไม้ เครื่องดนตรีที่ทำจากไม้
  5. สินค้าประเภทหัตถกรรม และในอนาตอาจได้รับการปรับแก้เพื่อรวมสินค้าไม้ประเภทอื่นๆ อีกด้วย

แม้กฎระเบียบ EUTR จะไม่ได้กำหนดภาระหน้าที่ของภาครัฐหรือผู้ประกอบการจากประเทศที่สาม   ที่ส่งออกไม้/ผลิตภัณฑ์ไม้มายังอียูไว้โดยตรงในตัวบทกฎหมาย แต่ผลกระทบต่อผู้ผลิตและผู้ส่งออกจากประเทศที่สามในเชิงปฏิบัตินั้นชัดเจน เนื่องจากกฎระเบียบดังกล่าวได้กำหนดภาระความรับผิดชอบให้ผู้ประกอบการในยุโรปว่า จะต้องมีระบบรับรองความถูกต้องของไม้และผลิตภัณฑ์ไม้นั้นๆ ทั้งห่วงโซ่ (supply chain) ซึ่งก็หมายถึงผลกระทบและความรับผิดชอบของผู้ประกอบการไทยที่เกี่ยวข้องด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

กล่าวคือ ผู้นำเข้ายุโรปอาจร้องขอให้ผู้ผลิต/ผู้ส่งออกของไทยเตรียมและสามารถแสดงเอกสารรับรองความถูกต้องตามกฎหมายของไม้ที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ไม้ที่ส่งออกมายังอียูได้ว่าไม่ได้มาจากแหล่งที่ผิดกฎหมาย ซึ่งรวมถึงไม้นำเข้ามาจากประเทศที่สามอื่นๆ ที่ผู้ผลิตไทยนำเข้ามาเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต ก็ต้องมีเอกสารรับรองความถูกต้องตามกฎหมายจากประเทศแหล่งกำเนิดไม้นั้นๆ ด้วย

สำหรับความก้าวหน้าในการเตรียมความพร้อมของไทย คือ อยู่ระหว่างการพิจารณาแนวทางโดย กรมป่าไม้และผู้มีส่วนได้เสีย ในการหามาตรการทางออกที่เหมาะสมที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการเลือกที่จะเจรจาข้อตกลงความเป็นหุ้นส่วนด้วยความสมัครใจ (Voluntary Partnership Agreements-VPAs) ในกรอบแผนปฏิบัติการการบังคับใช้กฎหมายป่าไม้ ธรรมาภิบาล และการค้า (Forest Law Enforcement, Governance and trade : FLEGT) กับอียู เพื่อให้ได้ใบอนุญาต FLEGT ซึ่งเป็นเอกสารรับรองสถานะความถูกต้องตามกฎหมายของไม้และผลิตภัณฑ์ไม้นั้นๆ ที่จะทำให้ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้บางประเภทได้รับการยกเว้นจากขั้นตอนการพิสูจน์สถานะที่จะมีขึ้นตามกฎระเบียบ EU Timber Regulation ดังกล่าว หรือทางเลือกอื่นๆ อาทิ การใช้ระบบของประเทศไทยเองที่สามารถรับรองความถูกต้องตามกฎหมายของไม้ หรือการจัดระบบ Due Diligence โดยภาคเอกชน

แม้ว่าตามหลักการแล้ว หลังมีนาคม 2556 หากไทยไม่มีใบอนุญาต FLEGT ที่จะได้รับจากการเจรจา VPAs ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้จากไทยก็จะยังสามารถเข้าไปยังตลาดอียูได้ แต่จะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของ EU Timber Regulation อย่างไรก็ตาม ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ดังกล่าวอาจถูกเรียกตรวจสอบจากอียู และหากพบว่าไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ที่ผิดกฎหมาย ผู้ประกอบการที่นำเข้าของอียูจะถูกดำเนินคดีทางกฎหมาย ซึ่งเหตุดังกล่าวอาจทำให้ผู้นำเข้าของอียูมีความลังเลหรือตัดสินใจไม่เลือกซื้อสินค้าจากประเทศไทย เนื่องจากมีความเสี่ยงและความไม่แน่นอนในการดำเนินธุรกิจ